الْحَدِيْثُ الْثَّالِثُ وَالْعِشْرُوْنَ
عَنْ أَبِي مَالِكٍ - الْحَارِثِ بْنِ عَاصِمٍ الأَشْعَرِيِّ - رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : (( الطُّهُورُ شَطْرُ الإِيْمَانِ ، وَالْحَمْدُ للهِ تَمْلأُ الْمِيْزَانَ ، وَسُبْحَانَ اللهِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ تَمْلآنِ_ أَوتَمْلأُ_ مَابَيْنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ ، وَالصَّلاَةُ نُورٌ ، وَالصَّدَقَةُ بُرْهَانٌ ، وَالصَّبْرُ ضِيَاءٌ ، وَالْقُرْآنُ حُجَّةٌ لَكَ أَوْ عَلَيْكَ . كُلُّ النَّاسِ يَغْدُو فَبَائِعٌ نَفْسَهُ فَمُعْتِقُهَا أَوْ مُوبِقُهَا )) . رَوَاهُ مُسْلِمٌ .
หะดีษที่ 23
ความหมาย - ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "การทำความสะอาด(การอาบน้ำละหมาด)เป็นครึ่งหนึ่ง(ส่วนหนึ่ง)ของอีมาน, (การสรรเสริญอัลลอฮฺด้วยการกล่าวว่า) "อัลฮัมดุลิลลาฮฺ" จะทำให้ตราชั่ง(มีซาน)เต็ม(สมบูรณ์,หนักแน่น) และ(สองคำพูดคือ) ซุบฮานัลลอฮฺและอัลฮัมดุลิลาฮฺ สามารถบรรจุได้เต็มระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน, การละหมาดเป็นนูร(แสงสว่าง), และเศาะดะเกาะฮฺ(การบริจาคทาน)นั้นเป็นหลักฐาน, และความอดทนนั้นเป็นรัศมี
สำหรับอัลกุรอานนั้นเป็นหลักฐานให้แก่ท่าน(อ้างถึงการกระทำคุณงามความดี) หรือต่อท่าน(เป็นคู่กรณีที่ร้องเรียนหรือฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามอัลกุรอาน) มนุษย์ทุกคนตื่นเช้าเพื่อทำมาหากิน แต่มนุษย์ทุกคนเปรียบเสมือนขายตัวเอง (หากขายตัวให้อัลลอฮฺ) เขาจะถูกปลดปล่อยจากนรก หรือ (หากขายตัวให้อื่นจากอัลลอฮฺก็) จะถูกล่ามโซ่ (ผูกพันกับบาปหรือความชั่ว ซึ่งจะนำมาซึ่งความเป็นทาส ไม่เป็นเจ้าของตนเอง)"
ไฟล์เสียงอธิบายหะดีษ : ครั้งที่ 1 | ครั้งที่ 2 | ครั้งที่ 3 | ครั้งที่ 4 | ครั้งที่ 5
23/1 เนื้อหาหะดีษโดยรวม ท่อน 1 - "การทำความสะอาด(การอาบน้ำละหมาด)เป็นครึ่งหนึ่ง(ส่วนหนึ่ง)ของอีมาน
ความสะอาด(การอาบน้ำละหมาด)นั้นส่วนหนึ่งของการศรัทธา, การอาบน้ำญะนาบะฮฺ, ซิกรุลลอฮฺ
23/2 ท่อน 2-3 ซุบฮานัลลอฮฺและอัลฮัมดุลิลาฮฺ, หะดีษบิฏอเกาะฮฺ (ลาอิลาหะอิลลัลลอฮฺ)
การรักษาน้ำละหมาด, คุณค่าของการซิกรุลลอฮฺ, น้ำหนักของ "อัลฮัมดุลิลลาฮฺ",
ผู้ใดรักษาห้าประการด้วยอีมานเขาได้เข้าสวรรค์, การละหมาดนั้นสามส่วน
23/3 "การละหมาดเป็นนูร", คุชูอฺ, ร้องไห้ขณะละหมาด,
23/4 "การบริจาคนั้นเป็นแสงสว่าง(บุรฮาน)" ความอดทนที่ดีเลิศคือการถือศีลอด
23/5 "อัลกุรอานนั้นจะเป็นหลักฐานให้ท่านหรือต่อท่าน", รุกยะฮฺ, การรักษาด้วยอัลกุรอาน
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 2031 views