5 ไถ่ทาส (ปล่อยทาส) ปัจจุบันยังมีทาสไหม ?
7 ในหนทางของอัลลอฮฺ - فِي سَبِيلِ اللَّهِ
- รวมถึงทุกสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ของสังคมมุสลิม และมีความชอบตามการสั่งสอนของอัลลอฮฺ เช่น คนยากจน การศึกษา
8 อิบนุสสะบีล
إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاءِ وَالْمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ ۖ فَرِيضَةً مِنَ اللَّهِ ۗ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ
9:60 แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
ผู้มีสิทธิรับซะกาต : 5 ไถ่ทาส وَفِي الرِّقَابِ
"ฟี" - ใน; ผู้รับซะกาตต้องถือกรรมสิทธิ์ในเงินซะกาต ยกเว้นในกรณีจำเป็นเท่านั้น
4:5 และจงอย่าให้แก่บรรดาผู้ที่โง่เขลา ซึ่งทรัพย์ของพวกเจ้า ที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เป็นสิ่งค้ำจุนแก่พวกเจ้า
- เงินเป็นนิอฺมะฮฺ ต้องรักษาด้วยการรักษาและใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย
วะฟิรริกอบ
رقب เราะเกาะบะ แปลว่า คอ; เมื่อก่อนนี้ทาสจะถูกล่ามที่คอ เราะเกาะบะฮฺจึงหมายถึง ทาส
- การปล่อยทาสเป็นเรื่องสำคัญ ท่านนบีได้สั่งเสียไว้ก่อนสิ้นชีวิต - ให้รักษาละหมาด และ "วะมามะละกัต อัยมานุกุม" สิ่งที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครองตีความได้ว่าคือ
1- ทาส โดยเฉพาะทาสี (ทาสหญิง) อย่าอธรรม
2- คนที่อยู่ภายใต้การดูแล โดยเฉพาะสตรี เช่น แม่ ภรรยา ลุกสาว พี่สาว น้องสาว ฯลฯ
- ผู้ที่ปล่อยทาส จะได้รับการปลดปล่อยจากนรก
- การไถ่โทษหลายอย่างในอิสลาม ให้ปล่อยทาส เช่น ซิฮาร - การกล่าวว่าภรรยาเหมือนแม่ เป็นการหย่าที่ร้ายแรง, ผิดสาบาน ฯลฯ
- การไถ่โทษสมัยก่อนคือ ทาสจากการเป็นเชลยศึก
- คนแรกที่ปล่อยทาสคือ ท่านนบีอบูบักร ในช่วงแรกของอิสลาม ท่านชอบซื้อทาสแล้วปล่อยให้เป็นอิสระ
- ปล่อยทาส ไม่ใช่ปล่อยในนามเจ้าของซะกาต เพราะเงินซะกาตเป็นของส่วนรวม
- การปล่อยทาสเป็นเครือญาติ (อัลวะลาอฺ) การเป็นมิตรระหว่างผู้ปล่อยทาสและทาส มีสิทธิรับมรดก -- กรณีที่ใช้เงินซะกาตเพื่อปล่อยทาส การรับมรดกจากทาสก็จะตกไปที่ทรัพย์สินส่วนกลางของสังคม (บัยตุ้ลมาล)
- ปัจจุบันมีทาสไหม ? ตย. โรฮิงญา
- เชลยศึกมุสลิม ถือเป็นทาสมั้ย
- คนที่ติดคุก ถือเป็นทาสไหม ? ช่่วยเหลือคนที่ติดคุก ? ลดโทษให้นักโทษ ? ถือเป็นการไถ่ทาส เพราะในอิสลามไม่มีโทษจำคุก
- การลงโทษจำคุก(กักขัง) ไม่ชอบธรรม มีวิทยานิพนธ์ ว่ามีความชอบธรรมตามหลักการศาสนาหรือไม่ ?
- ทาสโดยสมัครใจ
- ทาสีที่เป็นสนมของซุลต่าน แล้วภายหลังได้เป็นผู้ปกครอง เช่น ชะญะเราะตัดดุร สนามของซุลต่าน อาณาจักรมามาลี้ก
- กองทัพทาสในยุคอับบาซียะฮฺ เป็นชาวเติร์ก
- นักบอล นางแบบ ทาสโดยสมัครใจ ไม่มีอิสระ ต้องทำตามกฎเกณฑ์ของเจ้าของ (บริษัทหรือทีมที่สังกัด) ก็ผิดหลักการศาสนาเช่นกัน
มุกาตะบะฮฺ - การปล่อยทาส โดยทาสแสดงความประสงค์กับเจ้านายว่าอยากไถ่ตัว เจ้านายจะกำหนดค่าตัว ถ้าสามารถหาเงินมาไถ่ได้ ก็เป็นอิสลาม -- ให้ซะกาตได้
ระบบทาสจริง ไม่มีแล้ว แต่มีลักลอบค้าทาส เช่น ในเยเมน ซูดาน โดยไปลักพาคนมาจากเผ่าในทะเลทราย มาขายเป็นแรงงาน
การค้าทาส/ค้ามนุษย์ ผิดกฎหมาย
การค้าแรงงาน ค่าจ้าง/ค่าตอบแทนแรงงาน ที่ไม่ยุติธรรม นายจ้างที่เอาเปรียบลูกจ้าง
ผู้มีสิทธิรับซะกาต : 7 ในหนทางของอัลลอฮฺ - فِي سَبِيلِ اللَّهِ
- ในสมัยท่านนบีหมายถึง "คนที่จิฮาด"
- นบีเคยพูดถึงคนไปทำฮัจญฺ เป็น "หนทางของอัลลอฮฺ"
- อุละมาอฺบางท่านจึงมีทัศนะว่า ให้คนขัดสนไปทำฮัจญฺ ด้วยเงินซะกาตได้
- "ฟีสะลีลิลลาฮฺ" รวมถึงทุกสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ของสังคมมุสลิม และมีความชอบตามการสั่งสอนของอัลลอฮฺ เช่น คนยากจน การศึกษา
- อิมามและครูสอนศาสนา
ผู้มีสิทธิรับซะกาต : 8 อิบนุสสะบีล
- คนเดินทาง ที่ขาดแคลน เช่น เงินหาย
(ขาดจำพวกที่ 6 อัลฆอริมีน)
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 127 views