ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 1 (หะดีษที่ 1/1)

Submitted by dp6admin on Fri, 25/09/2009 - 15:23
หัวข้อเรื่อง
ความสำคัญของการศึกษาหะดีษ, การปลอมหะดีษและการลงโทษ,
มาตรการตรวจสอบหะดีษ,
ประวัติการรวบรวมหะดีษ, การรวบรวมหะดีษหมวดหมู่ต่างๆ,
ประวัติการรวบรวม "ญะวามิอุลกะลิม(สำนวนสั้นๆ แต่ความหมายลึกซึ้ง)" โดยนักวิชาการหลายๆ ท่าน,
หะดีษที่ 1 กิจการงานทั้งหลายขึ้นกับเจตนา,
ความหมายของ “อันนียะฮฺ(เจตนา)”, อิคลาศ
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
8 ญุมาดาอัลอาคิเราะฮฺ 1429
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
9.00 mb
ความยาว
73.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

ช่วงที่ 1 การรวบรวมหะดีษ, แนะนำหนังสือ

ช่วงที่ 2 เริ่มอธิบายหะดีษที่ 1

อัลหะดีษ ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม [ สารานุกรมความรู้และปรัชญา(ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ] ของอิบนุรอญับ อัลฮัมบะลียฺ

ท่านนบีกล่าวว่า "ในยุคนึงมุสลิมจะมีมัชนาต*" (เป็นสัญญาณวันกิยามะฮฺ)
(*มัชนาต เป็นตำราอธิบายคัมภีร์เตารอตของยะฮูด ที่เขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายเตารอตด้วยปราชญ์ยะฮูด แต่กลับมีความสำคัญกว่าเตารอต บางคดีนักบวชยิวก็ถือเอามัชนาตสำคัญกว่าเตารอต)
เศาะฮาบะฮฺถามว่า "คืออะไรครับ?"
ท่านนบีกล่าวว่า "คือการตัดสินด้วยตำราอื่น ควบคู่กับอัลกุรอาน" ท่านนบีจึงไม่อนุญาตให้เศาะฮาบะฮฺบันทึกซุนนะฮฺในสมัยท่านนบี ยกเว้นบางกรณี

- กุรอานถูกรวบรวมในยุคท่านอุษมาน แต่หะดีษยังไม่มีใครรวบรวม จึงมุ่งกันช่วยรวบรวมหะดีษ ให้ความสนใจกุรอานน้อยลง จึงมีคนนึงกุหะดีษปลอมเกี่ยวกับความประเสริฐของซูเราะฮฺต่างๆมาหลายบท เพื่อให้คนสนใจกุรอาน นักรายงานหะดีษจึงสืบสวน พบว่าเป็นหะดีษที่กุขึ้น
- ในยุคนบีและเศาะฮาบะฮฺยังไม่มีการบันทึกหะดีษ จึงเกิดปัญหาว่ามีบางคนลืมซุนนะฮฺของท่านนบีไปบ้าง มีหะดีษปลอมเกิดขึ้นบ้าง (มาจากบางกลุ่มในอิสลามและศัตรูอิสลาม เช่น มุฮัมมัด อิบนุสะอี๊ด กุหะดีษ 4000 บท  ทำให้หะล้าลเป็นหะรอม หะรอมเป็นหะล้าล ภายหลังถูกตัดสินประหารเพราะตั้งใจบิดเบือนอิสลาม) จึงมีนักวิชาการที่พยายามคัดกรองและรวบรวมหะดีษที่ถูกต้อง โดยได้ตั้งมาตรการในการตรวจสอบหะดีษแตกต่างกัน เข้มบ้าง อ่อนบ้าง บางตำราน่าเชื่อถือ เช่น เศาะฮี้ฮฺบุคอรียฺ, มุสลิม
- ภายหลังมีนักวิชาการรวบรวมหะดีษตามหมวดหมู่ต่างๆ เกิดตำราหะดีษ 40 บทเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งๆ โดยอาศัยหะดีษที่นบีบอกว่าใครรวบรวมหะดีษ 40 บทแก่ประชาชาติของแนจะได้เข้าสวรรค์ แต่หะดีษนี้เฎาะอีฟญิดดัน
- มีนักวิชาการรวมบรวม 40 หะดีษที่มีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องราวของอิสลาม เพราะท่านนบีเคยกล่าวว่า "ฉันได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺให้กว่าคำพูด(หะดีษ) ประโยคสั้นแต่ความหมายกว้าง" อุละมาอฺเรียกว่า "ญะวามิอุลกะลิม"
- อบูอัมรฺ อิบนุเศาะลาหฺ ร่วมหะดีษญะวามิอุลกะลิม หลายสิบบท อิมามนะวะวี ลูกศิษย์ของท่านได้รวบรวมอีก จนครบ 42 บท เรียกว่า อัลอัรบะอีน(หรือัลอัรบะอูน)
- อิมามอิบนุเราะญับเห็นความสำคัญของหนังสืออัลอัรบะอีน จึงรวบรวมหะดีษเพิ่มให้ครบ 50 หะดีษ และตั้งชื่อหนังสือว่า ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม (สารานุกรมความรู้และปรัชญา)
หะดีษที่เชคริฎอรายงานมีสายรายงานถึงเจ้าของตำรา เช่น อิมามบุคอรียฺ, อิมามมุสลิม ฯลฯ เป็นการอนุญาตให้รายงานหะดีษต่างๆในตำราหะดีษ
-------------------

หะดีษที่ 1

 จากอะมีรุ้ล-มุอฺมินีน อบูฮัฟส์ (ท่านอุมัร บิน อัลค็อฏฏ๊อบ) ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า :  ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 “แท้จริง กิจการงานทั้งหลาย (ขึ้นอยู่) กับการเจตนา และแท้จริง สำหรับทุกคนนั้น (คือ) สิ่งที่เขาได้มีเจตนาไว้ ดังนั้น ผู้ใดซึ่งการอพยพของเขา (มีเจตนาเพื่อ) สู่อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ ดังนั้น การอพยพของเขานั้นไปสู่ (ความพึงพอพระทัยต่อ) อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ และผู้ใดซึ่งการอพยพของเขาเพื่อโลก (ทรัพย์สมบัติเงินทองหรือเพื่อความสุขทางโลกอย่างเดียว) หรือเพื่อผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วย ดังนั้น การอพยพของเขานั้นไปสู่ที่เขาเป้าหมายไว้”

معاني النية - ความหมายของ “อันนียะฮฺ(เจตนา)”
มี 2 ความหมาย (ความหมายที่สองสำคัญกว่า)
والنية في كلام العلماء تقع بمعنيين
  • أحدهما تمييز العبادات بعضها عن بعض كتمييز صلاة الظهر من صلاة العصر مثلا وتمييز رمضان من صيام غيره أو تمييز العبادات من العادات كتمييز الغسل من الجنابة من غسل التبرد والتنظيف ونحو ذلك وهذه النية هي التي توجد كثيرا في كلام الفقهاء في كتبهم
  • والمعنى الثاني بمعنى تمييز المقصود بالعمل وهل هو لله وحده لا شريك له أم لله وغيره وهذه هي النية التي يتكلم فيها العارفون في كتبهم في كلامهم على الإخلاص وتوابعه وهي التي توجد كثيرا في كلام السلف المتقدمين
  • معالجة النية - การเตรียมเหนียต (เจตนา)

قال الفضل بن زياد سألت أبا عبد الله يعني أحمد عن النية في العمل قلت كيف النية قال يعالج نفسه إذا أراد عملا لا يريد به الناس وقال أحمد بن داود الحربي قال حدث يزيد بن هارون بحديث عمر الأعمال بالنيات وأحمد جالس فقال أحمد ليزيد يا أبا خالد هذا الخناق وعن سفيان الثوري قال ما عالجت شيئا أشد على من نيتي لأنها تنقلب علي وعن يوسف بن أسباط قال تخليص النية من فسادها أشد على العاملين من طول الاجتهاد وقيل لنافع بن جبير ألا تشهد الجنازة قال كما أنت حتى أنوي قال ففكر هنيهة ثم قال امض

อิมามอะหมัดถูกถามว่า จะเหนียตอย่างไร ? ท่านตอบว่า พยายามร่าง(ตั้งสมาธิ)เจตนาที่บริสุทธิ์ มุ่งทำเพื่ออัลลอฮฺ ไม่ประสงค์ได้อะไรจากมนุษย์
อิมามอะหมัดบอกกับ ยะซีด อิบนุฮารูน เมื่อได้ฟังหะดีษนี้ว่า เท่ากับบีบคอ (การเตรียมเหนียตให้บริสุทธิ์อย่างที่นบีบอกให้หะดีษนี้ยากมาก)
ซุฟยาน อัษเษารียฺ - การเตรียมเหนียตให้บริสุทธิ์นั้นยาก เพราะมันพลิกไปพลิกมา
ยูซุฟ อิบนุอัสบาฏ - การชำระเหนียตให้บริสทธิ์นั้นยากกว่าการปฏิบัติด้วยซ้ำ

تفاوت الثواب بتفاوت النية - ผลบุญจะได้ตามที่เจตนา

وقوله بعد ذلك وإنما لكل امريء مانوى إخبار أنه لا يحصل له من عمله إلا ما نواه به فإن نوى خيرا حصل له خير وإن نوى به شرا حصل له شر

تمام العمل - อะมั้ล(การงาน)ที่สมบูรณ์

 وإنما يتم العمل ذلك بأمرين أحدهما أن يكون العمل في ظاهره على موافقة السنة وهذا هو الذي يتضمنه حديث عائشة من أحدث في أمرنا ما ليس منه فهو رد والثاني أن يكون العمل في باطنه يقصد به وجه الله عز وجل كما تضمنه حديث عمر الأعمال بالنيات

อะมั้ลจะสมบูรณ์ด้วยเงื่อนไข 2 ประการ
1- ภายนอก - สอดคล้องกับซุนนะฮฺของท่านนบี
2- ภายใน - ตั้งใจถวายการงานเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น
การแบ่งแยกเป็น ชะรีอัต กับ หะกีก๊อต ของซูฟี

อิคลาศและตามแบบฉบับ (คอลิศ็อน วะเศาะวาบัน)
وقال الفضيل في قوله تعالى ليبلوكم أيكم أحسن عملا الملك قال أخلصه وأصوبه وقال إن العمل إذا كان خالصا ولم يكن صوابا لم يقبل وإذا كان صوابا ولم يكن خالصا لم يقبل حتى يكون خالصا وصوابا قال والخالص إذا كان لله عز وجل والصواب إذا كان على السنة وقال بعض العارفين إنما تفاضلوا بالإرادات ولم يتفاضلوا بالصوم والصلاة

สรุป - ความหมายของนิยะฮฺ 1-จำแนกประเภทอิบาดะฮฺ 2-ปฏิบัติเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น
การเตรียมเหนียตยาก แต่ก็ทำได้, ผลบุญจะได้ตามเหนียต, ละหมาดกลางคืนสอนให้คนมีอิคลาศ

.