ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 13 (อายะฮฺ 18-19) | 29/11/65

Submitted by dp6admin on Thu, 01/12/2022 - 21:54
หัวข้อเรื่อง
- เวลาที่(หวังว่า)ดุอาอฺมุสตะญาบ คือ เวลาที่ศึกษาความรู้ศาสนา จากหะดีษ "ความสงบในวงฮะละเกาะฮฺ มะลาอิกะฮฺจะลงมา..." และเวลาฝนตก
- บูรณะมัสจิด - รูปธรรมและนามธรรม
- คนที่ไม่ใช่มุสลิม แต่อยากทำบุญด้วยการสร้างมัสจิด ได้ไหม ?
- ร่วมทำบุญกับต่างศาสนิกได้ไหม ?
- แต่งงานกับต่างศาสนิก ตกมุรตัดไหม ? ทำบาปใหญ่ แต่ถ้าไม่ทำชิริก ก็ยังไม่ตกศาสนา

(รับชมได้ทาง White Channel วันพฤหัสบดีและวันอาทิตย เวลา 9.30 น.)
สถานที่
มุศ็อลลาไวท์แชนแนล
วันที่บรรยาย
6 จุมาดัลอูลา 1444
วันที่บรรยาย
ความยาว
80.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

- เวลาที่(หวังว่า)ดุอาอฺมุสตะญาบ คือ เวลาที่ศึกษาความรู้ศาสนา  จากหะดีษ "ความสงบในวงฮะละเกาะฮฺ มะลาอิกะฮฺจะลงมา..." และเวลาฝนตก

9:18 แท้จริงที่จะบูรณะบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก และได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และเขามิได้ยำเกรงนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น ดังนั้นจึงหวังได้ว่า ชนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้รับคำแนะนำ

- บูรณะมัสจิด - รูปธรรมและนามธรรม
- คนที่ไม่ใช่มุสลิม แต่อยากทำบุญด้วยการสร้างมัสจิด ได้ไหม ? 
-- ทำได้แต่ต้องเป็นเงินบริสุทธิ์และไม่มีข้อแม้, เชิญชวนให้เขาทำส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับอาคารมัสจิดดีกว่า เช่น ปลูกต้นไม้รอบๆมัสจิด
-- จำเป็นต้องบอกเขามั้ยว่าไม่ได้บุญนะ ?
- ร่วมทำบุญกับต่างศาสนิกได้ไหม ?
-- กองทุนฌาปนกิจ - ทำไม่ได้ และไม่ควรขอเขาช่วยงานศพมุสลิมด้วย
-- เรื่องทีทำได้ เช่น ทำอาหารให้ครอบครัวที่มีงานศพ 

- ทางที่ทีควรเชิญชวนให้เขาทำส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับอาคารมัสจิดดีกว่า เช่น ปลูกต้นไม้รอบๆมัสจิด แต่ถ้าปฏิเสธไม่ได้, หรือถูกบังคับให้รับเงินหะรอม หรือเงินจากต่างศาสนิก
- ถ้าเลือกได้ ก็ไม่ควรรับบริจาคจากต่างศาสนิก
- "ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก"
- คนที่ทำสิ่งที่ทำให้ตกศาสนา (เช่น ไปแต่งงานกับต่างศาสนิกแล้วออกจากอิสลามไปเลย) เมื่อกลับตัว อยากจะกลับมาเป็นมุสลิม ต้องทำอย่างไร ? กล่าวกะลีเมาะฮฺไหม ?
- แต่งงานกับต่างศาสนิก ตกมุรตัดไหม ? ทำบาปใหญ่ แต่ถ้าไม่ทำชิริก ก็ยังไม่ตกศาสนา

أَجَعَلْتُمْ سِقَايَةَ الْحَاجِّ وَعِمَارَةَ الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ كَمَنْ آمَنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَجَاهَدَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ ۚ لَا يَسْتَوُونَ عِنْدَ اللَّهِ ۗ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الظَّالِمِينَ  

9:19 พวกเจ้าได้ถือเอาการให้น้ำดื่ม แก่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ และการบูรณะมัสยิดอัลหะรอม ดั่งผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันปรโลก และต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ เขาเหล่านั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน ณ ที่อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงแนะนำกลุ่มชนที่เป็นผู้อธรรม

สาเหตุการประทานอายะฮฺนี้

ทัศนะ 1
- เชลยศึกจากสงครามบัดร นบีปรึกษาอบูบักรและอุมัร อัลลอฮฺสนับสนุนทัศนะของอุมัรที่ให้ประหาร (อบูบักรเสนอให้ไถ่ตัวและสอนหนังสือแก่มุสลิม)
- อัลอับบาสและชัยบะฮฺ (,ฏ็อลฮะฮฺ) (ลุงของท่านนบี) เป็นเชลยศึก, อัลอับบาสรับอิสลามแล้ว ทั้งสองคนไม่อยากรบกับมุสลิม เพราะเป็นลุงของนบี แต่ถูกบังคับให้ออกไปรบ
- เหตุการณ์ของสงครามบัดร เกิดในปี ฮ.ศ. 2 แต่เตาบะฮฺถูกประทานปีที่ 9-10 จึงมีทัศนะว่าบางอายะฮฺถูประทานสองครั้ง

ทัศนะ 2 มีหะดีษบทหนึ่งบันทึกโดยอิมามมุสลิมว่า มีเศาะฮาบะฮฺเถียงกันว่า ระหว่าง คนที่บูรณะมัสจิดหะรอม, คนที่ให้อาหารเครื่องดื่มแก่ฮุจจาจ และคนที่ญิฮาด -- ใครประเสริฐกว่ากัน ?
เมื่อละหมาดญุมุอะฮฺเสร็จ ท่านอุมัรจึงไปถามท่านนบีว่าใครประเสริฐกว่า ? ท่านนบีจึงอ่านอายะฮฺนี้ให้อุมัรฟัง อัลลอฮฺจึงประทานอายะฮฺนี้ลงมา
-- อิมามกุรฎุบีเห็นว่า ข้อความ "อัลลอฮฺจึงประทานอายะฮฺนี้ลงมา" ไม่ใช่คำพูดของท่านนบี แต่เป็นทัศนะของผู้รายงานหะดีษ

นักอธิบายกุรอานเห็นว่า อายะฮฺนี้น่าจะถูกประทานมาในช่วงสงครามบัดร 

9:19 เขาเหล่านั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน ณ ที่อัลลอฮฺ -- แสดงว่ามีตาชั่งของอัลลอฮฺ ซึ่งเราต้องศึกษาเรียนรู้จากอัลกุรอานว่าอะไรคือดีอะไรคือชั่ว

- แผ่นดินหะรอมมีความประเสริฐ แต่ไม่ได้หมายรวมว่าคนที่อยู่บนแผ่นดินหะรอมประเสริฐกว่าผู้อื่น
- อุละมาอฺกล่าวว่า "ความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่ ไม่ได้เป็นการคุ้มครองคนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ และคนชั่วก็จะไม่ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่นั้น"
- ท่านนบีกล่าวว่า "ผู้ศรัทธาจะไม่โสโครก แม้จะตกลงไปในสิ่งโสโครก" (มีความหมายในเชิงนามธรรม)
- มาตรฐาน ความดี-ความชั่ว ของอัลลอฮฺ
อย่าเสียเวลาคิดบัญชีคนอื่น ให้พิจารณาตนเองว่า ดี-ชั่ว กี่เปอร์เซ็นต์

9:19 และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงแนะนำกลุ่มชนที่เป็นผู้อธรรม (ผู้ทำชิริก)
- การทำบาปต่อเนื่อง (มะอฺซิยัต, ความผิด, ฝ่าฝืน) เป็นเหตุให้ไม่ได้รับทางนำ
- เมาเหล้า - เมาบอล -- ไม่มีสติเหมือนกัน

 at-tawbah at-tawbah  

WCimage
ตัฟซีรซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ 13 (อายะฮฺ 18-19)