ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 40 (อายะฮฺ 60-4 ซะกาต) | 12/9/66

Submitted by dp6admin on Sat, 16/09/2023 - 15:57
หัวข้อเรื่อง
ผู้มีสิทธิรับซะกาต : 6 อัลฆอริมีน - คนที่ประสบกับความเสียหาย ซึ่งมี 2 ประเภท
1- ความเสียหายที่เกิดกับตัวเอง (ร่างกายหรือทรัพย์สิน) - ผู็มีหนี้สิน
2- ความเสียหายที่เกิดกับคนอื่น - แบกหนี้แทนคนอื่น
หะดีษ : ไม่อนุญาตให้ขอซะกาต ยกเว้น 3 กรณี
องค์กรที่รับซะกาตได้ในกรณีอัลฆอริมีน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับซะกาต
สถานที่
มุศ็อลลาไวท์แชนแนล
วันที่บรรยาย
28 ศ่อฟัร 1445
วันที่บรรยาย
ความยาว
68.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

ทบทวนผู้มีสิทธิ์รับซะกาตกลุ่มต่างๆ
1- อัลฟุเกาะรออฺ (บรรดาผู้ที่ยากจน, ฟะกีร)
2- อัลมะซากีน (บรรดาผู้ที่ขัดสน, มิสกีน)
3 - จนท.รวบรวมซะกาต 
4- มุอัลละฟะติ กุลูบุฮุม (มุอัลลัฟ) - รวมถึงมุสลิมเดิมที่ไขว้เขวไป ทำให้ใจออกห่างจากศาสนาด้วย
- การศึกษาปรัชญา เป็นเรื่องที่ต้องระวัง นักวิชาการบางคนศึกษาปรัชญาอย่างลึกซึ้ง สุดท้ายก็ตกศาสนา เช่น เชคอับดุลลอฮฺ อัลกอซีมี เป็นอุละมาอฺรุ่นเดียวกับเชคบินบาซ เขียนหนังสืออะกีดะฮฺที่ดีที่สุด 
5- ในการไถ่ทาส
6- บรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว
7- ในทางของอัลลอฮฺ
8- ผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง

ผู้มีสิทธิรับซะกาต : 6 อัลฆอริมีน คนที่ประสบกับความเสียหาย
ฆอริมีน - ฆอริม - รากศัพท์ "ฆอรอม - غَرام:" มี 2 ความหมาย 1- เสียหาย  2-ความรัก
คือ คนที่ประสบกับความเสียหาย ซึ่งมี 2 ประเภท
1- ความเสียหายที่เกิดกับตัวเอง (ร่างกายหรือทรัพย์สิน)
-- คนที่มีหนี้สิน และไม่สามารถชดใช้ได้ ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ (ไม่ใช่ผู้เป็นหนี้ทุกคนที่มีสิทธิรับซะกาต) 
-- อุละมาอฺมีเงือนไขเพิ่มเติมคือ ต้องเป็นหนี้ที่ชอบธรรม เช่น เป็นหนี้ที่นำมาใช้กินอยู่, เพื่อการศึกษา, รักษาโรค ฯลฯ (ไม่ใช่หนี้นอกระบบ หนี้จากการพนัน ฯลฯ)
-- นำเงินซะกาตไปโปะหนี้ดอกเบี้ยได้ไหม ?
2- ความเสียหายที่เกิดกับคนอื่น

หะดีษ : ไม่อนุญาตให้ขอซะกาต ยกเว้น 3 กรณี 
- يا قَبيصةُ، إنَّ المَسألةَ لا تَحِلُّ إلَّا لأحَدِ ثلاثةٍ: رجُلٍ تَحَمَّلَ حَمَالةً فحَلَّتْ له المَسألةُ، فسألَ حتى يُصيبَها، أو يُمسِكَ، ورجُلٍ أصابَتْه جائحةٌ فاجتاحَتْ مالَه، فحَلَّتْ له المَسألةُ، فسألَ حتى يُصيبَ قِوامًا مِن عَيشٍ، أو قال: سِدادًا مِن عَيشٍ، ورجُلٍ أصابَتْه فاقةٌ حتى يقولَ ثلاثةٌ مِن ذَوي الحِجا مِن قَومِه: لقد أصابَتْ فُلانًا الفاقةُ، فقد حَلَّتْ له المَسألةُ، فسألَ حتى يُصيبَ قِوامًا أو سِدادًا مِن عَيشٍ، ثمَّ يُمسِكَ، وما سِواهنَّ مِن المَسألةِ يا قَبيصةُ سُحتٌ، يأكُلُها صاحِبُها سُحتًا.

"ฉันได้แบกภาระหนึ่ง ฉันได้ไปหาท่านนบีและขอความช่วยเหลือ ท่านนบีบอกให้ฉันรอ จนกระทั่งซะกาตถูกส่งมา
เราอาจจะแบกภาระนี้แทนท่านทั้งหมดหรือจะช่วยเหลือบางส่วน
ท่านนบีได้ให้คำสั่งสองแก่เกาะบีเซาะฮฺที่มีค่ามาก
ท่านนบีบอกว่า "โอ้กอบีเซาะฮฺ การขอ(ซะกาต)นี้ไม่หะล้าล ยกเว้น 3 จำพวก (ที่มีสิทธิของซะกาต) คือ
1- คนหนึ่งได้แบกภาระของกลุ่มอื่น เขาก็สามารถเรียกร้องของซะกาต จนกว่าจะได้ชดใช้หมดสิ้นแล้ว ก็ยุติการขอซะกาต
2- คนหนึ่งที่ทรัพย์สินของเขาเสียหาย อนุญาตให้ขอซะกาต จนกว่าจะมีทรัพย์สินพอที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ หรือพอจะดำรงชีวิตได้ ก็ยุติการขอ
3- คนหนึ่งประสบกับความยากจน ก็ขอซะกาตได้ จนกระทั่งได้พอดำรงชีวิตต่อไปได้ ก็ยุติการขอซะกาต
อื่นจาก 3 จำพวกนี้ การขอซะกาตถือว่าบาป"

ตัวอย่าง ประเภทที่ 2 ความเสียหายที่เกิดกับคนอื่น
คนที่ฆ่าคนอื่นโดยเจตนา ถ้าญาติไม่ต้องการเอาชีวิต แต่ให้ฆาตกรจ่ายค่าชดใช้ (ดิยะฮฺ)
ค่าชดเชยคือ อูฐ 100 ตัว (ประมาณ 10 ล้านบาท) หรือมากกว่านั้น -- ถ้าจ่ายได้ ก็ให้อภัย
ที่ซาอุดี้ กรณีขับรถชนคนตาย ไม่ประหารชีวิต แต่ให้จ่ายเท่ากับอูฐ 100 ตัว (1 ล้านริยัล) -- ถ้าไม่มี ก็ให้ติดคุก คนกว่าญาติจะหาเงินมาจ่ายได้

องค์กรที่รับซะกาตได้ในกรณีอัลฆอริมีน เช่น 
-โรงพยาบาลส่วนกลางของสังคม ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ, มูลนิธิกุ้ภัย, การศึกษา ฯลฯ
- องค์กรทางการศึกษาที่รับซะกาตได้ ต้องเป็นองค์กรส่วนกลางของสังคม ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของส่วนตัว บริหารด้วยคนที่มีความสามารถ ไม่ใช่บริหารกันในครอบครัวเหมือนหลายองค์กรในบ้านเรา
- ปัญหาการบริหารองค์กรต่างๆในบ้านเรา เช่น มัสยิด, โรงเรียน, พรรคการเมือง ฯลฯ คือ ไม่มอบงานให้ผู้เชี่ยวชาญ หวงทรัพย์สิน หวงตำแหน่ง

- ทุนการศึกษาบางเรื่องที่ไม่จำเป็น ควรได้รับซะกาตไหม ? ดูว่าเป็นสาขาสังคมต้องการไหม ? มีความเดือดร้อนอื่นในสังคมที่ต้องการมากกว่าไหม ?
- 8 จำพวกที่มีสิทธิรับซะกาต เป็นตัวอย่างคนที่มีสิทธิ เพื่อนำไปเปรียบเทียบพิจารณาในกรณีอื่นๆ ในสังคม เพราะในแต่ละยุคสมัย สภาพสังคมและลักษณะความยากจนเดือดร้อนแตกต่างกัน เช่น คนที่มีกิน แต่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมลูก, คนทำบัญชีซะกาต รับเงินซะกาตได้ไหม ?

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ซะกาต
- ลำดับความจำเป็นในการให้ซะกาต
- คนที่เงินน้อยกว่านิศอบ(พิกัดออกซะกาต) ก็ออกซะกาตได้
- ไม่ครบรอบปี ก็ออกซะกาตได้
- ผู้มีสิทธิรับซะกาต จะไม่รับก็ได้
- ท่านนบีห้ามลุกหลานและเครือญาติรับซะกาต
- ไม่มีความจำเป็น ก็อย่ารับซะกาต
- อัลลอฮฺสรรเสริญผู้ที่ไม่แบมือรับซะกาต

คำถาม
- ออกซะกาตก่อนครบรอบปีได้ไหม ?
- ให้ซะกาตแก่คนสูบบุหรี่ได้ไหม ?

at-tawbah

WCimage
ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 40