- "เศาะดะเกาะฮฺ" และ "ซะกาต"
- ซะกาตเป็นสิทธิของใคร 8 จำพวก
1- อัลฟุเกาะรออฺ (บรรดาผู้ที่ยากจน, ฟะกีร)
2- อัลมะซากีน (บรรดาผู้ที่ขัดสน, มิสกีน)
- ควรให้ซะกาตเท่าไหร่ ? อย่างไร ?
- ซะกาต เป็นของผู้มีสิทธิรับ (8 กลุ่ม) ไม่ใช่ของผู้ออกซะกาต
- เวลาให้ซะกาตต้องบอกม้้ยว่าเป็นเงินซะกาต ?
**ซะกาตเป็นสิทธิของใคร 8 จำพวก**
- ใครที่ควรได้รับซะกาต เศาะดะเกาะฮฺ (ทาน) มีรายละเอียดทั้งในอัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺ
- ระบบซะกาตในอิสลาม
- อัลกุรอานไม่ค่อยพูดถึงรายได้หรือที่มาของซะกาต
- ความหมายของ "เศาะดะเกาะฮฺ" ในอัลกุรอาน
-- "เศาะดะเกาะฮฺ - เศาะดะกอต" หมายรวมทั้ง ซะกาต(ทานวาจิบ) และทานอาสา (อายะฮฺ 33:35)
-- มีทัศนะอุละมาอฺว่า เศาะดะเกาะฮฺ ในอัลกุรอาน หมายถึง ซะกาต อย่างเดียว
33:35 แท้จริง บรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้ว ซึ่งการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง
إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاءِ وَالْمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ ۖ فَرِيضَةً مِنَ اللَّهِ ۗ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ
9:60 แท้จริงทานทั้งหลายนั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
- "เศาะดะเกาะฮฺ" ในอายะฮฺนี้หมายถึง ซะกาต เท่านั้น
ซะกาต ต่างจาก ภาษี อย่างไร ?
- ซะกาต คือ การเก็บ "เงินเหลือ" จากคนรวย ไปให้คนที่ "ขาดเงิน" -- จ่ายเฉพาะคนรวย มีทรัพย์สินถึงกำหนดเท่านั้น
- ภาษี นำไปบำรุงธุรกิจคนรวย, ทุกคนต้องจ่าย (เช่น VAT)
แหล่งรายได้
-- รายได้ภาษีก้อนใหญ่มาจากเหล้า บุหรี่ หวย ฯลฯ
-- รายได้ของซะกาต ไม่รับจากอบายมุขทั้งหมด
เศาะดะเกาะฮฺ - ศิดกฺ - สัจจริง, บริสุทธิ์
ซะกาต - (ชำระให้)สะอาด
ซะกาตเป็นสิทธิของใคร 8 จำพวก
1- อัลฟุเกาะรออฺ (บรรดาผู้ที่ยากจน, ฟะกีร)
2- อัลมะซากีน (บรรดาผู้ที่ขัดสน, มิสกีน)
- เหมือนกันไหม ? ต่างกันอย่างไร ?
ทัศนะ 1
ฟะกีร - จนมาก ไม่มีอะไรเลย
มะซากีน - มี แต่ไม่พอ (ใช้จ่ายปัจจัยพื้นฐาน เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร ยา ฯลฯ
- บ้าน(ที่อยู่อาศัย)เป็นปัจจัยพื้นฐานไหม ? ไม่มีที่อยู่อาศัย(บ้าน) มีสิทธิรับซะกาตไหม ? เท่าไหร่ ?
- การขาดปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มีสิทธิรับซะกาต เช่น การศึกษา, การรักษาพยาบาล, สร้างครอบครัว, เครื่องนุ่งห่ม, ศัลยกรรมบางอย่าง เช่น
- การปลูกผมสำหรับบางกรณี เช่น ผมร่วงเพราะรักษามะเร็ง,
ซะกาตที่จะให้กลุ่ม 1-2 เท่าไหร่ ? มี 3 ทัศนะ
1- ต่ำสุด ไม่เกินพิกัดของซะกาต คือ ทองคำ 5-6 บาท (1.8-2 แสนบาท)
2- ให้พอเพียง 1 ปี (ปัจจัยทุกอย่าง)
3- ให้มีพอเพียงถาวร ไม่ใช่คนจน
- สมัยนบีและเศาะฮาบะฮฺจะให้ตาม 3 ทัศนะนี้ แต่ปัจจุบันให้น้อยกว่านี้ เพราะคนจ่ายซะกาตน้อย คนรับซะกาตเยอะ
- การแจกซะกาต ต้องไม่แบ่งวรรณะ
- คนที่ไม่มีสิทธิรับซะกาต หากไปรับ ถือว่าเป็นเงินหะรอมสำหรับเขา
- ไม่สนับสนุนให้ขอซะกาต (ควรสำรวมตัว)
- ศิลปะในการบริจาคทาน
- รักษานิอฺมะฮฺ ด้วยการทำดีให้มาก ลดการทำบาป บริจาคเท่าที่ทำได้ หากเนรคุณ อัลลอฮฺจะพลิกจากรวยเป็นจน
- เศาะดะเกาะฮฺอาสา ไม่มีเงื่อนไข ให้ใครก็ได้
- "ลิล (ฟุเกาะรออฺ)" - สำหรับ
ลามุตตัมลีก - "ลาม" ให้ถือกรรมสิทธิ์
เศาะดะเกาะฮฺ "เป็นของ" คนจนแต่เดิม ไม่ใช่เงินของคนให้เศาะดะเกาะฮฺ เป็นการคืนให้เจ้าของ(คนยากจน) สอนคนรวย ไม่ให้ตะกับบร
- ให้รีบออกซะกาต ยิ่งช้ายิ่งบาป
- นำซะกาตไปหักกับหนี้ของลูกหนี้ไม่ได้
- สมัยก่อน เคยมีช่วงที่ซะกาตล้น หาคนรับซะกาตไม่ได้แล้ว ให้ซื้ออาหารให้นกกิน
- กรณีที่มีเงินซะกาตน้อย นำซะกาตไปทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืน - ทำได้มั้ย ?
ทำธุรกิจแล้วให้คนจนเข้ามาทำงานในธุรกิจนั้น อุละมาอฺเห็นว่าควรทำ ถ้าทำได้ โดยมีเงื่อนไขปัจจัยหลายอย่าง
- การบริหารจัดการซะกาต ทยอยให้ หรือให้ก้อนเดียว
- ปริมาณซะกาตในสังคมไทย มีเท่าไหร่
- อุละมาอฺบอกว่า ที่ไหนมีคนจนเยอะ รู้ได้เลยว่ามีคนในสังคมไม่ออกซะกาต
- ศิลปะการบริจาคของสะลัฟ คือ บริจาคลับๆ, บริจาคเปิดเผยได้ไหม ?
- ให้ซะกาตผิดคน เศาะหฺมั้ย ?
- เวลาให้ซะกาตต้องบอกม้้ยว่าเป็นเงินซะกาต ?
- ซะกาตฟิฏเราะฮฺ
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 114 views