- เราซื่อสัตย์กับหลักการจริงหรือ
- การกำหนด 12 เดือนมีตั้งแต่สร้างโลก
- การเลื่อนเดือนต้องห้ามในสมัยญาฮิลียะฮฺ, ดอกเบี้ยจากการเลื่อนเวลา (ริบันนะซีอะฮฺ)
- 9:37 แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้าไปนั้น เป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธายิ่งขึ้น
- อ้างความดี เพื่อกลบเกลื่อนความผิด
- ดุอาอฺเมื่อฝนตก การรำลึกถึงอัลลอฮฺ สิ่งที่ต้องระวัง อย่าบ่นเมื่อฝนตก
- การยืนหยัดในหลักการศาสนาที่เที่ยงตรง "กูนูเกาวามีนะลิลลาฮฺ.. - จงยืนตรงเพื่ออัลลอฮฺ" เป็นสักขีพยานเพื่ออัลลอฮฺ แม้จะไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราหรือครอบครัว คนใกล้ชิด , ความซื่อสัตย์ต่อศาสนา เป็นมรดกที่ท่านนบีได้มอบแก่เศาะฮาบะฮฺ
- เราซื่อสัตย์กับหลักการจริงหรือ ?
كُونُوا قَوَّامِينَ بِالْقِسْطِ شُهَدَاءَ لِلَّهِ وَلَوْ عَلَىٰ أَنفُسِكُمْ أَوِ الْوَالِدَيْنِ وَالْأَقْرَبِينَ
4:135 จงเป็นผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จงเป็นพยานเพื่ออัลลอฮฺ และแม้ว่าจะเป็นอันตรายแก่ตัวของพวกเจ้าเอง หรือผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและญาติที่ใกล้ชิดก็ตาม
9:36 แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง
ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น และจงต่อสู้บรรดามุชริกทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้พวกเจ้าทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นร่วมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรง
การกำหนด 12 เดือนมีตั้งแต่สร้างโลก สมัยนบีอาดัมก็มีแล้ว รวมทั้งชื่อเดือน และชื่อสิ่งต่างๆ อัลลอฮฺสอนไว้แล้ว
- การกำหนด 4 เดือนต้องห้ามก็เช่นกัน
- ชาวอาหรับก่อนอิสลาม สมัยญาฮิลียะฮฺให้ความสำคัญกับเดือนต้องห้ามมาตลอด
إِنَّمَا النَّسِيءُ زِيَادَةٌ فِي الْكُفْرِ ۖ يُضَلُّ بِهِ الَّذِينَ كَفَرُوا يُحِلُّونَهُ عَامًا وَيُحَرِّمُونَهُ عَامًا لِيُوَاطِئُوا عِدَّةَ مَا حَرَّمَ اللَّهُ
9:37 แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้าไปนั้น เป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธายิ่งขึ้น โดยที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นถูกทำให้หลงผิดไป เนื่องด้วยการเลื่อนเดือนต้องห้ามนั้น พวกเขาได้ให้มันเป็นที่อนุมัติปีหนึ่ง และให้มันเป็นที่ต้องห้ามปีหนึ่ง เพื่อพวกเขาจะให้พ้องกับจำนวนเดือนที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามไว้ (มิเช่นนั้นแล้ว)
فَيُحِلُّوا مَا حَرَّمَ اللَّهُ ۚ زُيِّنَ لَهُمْ سُوءُ أَعْمَالِهِمْ ۗ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
9:37 พวกเขาก็จะทำให้เป็นที่อนุมัติสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เป็นที่ต้องห้ามไป โดยที่ความชั่วแห่งบรรดาการงานของพวกเขาได้ถูกประดับประดาให้สวยงามแก่พวกเขา และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา
(1) คือเลื่อนเดือนอัลมุฮัรร็อมซึ่งเป็นเดือนต้อนห้ามให้เป็นเดือนเศาะฟัร กล่าวคือ กำหนดเดือนเศาะฟัรให้เป็นเดือนต้องห้ามแทนเดือนอัลมุฮัรร็อม แล้วให้เดือนอัลมุฮัรร็อมเป็นที่อนุมัติในการต่อสู้กัน ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่สามารถจะทนอยู่ในการพักรบเป็นเวลานานถึง 3 เดือนต่อเนื่องกันได้ (คือเดือนซุลเก๊าะดะฮฺ ซุฮิจญะฮฺ และอัลมุฮัรร็อม)
9:37 แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้าไปนั้น เป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธายิ่งขึ้น
การเลื่อนเดือนต้องห้ามในสมัยญาฮิลียะฮฺ
- อยากจะปล้นหรือทำสงครามในเดือนต้องห้าม ก็ให้เลื่อนเดือนต้องห้ามออกไป
- อันนะซีอฺ - เลื่อนให้ล่าช้า
- ดอกเบี้ยจากการเลื่อนเวลาชำระ ริบันนะซีอะฮฺ - เลื่อนเวลาผ่อนเงินต้น ด้วยการเพิ่มดอกเบี้ย)
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَأْكُلُوا الرِّبَا أَضْعَافًا مُّضَاعَفَةً ۖ
3:130 โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ถูกทบทวี
74:42 อะไรที่นำพวกท่านเข้าสู่กองไฟที่เผาไหม้
พวกเขากล่าวว่า เรามิได้อยู่ในหมู่ผู้ทำละหมาด (43) เรามิได้ให้อาหารแก่บรรดาผู้ขัดสน (44) และพวกเราเคยมั่วสุมอยู่กับพวกที่มั่วสุม (45) และเราเคยปฏิเสธวันแห่งการตอบแทน (46) จนกระทั่งความตายได้มาเยือนเรา (47)
- ให้ระวังบาปเล็กๆ อย่าดูถูก
อัลอิสติหฺลาล - การถือว่าสิ่งหะรอมนั้น หะล้าล; ต่างจากคนทำบาป โดยรู้ว่าสิ่งนั้นบาป(หะรอม)
- ทัศนะอ่อน - กำหนดฮัจญฺเป็นวาจิบในปี ฮ.ศ.2 เแต่ท่านนบีไปทำในปีที่ 10 เนื่องด้วยเวลาของเดือนซุลฮิจจะฮฺ ยังไม่กลับสู่กำหนดของอัลลอฮฺ(เนื่องจากการเลื่อนเดือนของชาวอาหรับ)
อ้างความดี เพื่อกลบเกลื่อนความผิด
- การทำบาป แต่เอาความดีมาปกปิด(กลบเกลื่อน) บาปที่ตัวเองทำ
- ผู้ชายใส่กางเกงขาสั้นละหมาด
- เอาพ่อแม่มาเลี้ยงดู แต่ให้อยู่บ้านเล็กๆ
9:37 โดยที่ความชั่วแห่งบรรดาการงานของพวกเขาได้ถูกประดับประดาให้สวยงามแก่พวกเขา
- ตย กลุ่มทำงานศาสนาที่ยอมโกนเครา มุสลิมะฮฺไม่ปิดหน้า... เกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน 2 อย่าง
1- เข้าใจว่าคำสั่งสอนของศาสนา เป็นอุปสรรคในการทำงานศาสนา
สิ่งแรกที่อัลลอฮฺขอกับผู้ปฏิเสธศรัทธา
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 84 views