(( قَالَ اللهُ تَعَالَى : يَا ابْنَ آدَمَ ، إِنَّكَ مَا دَعَوْتَنِي وَرَجَوْتَنِي غَفَرْتُ لَكَ عَلَى مَا كَانَ مِنْكَ وَلاَ أُبَالِي . يَا ابْنَ آدَمَ ، لَوْ بَلَغَتْ ذُنُوبُكَ عَنَانَ السَّمَاءِ ، ثُمَّ اسْتَغْفَرْتَنِي غَفَرْتُ لَكَ . يَا ابْنَ آدَمَ ، إِنَّكَ لَو أَتَيْتَنِي بِقُرَابِ اْلأَرْضِ خَطَايَا ، ثُمَّ لَقِيَتَنِي لاَ تُشْرِكُ بِي شَيْئاً ، لأَ تَيْتُكَ بِقُرَابِهَا مَغْفِرَةً )).
رواه التِّرمِذِي ، وقال حديثٌ حسنٌ صحيحٌ .
จากอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
- อิบนุเราะญับกล่าวว่าหะดีษนี้อิสนาดพอใช้ได้ มีหะดีษสำนวนคล้ายๆ กันนี้ในสายรายงาน บันทึกโดยอิมามมุสลิม ฉะนั้นหะดีษนี้เศาะฮี้ฮฺ
فمن أعظم أسباب المغفرة أنَّ العبد إذا أذنب ذنباً لم يرج مغفرته من غير ربِّه ، ويعلم أنه لا يغفر الذنوبَ ويأخذ بها غيرُه ، وقد سبق ذكرُ ذلك في شرح حديث أبي ذرٍّ : (( يا عبادي إنِّي حرَّمت الظُّلم على نفسي )) ( ) ... الحديث .
สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัลลอฮฺอภัยคือ จำเป็นเมื่อบ่าวทำผิดแล้ว ต้องไม่หวังการอภัยโทษจากใครนอกจากอัลลอฮฺ และต้องรู้ว่าผู้ที่จะลบล้างบาป(ความผิด) แล้วจะเอาโทษเอาผิดด้วยบาปนั้น คืออัลลอฮฺเท่านั้นที่ทำได้ เรื่องนี้อธิบายแล้วในหะดีษที่ผ่านมาแล้ว (หะดีษที่ 24)
وقوله : (( إنَّك ما دعوتني ورجوتني ، غفرتُ لك على ما كان منك ولا أُبالي ))
“อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “คราใดเจ้าวิงวอนขอฉัน มีความหวังต่อฉัน ฉันก็จะให้อภัย แม้นว่าเจ้ามีความผิดเท่าไหร่ก็ตาม และฉันไม่สนใจ(ว่าจะมีความผิดแค่ไหน”)
يعني : على كثرة ذنوبك وخطاياك ، ولا يتعاظمني ذلك ، ولا أستكثره ، وفي " الصحيح " ( ) عن النَّبيِّ ، قال : (( إذا دعا أَحدُكم فليُعظِم الرَّغبَةَ ، فإنَّ الله لا يَتعاظَمهُ شيءٌ )) .
อัลลอฮฺจะไม่มองว่าบาปของบ่าวใหญ่ขนาดใหญ่ เพราะไม่มีอะไรใหญ่กว่าอัลลอฮฺ
ฉะนั้นมุมุมองของอัลลอฮฺกับของเรานั้นต่างกัน เราทำบาปต้องมองว่ามันใหญ่ ท่านนบีกล่าวว่า “กาฟิร(หรือฟาญิร คนชั่ว/ไม่มีอีมาน) ทำผิดอย่างนึง เหมือนแมลงวันตอม เขาก็ปัดไป แล้วสิ้นเรื่อง แต่มุอฺมินจะมองว่าความผิดที่ได้ทำเสมือนเป็นภูเขาลูกหนึ่งอยู่บนศีรษะ”
นี่คือสภาพความเคร่งเครียดของบ่าวเมื่อทำบาปอย่างนึงอย่างใด นี่คือสิ่งที่เราต้องมี จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่เมื่อทำบาปแล้วเครียด ร้องไห้ ไม่อยากพบหน้าใคร
หะดีษเศาะฮี้ฮ “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านเมื่อขอดุอาอฺแล้ว ให้มีความหวังสูง(ต่ออัลลอฮฺ) เพราะไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าอัลลอฮฺ” ขอแล้วอย่าสงสัยว่าอัลลอฮฺจะให้ได้เหรอ
فذنوب العباد وإنْ عظُمَت فإنَّ عفو الله ومغفرته أعظم منها وأعظم ، فهي صغيرةٌ في جنب عفوِ الله ومغفرته .
บาปของบ่าวใหญ่โตแค่ไหน อภัยโทษของอัลลอฮฺจะใหญ่กว่า บาปของมนุษย์ทั้งหมดย่อมเล็กกว่าอภัยโทษที่มี ณ อัลลอฮฺตะอาลา – มุมมองนี้ต้องจำไว้ให้ดี ถ้าเห็นคนทำชั่วเยอะแล้วสิ้นหวัง หะดีษนี้ให้กำลังใจ ให้เริ่มชีวิตใหม่ เหมือนเรื่องคนที่ฆ่า 99 คน แล้วเตาบัต
وفي " صحيح الحاكم " ( ) عن جابر أنَّ رجلاً جاء إلى النَّبيِّ يقولُ : واذنوباه واذنوباه مرَّتين أو ثلاثاً ، فقال له النَّبيُّ : (( قل : اللهمَّ مغفرتُك أوسَعُ من ذنوبي ، ورحمتُك أرجى عندي من عملي )) ، فقالها ، ثم قال له : (( عُدْ )) ، فعاد ، ثم قال له : (( عُدْ )) ، فعاد ، فقال له : (( قُمْ ، فقد غفر الله لك )) .
หะดีษเศาะฮี้ฮฺ (รายงานเฎาะอีฟนิดนึง แต่อุละมาอฺบางท่านว่าหะซัน)
ชายคนนึงมาหาท่านนบีและกล่าวว่า “โอ้ความชั่ว(ความผิด)ของฉัน มันเยอะเหลือเกินครับท่านนบี”
ท่านนบีกล่าวว่า “ท่านกล่าวสิ
اللهمَّ مغفرتُك أوسَعُ من ذنوبي ، ورحمتُك أرجى عندي من عملي
โอ้อัลลอฮฺความอภัยของพระองค์ท่านย่อมกว้างขวางไพศาลกว่าความผิดของฉัน และความเมตตาของพระองค์ท่าน ย่อมมีความหวังสำหรับข้าพเจ้ามากกว่าการงานของข้าพเจ้า”
ชายคนนั้นกล่าวตามที่ท่านนบีบอก
นบีก็บอกให้กล่าวอีกครั้ง เขาก็กล่าวอีกครั้ง ท่านบีก็บอกให้กล่าวอีกครั้ง เขาก็กล่าว (ทั้งหมด 3 ครั้ง)
แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า “จงลุกขึ้น อัลลอฮฺได้อภัยโทษให้แก่เจ้าแล้ว”
(เชคไม่แน่ใจว่าหะดีษเศาะฮี้ฮฺมั้ย)
وفي هذا يقول بعضهم :
يا كَبير الذَّنب عفوُ الـ ـلَّه مِن ذنبك أكبرُ
أعظَمُ الأشياء في جَنب عفوِ الله يَصغُرُ ( )
โอ้คนที่ความผิดของเขาใหญ่โต พึงรู้เถิดว่าอภัยของอัลลอฮฺย่อมใหญ่กว่า
บาปใหญ่ สรรพสิ่งต่างๆ จะใหญ่แค่ไหน เทียบกับอภัยโทษของอัลลอฮฺ ก็ถือว่า(สรรพสิ่งต่างๆนั้น)เล็กมาก
وقال آخر :يا ربِّ إن عَظُمَت ذُنوني كَثرةً فلقَد علِمتُ بأنَّ عَفوكَ أعظَمُ إن كان لا يرجوك إلا مُحسنٌ فمَن الذي يَرجو ويدعُو المُجرمُمالي إليك وسيلةٌ إلاَّ الرجا وجَميلُ عفوك ثم إنِّي مُسلِمُ
โอ้อัลลอฮฺ ถ้าหากความความผิดของฉันมากมายขนาดไหน แต่ข้าพเจ้าทราบแล้วว่าการอภัยโทษของพระองค์ยิ่งใหญ่กว่า
โอ้อัลลอฮฺ ถ้าหากคนที่มีสิทธิ์วิงวอนขออภัยโทษคือคนดี แล้วคนชั่วเช่นข้าพเจ้าจะขอต่อพระองค์ได้อย่างไร
ไม่มีสิ่งใดๆที่จะถวายต่อพระองค์ท่านนอกจากความหวังและความเชื่อในอภัยโทษอันสวยงามของพระองค์ท่าน แล้วข้าพเจ้าขอยืนยันว่าข้าพเจ้ายังเป็นมุสลิมอยู่
وقال آخر :ولما قسى قلبي وضاقتْ مذاهبي جعلتُ رجائي نحو عفوك سُلماً تعاظمني ذنبي فلما قرنتُهُ بعفوكَ ربي كانَ عفوك أعضما( )
เมื่อหัวใจของฉันแข็งกระด้างแล้ว เมื่อทิศทางต่างๆแคบลงหมดแล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ความหวังของข้าพเจ้าต่อพระองค์เป็นบันไดขึ้นไปยังพระองค์ท่าน
เมื่อฉันสิ้นหวัง เนื่องจากเห็นบาปของฉันใหญ่โตแล้ว ฉันก็นำบาปของฉันไปเทียบกับความเมตตา(ความอภัยโทษ)ของพระองค์ ฉันได้เห็นว่าบาปของฉันสามารถรับอภัยโทษได้ด้วยการอภัยโทษจากอัลลอฮฺตะอาลา
2- อิสติฆฟาร(ขออภัยโทษ)
السبب الثاني للمغفرة : الاستغفار ، ولو عظُمت الذُّنوب ، وبلغت الكثرة عَنان السماء ، وهو السَّحاب . وقيل : ما انتهى إليه البصر منها ، وفي الرواية الأخرى : (( لو أخطأتُم حتَّى بلغت خطاياكم ما بين السماء والأرض ، ثم استغفرتم الله لَغفر لكم )) ( ) ، والاستغفارُ : طلبُ المغفرة ، والمغفرة : هي وقاية شرِّ الذنوب مع سترها .
สาเหตุที่ทำให้ได้รับอภัยโทษคือการอิสติฆฟาร(ขออภัยโทษ) แม้ความผิดจะมากมายถึงฟากฟ้า