เราอาจจะแบกภาระนี้แทนท่านทั้งหมดหรือจะช่วยเหลือบางส่วน
ท่านนบีได้ให้คำสั่งสอนแก่เกาะบีเซาะฮฺที่มีค่ามาก...
- يا قَبيصةُ، إنَّ المَسألةَ لا تَحِلُّ إلَّا لأحَدِ ثلاثةٍ: رجُلٍ تَحَمَّلَ حَمَالةً فحَلَّتْ له المَسألةُ، فسألَ حتى يُصيبَها، أو يُمسِكَ، ورجُلٍ أصابَتْه جائحةٌ فاجتاحَتْ مالَه، فحَلَّتْ له المَسألةُ، فسألَ حتى يُصيبَ قِوامًا مِن عَيشٍ، أو قال: سِدادًا مِن عَيشٍ، ورجُلٍ أصابَتْه فاقةٌ حتى يقولَ ثلاثةٌ مِن ذَوي الحِجا مِن قَومِه: لقد أصابَتْ فُلانًا الفاقةُ، فقد حَلَّتْ له المَسألةُ، فسألَ حتى يُصيبَ قِوامًا أو سِدادًا مِن عَيشٍ، ثمَّ يُمسِكَ، وما سِواهنَّ مِن المَسألةِ يا قَبيصةُ سُحتٌ، يأكُلُها صاحِبُها سُحتًا.
เกาะบีเศาะฮฺ (เศาะฮาบะฮฺ) กล่าวว่า "ฉันได้แบกภาระหนึ่ง ฉันได้ไปหาท่านนบี ﷺ และขอความช่วยเหลือ ท่านนบีบอกให้ฉันรอ จนกระทั่งซะกาตถูกส่งมา
เราอาจจะแบกภาระนี้แทนท่านทั้งหมดหรือจะช่วยเหลือบางส่วน
ท่านนบีได้ให้คำสั่งสอนแก่เกาะบีเซาะฮฺที่มีค่ามาก
ท่านนบีบอกว่า "โอ้เกาะบีเซาะฮฺ การขอ(ซะกาต)นี้ไม่หะล้าล ยกเว้น 3 จำพวก (ที่มีสิทธิของซะกาต) คือ
1- คนหนึ่งได้แบกภาระของกลุ่มอื่น เขาก็สามารถเรียกร้องของซะกาต จนกว่าจะได้ชดใช้หมดสิ้นแล้ว ก็ยุติการขอซะกาต
2- คนหนึ่งที่ทรัพย์สินของเขาเสียหาย อนุญาตให้ขอซะกาต จนกว่าจะมีทรัพย์สินพอที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ หรือพอจะดำรงชีวิตได้ ก็ยุติการขอ
3- คนหนึ่งประสบกับความยากจน ก็ขอซะกาตได้ จนกระทั่งได้พอดำรงชีวิตต่อไปได้ ก็ยุติการขอซะกาต
อื่นจาก 3 จำพวกนี้ การขอ #ซะกาต ถือว่าบาป"
จาก #ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 40 (อายะฮฺ 60-4 ซะกาต) | 12/9/66