ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 179 (หะดีษที่ 35/1 อย่าอิจฉา)

Submitted by admin on Fri, 12/09/2014 - 13:26
หัวข้อเรื่อง
- การฟื้นฟูบทบาทของมัสยิด,
- “ท่านทั้งหลายอย่าได้อิจฉาริษยากันและกัน...",
- ความอิจฉาของอิบลีสต่อนบีอาดัม
- ยะฮูด มีลักษณะเป็นผู้อิจฉา
- โรคของประชาชาติยุคก่อน
- กลุ่มคนที่อิจฉา แต่ไม่บาป

สถานที่
มัสยิด มูลนิธิสันติชน
วันที่บรรยาย
17 ซุลเก๊าะดะฮฺ 1435
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
23.80 mb
ความยาว
100.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

الحديث الخامس والثلاثون 
 
عَنْ أَبي هُريرةَ رضي الله عنه ، قالَ : قالَ رسول الله صلى الله عليه وسلم  : (( لا تَحَاسَدُوا ، ولا تَنَاجَشوا ، ولا تَبَاغَضُوا ، ولا تَدَابَرُوا ، ولا يَبِعْ بَعضُكُمْ على بَيعِ بَعضٍ ، وكُونُوا عِبادَ اللهِ إِخْواناً ، المُسلِمُ أَخُو المُسلم ، لا يَظلِمُهُ ولا يَخذُلُهُ ، ولا يَكذِبُهُ ، ولا يَحقِرُهُ ، التَّقوى هاهُنا )) ، - ويُشيرُ إلى صدرِهِ ثلاثَ مرَّاتٍ - (( بِحَسْبِ امرئٍ مِنَ الشَّرِّ أنْ يَحقِرَ أخَاهُ المُسلِمَ ، كُلُّ المُسلمِ على المُسلِمِ حرامٌ : دَمُهُ ومَالُهُ وعِرضُهُ )) . رواه مسلم .
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
ท่านทั้งหลายอย่าได้อิจฉาริษยากันและกัน อย่าแย่งผลประโยชน์กัน อย่าโกรธกัน อย่าหันหลังให้แก่กัน  อย่าซื้อขายโดยหักหลังซึ่งกันและกัน(ตัดหน้า) จงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺอย่างเป็นพี่น้องกัน มุสลิมกับมุสลิมเป็นพี่น้องกัน จะไม่อธรรมกัน จะไม่ทิ้งกัน และจะไม่โกหกกัน และจะไม่ดูถูกกัน “ตักวาอยู่ที่นี่” – ท่านนบีชี้ไปที่อก(หัวใจ)ของท่านและกล่าว 3 ครั้ง – เป็นความเลวเพียงพอแล้ว คนที่ดูถูกพี่น้องมุสลิม มุสลิมต่อมุสลิมทั้งหมดเป็นที่ต้องห้ามละเมิดเป็นอันขาด ได้แก่ เลือด(ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต), ทรัพย์สมบัติของเขา และเกียรติของเขา”
หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม

วีดีโอ

 

ความอิจฉาของอิบลีสต่อนบีอาดัม

 ويروى عن ابن عمرَ أنَّ إبليسَ قال لنوح : اثنتان بهما أُهلك بني آدم : الحسد ، وبالحسد لُعِنتُ وجُعلتُ شيطاناً رجيماً ، والحرص وبالحرص أُبيح آدمُ الجنةَ كلَّها ، فأصبتُ حاجتي منه بالحرص . خرَّجه ابنُ أبي الدُّنيا .
“มี 2 เรื่องที่ข้าพเจ้าทำให้ลูกหลานอาดัมหายนะ เรื่องแรกคือ “อัลหะสัด(อิจฉา)” ด้วยอิจฉานี่ข้าพเจ้าถูกสาปแช่งและข้าพเจ้าถูกตั้งฉายาว่า “ชัยฏอน เราะญีม” (ชัยฏอนที่ถูกขับไล่) เรื่องที่สองคือ “อัลหิรศฺ(ความหวงแหน)” ด้วยความหวงแหน อาดัมเข้าใจว่าทุกสิ่งบนสวรรค์นี้บริโภคได้ทั้งหมด ข้าพเจ้าได้บรรลุเป้าหมายกับอาดัมด้วยความหวง(ความอยาก)”
...อิบลีสกล่าวกับนบีนูหฺ
وَأَنَّا ظَنَنَّا أَن لَّن تَقُولَ الْإِنسُ وَالْجِنُّ عَلَى اللَّـهِ كَذِبًا ﴿٥﴾ سورة الجن
72:5 และแท้จริงเราคาดคิดว่า มนุษย์และญินจะไม่กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺเป็นอันขาด
 
وقد وصف الله اليهودَ بالحسد في مواضع من كتابه القرآن ، كقوله تعالى :   وَدَّ كَثِيرٌ مِنْ أَهْلِ الْكِتَابِ لَوْ يَرُدُّونَكُمْ مِنْ بَعْدِ إِيمَانِكُمْ كُفَّاراً حَسَداً مِنْ عِنْدِ أَنْفُسِهِمْ مِنْ بَعْدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُمُ الْحَقّ  ( ) ، وقوله :  أَمْ يَحْسُدُونَ النَّاسَ عَلَى مَا آتَاهُمُ اللهُ مِنْ فَضْلِهِ  ( ) .
ยะฮูด มีลักษณะเป็นผู้อิจฉา – เป็นประชาชาติที่เคยโดดเด่นแล้วฝ่าฝืนอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจึงยึดความโดดเด่นไปให้ ปชช.อื่น จึงอิจฉา
2:109 อะฮ์ลุลกิตาบมากมายชอบ หากพวกเขาจะสามารถทำให้พวกเจ้ากลับเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธาอีก ทั้งนี้เพราะความอิจฉาริษยาที่มาจากตัวของพวกเขาเอง หลังจากความจริงได้ประจักษ์แก่พวกเขา
4:54 หรือว่าพวกเขาอิจฉาคนอื่น ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่พวกเขา จากความกรุณาของพระองค์
 
โรคของประชาชาติยุคก่อน
وخرَّج الإمام أحمد ( ) والترمذي ( ) من حديث الزُّبير بن العوَّام ، عن النَّبيِّ  : (( دبَّ إليكم داءُ الأمم من قبلكم : الحسدُ والبغضاءُ ، والبغضاءُ هي الحالقة ، حالقة الدين لا حالقةُ الشعر ، والذي نفس محمد بيده لا تُؤمنوا حتى تحابُّوا ، أولا أُنبئكم بشيءٍ إذا فعلتموه تحابَبْتُم ؟ أفشوا السَّلام بينكم )) .
หะดีษนี้มีปัญหานิดนึง (อิลละฮฺ) จากอัซซุบัยรฺ อิบนุลเอาวาม (เป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่านนบี สามีของอัสมา บินตุอบีบักรฺ ท่านรับอิสลามเมื่ออายุ 13 ปี ได้รับฉายาว่า ฮะวารียี) มีลูกชายคนหนึ่งชื่อ อุรวะฮฺ เป็นลูกชายของมุฮาญิรีนคนแรกที่เกิดที่มะดีนะฮฺ
ท่านได้รายงานหะดีษจากนบีว่า “โรคของประชาชาติยุคก่อนได้คืบคลานมายังพวกท่านแล้ว อิจฉาริษยาและความโกรธ ความโกรธนั้นคือสิ่งที่มันโกน(โค่น)ศาสนา ขอสาบานด้วยพระผู้ที่วิญญาณของมุฮัมมัดอยู่ที่พระหัตถ์ของพระองค์ว่าพวกเจ้าจะไม่ศรัทธาจนกว่าจะรักกันและกัน พวกเจ้าอยากทราบมั้ย อะไรที่ทำแล้วพวกเจ้าจะรักกัน จงแพร่สลามกันและกัน(อย่างกว้างขวาง สม่ำเสมอ บ่อยครั้ง)"
 
وخرَّج أبو داود ( ) من حديث أبي هريرة ، عن النَّبيِّ  ، قال : (( إيَّاكم والحسد ، فإنَّ الحسدَ يأكلُ الحسناتِ كما تأكلُ النَّارُ الحطب ، أو قال : العُشبَ )) .
55.15 หะดีษนี้สายรายงานมีปัญหานิดนึง ท่านนบีกล่าวว่า “พวกเจ้าจงระวังการอิจฉาริษยา เพราะอิจฉาริษยาสามารถกิน(ทำลาย)ผลบุญ เปรียบเสมือนไฟที่กินฟืน หรือไฟที่ทำลายพืช”
 
وخرَّج الحاكم ( ) وغيرُه من حديث أبي هريرة ، عن النَّبيِّ  ، قال : (( سيُصيبُ أُمَّتي داءُ الأمم )) ، قالوا : يا نبيَّ الله ، وما داءُ الأمم ؟ قال : (( الأشرُ والبَطَرُ ، والتَّكاثرُ والتَّنافسُ في الدُّنيا ، والتَّباغُض ، والتَّحاسدُ حتى يكونَ البغيُ ثمَّ الهرجُ )) .
1.04 หะดีษนี้สายรายงานมีปัญหานิดนึง ทำไมเอาหะดีษที่มีปัญหามารายงาน อนุญาตให้นำหะดีษที่มีปัญหามาใช้ได้ในกรณีเชิญชวนให้ทำความดี ปราบปรามไม่ให้ทำชั่ว อุละมาอฺอะลุ่มอล่วยให้นำมาใช้ได้ แต่หะดีษที่จะก่อหลักการใหม่เช่น วิธีละหมาดฮะญัร จะนำหะดีษเฎาะอีฟมาใช้ไม่ได้
 
ท่านนบีกล่าวว่า “ประชาชาติของฉันจะเป็นโรคของประชาชาติยุคก่อน (โรคที่เป็นทุกประชาชาติ)  คือ อัลอะชัรวัลบะฏ็อร (โอ้อวดแบบรุนแรง), อัตตะกาษุร (แสดงความมากมาย ในเงินหรือพรรคพวก) อัตตะนาฟุส (แข่งขันกันในเรื่องดุนยา ไม่อิจฉาหรือแข่งขันกันในเรื่องความดี),  อัตตะบาฆุส (ความโกรธ), อัตตะฮาสุด(การอิจฉาริษยา) จนกระทั่งละเมิดกัน และฆ่ากัน”
 
กลุ่มที่อิจฉา แต่ไม่บาป
وقسم آخر من الناسِ إذا حسدَ غيره ، لم يعمل بمقتضى حسده ، ولم يبغِ على المحسود بقولٍ ولا فعلٍ . وقد رُوي عن الحسن أنَّه لا يأثمُ بذلك ( ) 
อีกกลุ่มหนึ่งจากมนุษย์ เมื่อรู้สึกอิจฉาผู้อื่นเขาจะไม่กระทำตามความรู้สึกอิจฉา และจะไม่ละเมิด(อธรรม)คนที่เขาอิจฉาไม่ว่าโดยวาจาหรือการกระทำ 
، وروي مرفوعاً من وجوه ضعيفة ، وهذا على نوعين :
أحدهما : أنْ لا يمكنه إزالةُ الحسدِ من نفسِه ، فيكون مغلوباً على ذَلِكَ ، فلا يأثمُ به .
الثاني : من يُحدِّثُ نفسَه بذلك اختياراً ، ويُعيده ويُبديه في نفسه مُستروِحاً إلى تمنِّي زوالِ نعمة أخيه ، فهذا شبيهٌ بالعزم المصمِّم على المعصية ، وفي العقاب على ذلك اختلافٌ بين العلماء ، وربما يُذكر في موضعٍ آخر إنْ شاء الله تعالى ، لكن هذا يَبعُدُ أن يَسلَمَ من البغي على المحسود ، ولو بالقول ، فيأثم بذلك .
 

 

WCimage
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 179 (หะดีษที่ 35/1)