ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 55 (อายะฮฺ 85) | 16/1/67

Submitted by dp6admin on Sat, 20/01/2024 - 18:17
หัวข้อเรื่อง
- เป้าประสงค์ของซูเราะฮฺคือการซักฟอกสังคม
- มุนาฟิกที่มีอิทธิพลในสังคม
- ดุนยามีค่าแค่ปีกยุง
-เมื่ออาคิเราะฮฺมีค่ามากกว่าดุนยาก็อย่าได้อายที่จะแสดงออกถึงความเป็นมุสลิม
- ความสมถะของผู้ศรัทธาคือให้ดุนยาอยู่ในมือ มิได้อยู่ในหัวใจ
- สำรวจ "ควาเป็นมุสลิม"
- รับอิสลามแล้วยังไงต่อ ?
- อย่าหลงกับทรัพย์สมบัติหรือ ลูกหลาน ฯลฯ
สถานที่
มุศ็อลลาไวท์แชนแนล
วันที่บรรยาย
5 เราะจับ 1445
วันที่บรรยาย
ความยาว
70.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

ชื่อของซูเราะฮฺ อัตเตาบะฮฺ
- อัลฟาฎิฮะฮฺ - แฉ (มุนาฟิก)
- อัลมุชักชิเกาะฮฺ - เปิดเผย (ความชั่ว)
ทำให้มุนาฟิกีนวงแตก, ฉายาทำให้เข้าใจเป้าประสงค์ของซูเราะฮฺในการซักฟอกสังคม ในช่วงสุดท้ายก่อนท่านนบีเสียชีวิต ให้ปราศจากมลทินจากภัยที่ร้ายแรงที่สุดต่อสังคม คือพวกไส้ศึก พวดสับปลับกลับกลอก ที่ไม่มีเจตนาที่ดีต่อสังคม ทรยศศาสนา

9:84 และเจ้าจงอย่าละหมาดให้แก่คนใดในหมู่พวกเขาที่ตายไปเป็นอันขาด และจงอย่ายืนที่หลุมศพของเขาด้วย 
แท้จริงพวกเขานั้นได้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และพวกเขาได้ตายลงขณะที่พวกเขาเป็นผู้ละเมิด

-อายะฮฺ 84 เป็นอายะฮฺที่มีความรุนแรงสำหรับมุนาฟิกีน เพราะเป็นอายะฮฺที่ได้ตัดความเป็นมุสลิมออกจากตัวเขา เมื่อมุนาฟิกีนได้เสียชีวิตลงอายะฮฺเป็นอายะฮฺที่ห้ามท่านนะบีจากการละหมาดญะนาซะฮฺของพวกเขา
-สำหรับผู้ใดที่ความเป็นชีวิตแบบญะฮิลียะฮฺ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะถอดถอนสิ่งไม่ดีที่เขาชอบออกจากตัวเขา ต้องใช้เวลาในการถอดถอนสิ่งนั้นออกจากหัวใจของเขา และไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้

وَلَا تُعْجِبْكَ أَمْوَالُهُمْ وَأَوْلَادُهُمْ ۚ إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ أَن يُعَذِّبَهُم بِهَا فِي الدُّنْيَا وَتَزْهَقَ أَنفُسُهُمْ وَهُمْ كَافِرُونَ ٨٥ ‎ ‎

9:85 และจงอย่าให้ทรัพย์สมบัติของพวกเขาและลูกๆของพวกเขา เป็นที่พึงใจแก่เจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงต้องการที่จะลงโทษพวกเขา ด้วยสิ่งเหล่านั้นในโลกนี้ และที่จะให้ชีวิตของพวกเขาออกจากร่างไป ขณะที่พวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น

- มุนาฟิกที่มีอิทธิพลในสังคม
- ดุนยามีค่าแค่ปีกยุง

-ในยุคของท่านนะบีมูฮัมมัด มุนาฟิกส่วนมากเป็นคนที่ร่ำรวย มียศถาบรรดาศักดิ์ มีครอบครัวที่ใหญ่โต เป็นคนที่เคยมีอนาคตที่จะเป็นใหญ่เป็นโตก่อนที่ท่านนะบีจะฮิจเราะฮฺมามะดีนะฮฺ อายะฮฺนี้ถึงถูกประทานลงมาเพื่อเตือนสติท่านนะบีไม่ใช่หลงไปกับสมบัติของพวกเขา 
-ในสายตาของผู้ศรัทธาอัลลอฮฺไม่ให้ดูบุคคลด้วยทรัพย์สินที่เขามี อำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ แต่อัลลอฮฺให้มองคนอื่นด้วยกับการอิบาดะฮฺของเขา คำพูดของเขา ศาสนาของเขา ตักวาของเขา ฯลฯ
-อายะฮฺนี้อัลลอฮฺให้อุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้หลงระเริงไปกับโลกในดุนยา
-อุลามาอฺได้บอกว่า “ดุนยา(ทุกสิ่งที่เป็นปัจจัย)อัลลอฮฺจะให้ทั้งหมด ทั้งผู้ศรัทธา และผู้ที่ไม่ใช่ผู้ศรัทธา(เพราะมันไม่มีค่าสำหรับอัลลอฮฺ) แต่อาคิเราะฮฺ และศาสนาอัลลอฮฺให้เฉพาะคนที่พระองค์ทรงรักเท่านั้น”

-ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายถึงค่าของดุนยาไว้ความว่า
«لَوْ كَانَتِ الدُّنْيَا تَعْدِلُ عِنْدَ الله جَنَاحَ بَـعُوضَةٍ مَا سَقَى كَافِراً مِنْـهَا شَرْبَةَ ماءٍ»
. أخرجه الترمذي
ความว่า “หากดุนยานั้นมีค่า ณ ที่อัลลอฮฺเท่าปีกยุง พระองค์จะไม่ให้สิ่งใดแก่กาฟิรแม้กระทั่งการได้ดื่มน้ำ“
(บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลขที่ 2320)

แต่อัลลอฮฺก็ยังให้กาฟิรได้กินได้ดื่ม แสดงว่าดุนยานี้ทั้งหมด ณ อัลลอฮฺนั้นไม่ได้มีค่าแม้แต่ปีกยุงเพียงข้างเดียว
ดังนั้นจงให้มาตรฐานของอัลลอฮฺเป็นมาตรฐานของเราเช่นกัน และอย่าให้ดุนยามีความสำคัญมากกว่าแก่เรามากกว่าปีกยุงข้างเดียว
-เมื่ออาคิเราะฮฺมีค่ามากกว่าดุนยาก็อย่าได้อายที่จะแสดงออกถึงความเป็นมุสลิม
-หะซัน อัลบัศรี ได้บอกว่า “หากเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้วพวกเขามีปัจจัยเหล่านี้(ปัจจัยด้านดุนยา) อัลลอฮฺจะลงโทษเขาด้วยการเสพสุขบนโลกนี้ แล้วโลกหน้าจะถูกลงโทษ” ในโลกดุนยาเขาจะถูกลงโทษด้วยความห่วงแหน ด้วยความตระหนี่ ที่เขาจะค่อยๆมีเพิ่มขึ้นในดุนยา ส่วนการลงโทษมุสลิมที่เขารักทรัพย์สมบัติด้วยกับการออกซะกาต เพราะมุสลิมที่รักดุนยาก็จะขี้เกียจหรือปฏิเสธที่จะออกซะกาต

- ความสมถะของผู้ศรัทธาคือให้ดุนยาอยู่ในมือ มิได้อยู่ในหัวใจ
- สำรวจ "ความเป็นมุสลิม"
- รับอิสลามแล้วยังไงต่อ ?
-การกล่าวชะฮาดะฮฺเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่การที่จะยืนหยัดเป็นเรื่องยากแม้กระทั่งกับมุสลิมโดยกำเนิด
-กระบวนการเผยแพร่อิสลามต้องครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้ จนไปถึงการช่วยเหลือเขาหลังจากที่เขาเข้ารับอิสลาม
-สำหรับมุนาฟิกีนอัลลอฮฺจะให้เขาตายในฐานะที่เขาเป็นกาฟิรเท่านั้น เพราะสุดท้ายแล้วอัลลอฮฺจะให้เขาจบไปสิ่งที่เขาได้เลือกไว้ก่อนหน้านี้

อายะฮฺที่ 85 และอายะฮฺที่ 55 มีความใกล้เคียงกัน คล้ายคลึงกัน
-ทั้งสองอายะฮฺเป็นอายะฮฺที่ต่อมาจากอายะฮฺที่กล่าวถึงการลงโทษต่อพวกมุนาฟิกีน
-ทั้งสองอายะฮฺได้เน้นย้ำถึงลักษณะภายนอกของเขาอย่าให้เราได้พึงพอใจมากกว่าลักษณะที่อัลลอฮฺได้พึงพอใจ

มุสลิมที่หลงในทรัพย์สมบัติ -- บทลงโทษคือ การจ่ายซะกาต

-อัลลอฮฺ ไม่ละอายที่จะสั่งสอน กล่าวซ้ำ การเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆ ที่ถูกสร้าง เพราะอัลลอฮฺไม่ได้ประทานอัลกุรอานมาเพื่อเป็นการเอาอกเอาใจมนุษย์ แต่ลงมาเพื่อเป็นการสั่งสอนมนุษย์
-อีกสาเหตุหนึ่งที่อุลามาอฺได้อธิบายว่าทำไมอัลลอฮฺจึงกล่าวเน้นย้ำกับบางอายะฮฺ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ โดยในอายะฮฺนี้คนที่หลงกับทรัพย์สมบัติหรือหลงกับดุนยานั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่

at-tawbah  at-tawbah

WCimage
ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 55 (อายะฮฺ 85) | 16/1/67