7. ให้รีบไปละหมาดวันศุกร์
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: (من اغتسل يوم الجمعة غسل الجنابة ثم راح فكأنما قرب بدنة، ومن راح في الساعة الثانية فكأنما قرب بقرة، ومن راح في الساعة الثالثة فكأنما قرب كبشا أقرن، ومن راح في الساعة الرابعة فكأنما قرب دجاجة، ومن راح في الساعة الخامسة فكأنما قرب بيضة، فإذا خرج الإمام حضرت الملائكة يستمعون الذكر) [البخاري 881]
ความว่า “ใครที่อาบน้ำวันศุกร์เหมือนการอาบน้ำญะนาบะฮฺ แล้วรีบไปช่วงเวลาแรก เหมือนได้เชือดอูฐ ใครที่ไปช่วงเวลาที่สอง เสมือนเชือดวัวหนึ่งตัว, ใครที่ไปเวลาที่สาม เสมือนเชือดแพะที่มีเขา, ใครที่ไปช่วงเวลาที่สี่ เสมือนเชือดไก่, และใครที่ไปช่วงเวลาที่ห้า เสมือนถวายไข่ไก่ (มลาอิกะฮฺยืนอยู่หน้าประตูมัสยิดเพื่อบันทึกความดี) เมื่ออิมามขึ้นมิมบัรแล้วมลาอิกะฮฺจะเข้ามาฟังคุฏบะฮฺ” คนที่เข้ามาหลังจากนั้นมลาอิกะฮฺจะไม่บันทึก
อีกสำนวนหนึ่งว่า “มลาอิกะฮฺจะบันทึกความดี(ผลบุญ)ของแต่ละคน เมื่ออิมามขึ้นมิมบัรและอะซานแล้ว มลาอิกะฮฺจะปิดสมุดบันทึกและฟังคุฏบะฮฺ”
มีหะดีษบันทึกโดยอิมามอะหมัดและอิมามฮากิม เชคอัลบานียฺว่าเป็นหะดีษหะซัน รายงานโดยท่าน อิบนิเอาสฺ อัสสะกอฟียฺ ว่า เขาได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
من غسل يوم الجمعة واغتسل ، ثم بكر وابتكر ، ومشى ولم يركب ، ودنا من الإمام ، واستمع ، وأنصت ، ولم يلغ ، كان له بكل خطوة يخطوها من بيته إلى المسجد ، عمل سنة ، أجر صيامها وقيامها
ความว่า “ใครที่อาบน้ำและชำระอย่างดี ขยันมาในช่วงเวลาแรก เดินมาโดยไม่ขี่พาหนะ และเข้ามานั่งใกล้กับอิมาม(อิมามและคอเฏบ) และไม่พูดเรื่องไร้สาระ แต่ละก้าวเดินได้รับผลบุญเท่ากับถือศีลอดและละหมาดกิยามุลลัยลฺทั้งปี”
8. ละหมาดที่ไหนที่ดีสุด
ในบันทึกของอิมามมาลิก ท่านอบูฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า
وإن أعظمكم أجرا أبعدكم دارا
ความว่า “ผู้ที่มีผลบุญมากกว่าคือผู้ที่มีบ้านไกลจากมัสยิดกว่า”
9. เมื่อเข้ามัสยิดก็อย่าแทรกหรือข้ามคนที่นั่งอยู่
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เห็นคนที่ทำเช่นนี้ ก็ได้กล่าวว่า
جاء رجل يتخطى رقاب الناس يوم الجمعة والنبي صلى الله عليه وسلم يخطب فقال له النبي صلى الله عليه وسلم اجلس فقد آذيت
นั่งลง ท่านทำให้คนอื่นเดือดร้อน
10. อย่าข้ามหน้าคนที่กำลังละหมาดอยู่
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกว่า
لو يعلم المار بين يدي المصلي ماذا عليه ، لكان أن يقف أربعين خيرا له من أن يمر بين يديه . قال : أبو النضر : لا أدري ، أقال أربعين يوما ، أو شهرا ، أو سنة
ความว่า “คนที่ข้ามหน้าคนละหมาด ถ้าเขารู้ความผิดมหาศาลแค่ไหน เขาจะรอสี่สิบจึงจะข้าม” ท่านอบุนนัดรฺ(ผู้รายงานหะดีษท่านหนึ่ง)กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าหมายรวมสี่สิบวันหรือสี่สิบเดือน หรือสี่สิบปี
11. คนที่จะละหมาดในมัสยิดก็ให้มีซุตเราะฮฺกั้นอยู่ด้านหน้า เช่น ละหมาดหลังคนที่นั่งอยู่หรือละหมาดอยู่ อย่าไปละหมาดด้านหลัง
12. เมื่อเข้ามัสยิดให้ละหมาดซุนนะฮฺ
13. ถ้าคอเฏบยังไม่ขึ้นมิมบัรก็ให้สลามกันได้ แต่ถ้าเห็นคนอ่านกุรอานอยู่ไม่ควรไปรบกวนเขา
14. เมื่อคอเฏบขึ้นมิมบัรแล้วส่งเสียงหรือคุยไม่ได้ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
ومن قال لأخيه يوم الجمعة صه فقد لغا ومن لغا فليس له من جمعته شيء
ความว่า “ใครกล่าวกับพี่น้องขณะ(ฟังคุฏบะฮฺ)วันศุกร์ จงนิ่ง ก็จะเสียหาย แล้วใครเสียหายก็จะไม่ได้รับผลบุญของละหมาดวันศุกร์” ดังนั้นจึงห้ามคุยหรือให้สลามกันในมัสยิดขณะคุฏบะฮฺ คนที่นั่งคุยอยู่นอกมัสยิดยิ่งไม่สมควรใหญ่ ควรเข้าไปฟังคุฏบะฮฺด้วย
15. สำหรับคนที่ง่วง ในหะดีษบันทึกโดยอิมามอบูดาวู้ด ท่านนบีแนะนำว่า
إذا نعس أحدكم وهو في المسجد فليتحول من مجلسه ذلك إلى غيره
ความว่า “ใครง่วงตอนอยู่ในมัสยิด ให้เปลี่ยนที่ไปที่อื่น”
16. ส่วนที่เกี่ยวกับอิมามคอเฏบ นบีแนะนำให้คุฏบะฮฺสั้นและละหมาดยาว
17. คนที่ไม่ละหมาดวันศุกร์ ท่านนบีกล่าวไว้ในหะดีษบันทึกโดยอิมามอะหมัดและมุสลิม ว่า
لقد هممت أن آمر بالصلاة فتقام ، ثم أخالف إلى منازل قوم لا يشهدون الصلاة ، فأحرق علي
ความว่า “ฉันได้ตั้งใจที่จะสั่งให้มีอิมามทำหน้าที่แทนฉัน แล้วไปหาบ้านหรือครอบครัวคนที่บิดพลิ้วไม่ละหมาดญุมุอะฮฺเพื่อเผาบ้านเขา” (แต่นบีไม่ได้ทำ แสดงว่าท่านนบีขู่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง)
لينتهين أقوام عن ودعهم الجمعات . أو ليختمن الله على قلوبهم
ความว่า “คนที่ชอบทิ้งละหมาดวันศุกร์ จะเลิกพฤติกรรมนี้ หรืออัลลอฮฺจะปิดหัวใจของเขา” คือไม่ได้รับทางนำ(ฮิดายะฮฺ)
ในหะดีษบันทึกโดยอิมามอะหมัด ท่านนบีกล่าวว่า
من ترك ثلاث جمع تهاونا بها طبع الله على قلبه
ความว่า “ใครที่ตั้งใจทิ้งละหมาดวันศุกร์สามครั้ง ด้วยปล่อยปละละเลย(ไม่ให้ความสำคัญ ไม่เอาใจใส่) อัลลอฮฺจะประทับตรา(ปิด)หัวใจของเขา” (คือไม่ได้รับฮิดายะฮฺ)
เป็นเรื่องที่เราต้องระวัง โดยเฉพาะลูกหลานที่อยู่โรงเรียนที่ไม่ใช่มุสลิม เพราะในมัซหับชาฟิอียฺบอกว่า ละหมาดวันศุกร์ต้องมีมะอฺมูมอย่างน้อยสี่สิบคน นักเรียนที่อยู่ตามสถานศึกษาไม่ต้องละหมาดวันศุกร์เพราะไม่ครบสี่สิบคน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ลูกหลานของเราจึงใช้ชีวิตตั้งแต่บรรลุศาสนภาวะโดยไม่ละหมาดวันศุกร์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นเยาวชนของเราบางคนเดินหน้ามัสยิดโดยไม่เข้าไปละหมาดวันศุกร์ด้วยความเคยชินและไม่เห็นความสำคัญ ดังนั้นที่ถูกต้องคือต้องละหมาดวันศุกร์ มีแค่สองคนก็ให้คุฏบะฮฺและละหมาด (ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากถือว่าสองคนเป็นญะมาอะฮฺแล้ว) ต้องรณรงค์ให้เยาชนของเรารักษาละหมาดวันศุกร์ สำหรับคนที่ทำงานแล้วหรือมีบริษัทของตนเองก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการละหมาดวันศุกร์ทั้งกับตนเองและคนที่อยู่ในบริษัทด้วย
- Log in to post comments
- 647 views