ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 247 (หะดีษที่ 43/1 มรดก)

Submitted by dp6admin on Sat, 18/02/2017 - 10:13
หัวข้อเรื่อง
การแบ่งมรดก,
ผู้มีสิทธิรับมรดกคือใคร ?,
การรับมรดกของลูกและหลาน (ลูกของลูกแท้),
สถานที่
มุศ็อลลา White Channel
วันที่บรรยาย
20 ญุมาดาอัลอูลา 1438
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
17.00 mb
ความยาว
71.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

วีดีโอ

الحديث الثالث والأربعون 
عَنِ ابن عبَّاسَ رضي الله عنهما قالَ : قَال رسولُ الله صلى الله عليه وسلم : (( ألحِقُوا الفَرائِضَ بأَهلِها ، فَمَا أَبقتِ الفَرائِضُ ، فَلأوْلَى رَجُلٍ ذَكَرٍ )) . خرَّجه البُخاريُّ ( ) ومُسلمٌ 
 

ท่านนบีกล่าวว่า "ให้มรดกแก่เจ้าของเขา ตามสิทธิที่กำหนด (กล่าวคือ เจ้าของที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ในอัลกุรอาน ผู้มีสิทธิรับมรดกมีสองประเภท อัศฮาบุลฟะรออิด(เจ้าของมรดก ที่อัลลอฮฺระบุในอัลกุรอาน เช่น ลูก ภรรยา สามี) และ อะศอบะฮฺ (คือเครือญาติใกล้ตัว แต่่สิทธิไม่ได้ถูกระบุ จะได้ส่วนที่เหลือ ส่วนมากได้มากกว่า แต่บาطทีก็น้อยกว่า) , เมื่อแจกสิทธิตามกำหนดแล้ว(ฟะรออิด) ส่วนที่เหลือ ก็เป็นสิทธิของชายคนแรก(ที่ใกล้ชิดที่สุด"


หะดีษนี้จะพูดถึงบุคคลที่ไม่ได้ถูกระบุในอัลกุรอาน ซึ่งจะได้รับส่วนเหลือจากฟะรออิด

ผู้มีสิทธิรับมรดกคือใคร ? มี 2 ประเภท
1- ฟะรออิด ที่อัลลอฮฺเจาะจงในกุรอาน เช่น พ่อ แม่ ลูก ตายตัว ชัดเจน มีทั้งชายและหญิง
2- อะศอบะฮฺ เครือญาติใกล้ตัว ส่วนมากเป็นผู้ชาย

ผู้มีสิทธิรับมรดกคือใคร ? อัลกุรอานระบุเรื่องมรดกไว้ 3 อายะฮฺในซูเราะฮฺอันนิซาอฺ ครอบคลุมเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุดคือ พ่อแม่ ลูก พี่น้อง คือ อันนิซาอฺ 7,11, 176

พี่น้องจากพ่อแม่เดียวกัน หรือพ่อเดียวกัน - ได้สิทธิเหมือนลูกๆคือ ชาย 2 หญิง 1 ส่วน
พี่น้องจากแม่เดียวกัน - ได้สิทธิเท่ากันทั้งชายและหญิง
การรับมรดกของลูกๆ
การรับมรดกของหลาน (ลูกของลูกแท้)

4:7 สำหรับบรรดาชายนั้น มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ และสำหรับบรรดาหญิงนั้นก็มีส่วนได้รับจากสิ่งที่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดได้ทิ้งไว้ ซึ่งสิ่งนั้นจะน้อยหรือมากก็ตาม เป็นส่วนได้รับที่ถูกกำหนดอัตราส่วนไว้

4:8 และบรรดาญาติที่ใกล้ชิด และบรรดาเด็กกำพร้า และบรรดาผู้ที่ขัดสนมาร่วมอยู่ด้วยในการแบ่งมรดก ก็จงปันส่วนหนึ่งจากสิ่งนั้น ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา และจงกล่าวแก่พวกเขาอย่างดี

 يُوصِيكُمُ اللَّـهُ فِي أَوْلَادِكُمْ ۖ لِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الْأُنثَيَيْنِ ۚ
4:11 อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูก ๆ ของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน

-- นี่คือหลักการหากมีลูกเพศชายและหญิง ชายจะได้มากกว่าหญิงสองเท่า
ลูกๆ ในที่นี่คือ ลูกแท้, ลูกของลูกด้วย(ถ้าลูกแท้ตายแล้ว ลูกของลูกก็จะได้รับแทน โดยมีรายละเอียดบางประการ)
- ถ้ามีลูกสาวแท้ 1-2 คน (พ่อเสียไปแล้ว) มีลูกของลูก* 1 คน, ลูกของลูก 2 คน (คนนึง ช คนนึง ญ) (* ลูกของลูกแท้ที่ตายไปแล้ว จะชายหรือหญิงก็ตาม)
- ชั้นบนกันชั้นล่าง ชั้นใกล้จะกันชั้นไกล
- ซัยดฺ อิบนุซาบิต เชียวชาญมากเรื่องการแบ่งมรดก
- หลานมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่ ทัศนะส่วนมากว่าได้, อิบนิมัสอู๊ด ไม่เห็นด้วย เห็นว่า "ส่วนเหลือ" ควรให้แก่หลานที่เป็นชาย
มัศฮับซอฮีรียะฮฺ (เอาตามสำนวนอย่างเดียว ไม่ตีความ)

- อิบนิมัสอู๊ด ถ้ามีลูกสาว 1 หลานหลายคน(ชญ) -- ลูกสาวได้ 1/2  ส่วนเหลือ 1/2 ให้หลานแบ่งกัน ช 2 ญ 1 ส่วน
- ยกเว้นถ้าแบ่งแล้ว หลาน ญ ได้มากกว่า 1/6 ให้แค่ 1/6 ส่วนที่เกินจากนั้นให้ยกให้น้อง(หรือพี่)ชาย

- ถ้ามีลูกสาวมากกว่า 2 คน ได้ 2/3
فَإِن كُنَّ نِسَاءً فَوْقَ اثْنَتَيْنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَ
4:11 แต่ถ้าลูกๆ เป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้

ลูกสาว 1 คน ได้ 1/2, มากกว่า 2 คน ได้ 2/3
ถ้าไม่มีลูกสาวเลย แต่มีหลานสาว ก็จะได้รับตามนี้เหมือนกัน
ถ้ามีลูกสาว 1 คน (ได้ 1/2) และมีหลานสาวด้วย หลานสาวจะได้รับส่วนเหลือเพื่อให้รวมกัน(กับลูกสาวแล้ว)เท่ากับ 2/3
- หลานสาว 1 คน ไม่ได้เลย
- หลานสาวหลายคน ได้ 1/6  
อิบนุมัสอู๊ดเห็นว่าหลานสาวไม่มีสิทธิ์ได้เลย อบูมูซาก็เห็นด้วย
------------------