ละหมาดที่บ้านหรือมัสญิดประเสริฐกว่า ?
ส่วนใหญ่ที่มัสญิดจัดละหมาดคือช่วงแรกของกลางคืน การละหมาดญะมาอะฮฺกับอิมามมีความประเสริฐ เสมือนละหมาดตลอดคืน แต่การละหมาดในช่วงสุดท้ายที่บ้านก็มีความประเสริฐ ดังนั้นควรปฏิบัติแบบใด?
เชคอัลบานียุบอกว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิดมีความประเสริฐกว่า เพราะจะถูกบันทึกว่าละหมาดตลอดคืน (รวมถึงช่วงสุดท้ายของคืนด้วย) และนี่คือการปฏิบัติของบรรดาซอฮาบะฮฺเช่นเดียวกัน” แต่เชคอัลบานีย คลาดเคลื่อนนิดหน่อยในการตีความหะดีษที่ว่า ในสมัยท่านอุมัรได้มีการแต่งตั้งอิมามที่มัสญิดนําละหมาดช่วงแรกของคืน ท่านอุมัรออกมากับซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งแล้วบอกว่า “การละหมาดเช่นนี้ดี แต่การละหมาดช่วงที่พวกเขา กลับบ้านไปนอนพักผ่อนนั้นดีกว่า คนส่วนมากละหมาดช่วงแรกของกลางคืน”
เชคอัลบานียอ้างคําพูดที่ว่า “คนส่วนมากละหมาดช่วงแรกของคืน” แต่ท่านอุมัรไม่ได้ละหมาดช่วงนั้น มีรายงานหะดีษหนึ่งว่า ท่านอุมัรไม่ได้ร่วมละหมาดกับอิมามที่มัสญิด แต่ละหมาดที่บ้านช่วงสุดท้ายของกลางคืน ดังนั้นจะฟันธงว่าการละหมาดช่วงแรกเป็น การปฏิบัติของซอฮาบะฮฺทั้งหมดไม่ได้ ถึงแม้ซอฮาบะฮฺส่วนมากปฏิบัติ แต่เมื่อเทียบแล้วท่านอุมัรมีน้ําหนักมากกว่าซอฮาบะฮฺธรรมดา
อุละมาอุมีทรรศนะที่แตกต่างกันเรื่องละหมาดที่มัสญิดหรือที่บ้านประเสริฐกว่า ท่านนบี ﷺ บอกว่า ละหมาดซุนนะฮฺที่บ้านดีกว่าและละหมาดช่วงสุดท้ายของกลางคืนดีกว่า แต่อีกหะดีษหนึ่งท่านนบี ﷺ บอกว่า การละหมาดกับอิมามที่มัสญิดได้ผลบุญเท่ากับการละหมาดตลอดคืน จึงมีทรรศนะที่ยึดหะดีษนี้ว่าละหมาดที่มัสญิด ดีกว่า เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์กว่าการละหมาดตลอดคืน
ทรรศนะที่ 2 ละหมาดที่บ้านดีกว่า โดยยึดตามหะดีษของท่านนบี ﷺ ที่บอกว่าละหมาดซุนนะฮฺทุกประเภทที่บ้านดีกว่า และละหมาดช่วงสุดท้ายของคืนดีกว่า ส่วนการละหมาดที่มัสญิดท่านนบี ไม่ได้ใช้คําว่า “อัฟฎอล-ประเสริฐ” เพียงแต่บอกว่าได้รับผลบุญเท่าการละหมาดตลอดคืน
ทรรศนะที่ 3 คือทรรศนะของอุละมาอฺที่ได้ให้แง่คิดว่า หากรู้ว่าการละหมาดที่บ้านช่วงสุดท้ายของคืนมีคุชูอุมากกว่าและยาวกว่าที่มัสญิด นั่นดีกว่าและได้ผลบุญมากกว่า แต่ถ้ารู้ว่าละหมาดที่มัสญิดยาวกว่านั่นย่อมดีกว่า เพราะความประเสริฐไม่ใช่ในด้านเวลาอย่างเดียว แต่รวมถึงจํานวนและความสมบูรณ์ด้วย
การละหมาดตามอิมามที่บะแลหรือมุศ็อลลาก็ถือว่าเป็นมัสญิด แต่มีคิลาฟว่ามัสญิดบ้าน(*8) ถือว่า เป็นมัสญิดหรือไม่ เพราะมีหะดีษบางบทเรียกว่าเป็นมัสญิด ดังที่ซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งกล่าวว่า “ท่านนบี ﷺ สั่งให้กําหนดมัสญิดที่บ้านของเราและรักษาความสะอาดด้วย” และเป็นที่ปฏิบัติของบรรดาซอฮาบะฮฺว่าในหมู่บ้านจะมีมัสญิดหรือมุศ็อลลา บางบ้านมีห้องเฉพาะสําหรับละหมาด ถึงแม้จะเรียกว่ามัสญิด อุละมาอฺบางท่านบอกว่าไม่ ได้ผลบุญเหมือนมัสญิด ถ้าเรียกว่ามัสญิดและมีญะมาอะฮฺก็ได้ผลบุญ เพราะท่านนบี ﷺ เรียกว่ามัสญิด แต่ที่เรียกว่ามัสญิดสมบูรณ์คือ เป็นที่วะกัฟของมัสญิด ไม่ได้อยู่อาศัยเป็นบ้าน
รูปแบบการละหมาดตะรอวีหฺ
รูปแบบที่ 1 ละหมาด 13 ร็อกอัต คือ ละหมาด 2 ร็อกอัตแรกเร็วหน่อย(*9) 2 ร็อกอัตต่อมายาว 2 ร็อกอัต ต่อมาสั้นลง แล้วพัก ต่อมาละหมาด 2 ร็อกอัตสั้นกว่า 4 ร็อกอัตที่ผ่านไป และอีก 2 ร็อกอัตสั้นลง แล้วพัก ต่อมา ละหมาด 2 ร็อกอัตที่สั้นกว่าที่ผ่านไปทั้งหมด และวิตร 1 ร็อกอัต
รูปแบบที่ 2 ละหมาด 13 ร็อกอัต คือ ละหมาด 8 ร็อกอัตทีละสอง (ให้สลามทุก 2 ร็อกอัต) และละหมาด 5 ร็อกอัตเป็นวิตรรวดเดียว อุละมาอฺส่วนมากให้น้ำหนักว่าตะชะฮุดครั้งเดียวในละหมาดวิตร 5 ร็อกอัต
รูปแบบที่ 3 ละหมาด 11 ร็อกอัต เหมือนรูปแบบที่ 1 แต่ไม่มี 2 ร็อกอัตเร็วตอนแรก คือ 2 ร็อกอัต 2 ร็อกอัต แล้วพัก 2 ร็อกอัต 2 ร็อกอัต แล้วพัก ต่อมา 2 ร็อกอัต และ 1 ร็อกอัต
รูปแบบที่ 4 ละหมาด 11 ร็อกอัต คือ ละหมาด 4 ร็อกอัตรวดเดียว (สลามครั้งเดียว ตะชะฮุดเดียว)(*10) อีก 4 ร็อกอัตรวดเดียว และ 3 ร็อกอัตรวดเดียว
รูปแบบที่ 5 ละหมาด 11 ร็อกอัต คือ ละหมาด 8 ร็อกอัตรวดเดียว นั่งตะชะฮุดและซอละวาตในร็อกอัตที่ 8 แล้วลุกขึ้น (ไม่ให้สลาม) ละหมาดวิตร 1 ร็อกอัต ให้สลาม แล้วนั่งละหมาดอีก 2 ร็อกอัต (*11)
รูปแบบที่ 6 ละหมาด 9 ร็อกอัต คือ ละหมาด 6 ร็อกอัตรวดเดียว นั่งตะชะฮุดและซอละวาตในร็อกอัตที่ 6 แล้วลุกขึ้น (ไม่ให้สลาม) ละหมาดวิตร 1 ร็อกอัต ให้สลาม แล้วนั่งละหมาดอีก 2 ร็อกอัต
เชคอัลบานียุบอกว่า สามารถเพิ่มเติมบางรูปแบบที่บรรจุในรูปแบบนั้น ๆ อาทิเช่น ลดจํานวนร็อกอัดจาก รูปแบบดังกล่าว เช่น จากรูปแบบที่ 1 สามารถลดจํานวนเหลือ 7 ร็อกอัตได้ (2-2-2-1) หรือจากรูปแบบที่ 6
สามารถลดจํานวนเหลือ 7 ร็อกอัตได้ (4-1-2) เพราะท่านนบี 3 กล่าวว่า “ใครจะละหมาด (รวมวิตร) 5 ร็อกอัต ได้ ใครจะละหมาด 3 ร็อกอัตก็ได้ หรือจะละหมาดเพียง 1 ร็อกอัตก็ได้เช่นเดียวกัน”
สําหรับการอ่านในวิตร ร็อกอัตแรกท่านนบี ﷺ อ่านซูเราะฮฺอัลอะอฺลา ร็อกอัตที่ 2 อ่านซูเราะฮฺอัลกาฟิรูน และร็อกอัตที่ 3 อ่านซูเราะฮฺอัลอิคลาศ บางครั้งเพิ่มซูเราะฮฺอัลฟะลักและซูเราะฮฺอันนาสด้วย ในการบันทึกของ ท่านอิมามนะซาอีย อะหมัด อิสนาดซอฮีหฺ ครั้งหนึ่งท่านนบี ﷺ อ่านในวิตรีร็อกอัตสุดท้ายด้วย 100 อายะฮฺจากซู เราะฮฺอันนิซาอุ แสดงว่าการอ่านซูเราะฮฺอัลอิคลาศในร็อกอัตสุดท้ายวิตรไม่ใช่วาญิบ
การละหมาด 20 ร็อกอัตไม่ใช่บิดอะฮฺ เพราะมีรายงานชัดเจนว่าท่านอุมัรแต่งตั้งอิมามนําละหมาด 20 ร็อกอัต ไม่มีรายงานว่าท่านนบี ﷺ ทํา แต่ชัดเจนว่าซอฮาบะฮฺ และท่านนบีอนุโลมตามหะดีษบันทึกโดยบุคอรียและมุสลิม
ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า “การละหมาดกลางคืนทีละสอง ๆ” ไม่ได้จํากัดจํานวน อัลกุรอานได้เปิดกว้าง ว่าการละหมาดกลางคืน ครึ่งคืนก็ได้ ตลอดคืนก็ได้ จึงมีโอกาสมากกว่า 11 ร็อกอัตได้ ซอฮาบะฮฺเข้าใจเจตนารมณ์ ของท่านนบี ﷺ และปฏิบัติเช่นนั้น อุละมาอฺบอกว่าซอฮาบะฮฺเลือกปฏิบัติความประเสริฐของการละหมาดด้วยการเลือกระหว่างจํานวนกับความยาวของการละหมาด ถ้าจะละหมาดยาวก็ลดจํานวน แต่ถ้าละหมาดสั้นก็เพิ่มจํานวน ถ้าละหมาดที่มัสญิดไม่จบแล้วไปวิตรที่บ้านก็ไม่ได้ผลบุญที่ท่านนบี บอกว่า “การละหมาดกับอิมามจนจบ เหมือนละหมาดตลอดคืน”
ถ้าที่มัสญิดละหมาดเร็วมากไม่ควรร่วมด้วย เพราะไม่ได้ผลบุญ และอาจถึงขั้นละหมาดใช้ไม่ได้ เพราะขาดความสงบซึ่งเป็นรุก่นในการละหมาด
ละหมาดถืออัลกุรอาน (อิมาม) สามารถทําได้ ถ้ามีความต้องการ แต่ถ้าท่องจําแม่นแล้วไม่ถือดีกว่า มีรายงานว่า ทาสของท่านหญิงอาอิชะฮฺ เคยละหมาดโดยถืออัลกุรอาน ท่านหญิงอาอิชะฮฺ - เห็นแล้วไม่ได้ตําหนิ จึงถือว่าทําได้ แต่ไม่ถือว่าประเสริฐกว่า
-----
(*8) คือการตั้งห้องหนึ่งเป็นบะแลหรือมุศ็อลลา เนื่องจากไม่สามารถสร้างมัสญิดหลังใหญ่ได้
(*9) เชคอัลบานียุบอกว่า 2 ร็อกอัตนี้คือซุนนะฮฺหลังอิชาอฺ หรือนับเป็น 2 ร็อกอัตเริ่มกิยามุลลัยลุ
(*10) เชคอัลบานียุบอกว่า ไม่มีคําตอบที่ชัดเจนในซุนนะฮฺว่าท่านนบี 5 ละหมาด 4 ร็อกอัตรวดเดียวหรือมีตะชะฮุดด้วย แต่ที่แน่นอนว่าถ้าละหมาด วิตร 3 ร็อกอัตรวดเดียวไม่ให้ตะชะฮฺดร็อกอัตที่สอง เพราะมีหะดีษชัดเจนท่านนบี 5 บอกว่า “อย่าละหมาดวิตรเหมือนมัฆริบ” นี่จึงเป็นทรรศนะ ของอุละมาอฺกลุ่มหนึ่งว่า การละหมาดซุนนะฮฺ 4 ร็อกอัตก็ให้นั่งตะชะฮุดครั้งเดียว เพราะถ้านั่งตะชะฮุด 2 ครั้งจะเป็นการเลียนแบบฟัรฎ
(*11) นี่เป็นลักษณะที่ท่านนบี 6 ละหมาดกิยามุลลัยลุที่บ้าน ไม่มีหลักฐานว่าท่านใช้ละหมาดตะรอวิท น่าจะไม่เคยทําเป็นญะมาอะฮฺ ถ้าจะนํารูปแบบ นี้มาละหมาดเป็นญะมาอะฮฺก็ทําได้ แต่มีคิลาฟว่าถ้าอิมามนั่งละหมาดแล้วมะมูมต้องนั่งหรือไม่ บางท่านบอกว่าต้องนั่ง บางท่านบอกว่ายืนก็ได้
เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี, กิยามุลลัยลฺ 1-3
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 50 views