1. คำถาม :
1. จากหนังสือวิธีละหมาดตามบัญญัติอิสลาม ของอัล-อิศลาหฺสมาคมบางกอกน้อย เมื่อท่านนบีละหมาดตะฮัจญุดนั้น ท่านเริ่มละหมาดด้วย 2 ร็อกอะฮฺสั้นๆ แล้วจะละหมาดต่อไปจนครบจำนวนที่ต้องการ คือ 11 ร็อกอะฮฺให้สลามทุกๆ สองร็อกอะฮฺและสุดท้ายให้ละหมาดวิตริเป็นเอกเทศ ในเดือนนรอมฏอนเรามีการละหมาดตะรอเวียะฮฺ 8 ร็อกอะฮฺ ละหมาดวิตริ 3 ร็อกอะอฺ รวม 11 ร็อกอะอฺ อยากทราบว่าเราจะละหมาดตะฮัจญุด ละหมาดวิตริอย่างไร ในเมื่อเกิน 11 ร็อกอะฮฺหรือเปล่า คำกล่าว"ที่ว่าท่านนบีไม่เคยละหมาดในเดือนรอมฎอน และเดือนอื่นๆเกินกว่า 11 ร็อกอะฮฺ" เชคช่วยอธิบายให้ละเอียดนะครับ พร้อมยกหะดิษประกอบ
2. หมาดตะฮัจญุดและละหมาดวิตริ คือ เกียญามุลรอมฎอน หมายความว่าอย่างไร เห็นเพื่อนบอกว่าเป็นการละหมาดเดียวกัน ถ้าเหมือนกันจะเหนียตอย่างไร
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
1. การละหมาดกิยามุลลัยลฺในเดือนรอมฎอน ไม่มีจำนวนจำกัด เพราะเป็นการละหมาดซุนนะฮฺทั่วไป ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ศ่อลาตุลลัยลิ มัษนา" (บันทึกโดยบุคอรียฺ) หมายถึง "การละหมาดกลางคืนทีละสองๆ" และหะดีษที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า ท่านนบีไม่เคยละหมาดกลางในเดือนรอมฎอนหรือนอกเดือนรอมฎอนมากกว่า 11 ร็อกอะฮฺนั้น ได้พูดถึงการปฏิบัติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีความประเสริฐยิ่งอย่างแน่นอนแล้ว ซึ่งจะไม่ขัดแย้งว่าละหมาด 11 ดีที่สุด แต่ต้องละหมาดเหมือนท่านนบี แต่ไม่ใช่หมายรวมว่าไม่อนุญาตให้เกิน 11 แต่อย่างใด บรรดาศ่อฮาบะฮฺที่ได้รับรู้หะดีษบทนี้ ก็เข้าใจว่าการละหมาด 11 นั้นประเสริฐอยู่แล้ว แต่พวกท่านได้ละหมาด 21 เพราะเห็นว่าการละหมาด 11 เหมือนท่านนบีต้องละหมาดยาวนานพอสมควร และอุละมาอฺ(นักปราชญ์)ทุกมัซหับก็เห็นพ้องกันว่า อนุญาตให้ละหมาดมากกว่า 11 ร็อกอะฮฺ เพราะฉะนั้นถ้าท่านละหมาด 11 หรือ 8 ร็อกอะฮฺแล้วนอนหลับพักหนึ่ง และลุกขึ้นละหมาดตะฮัจญุดตอนท้ายของกลางคืน ท่านก็สามารถกระทำได้โดยไม่เป็นบิดอะฮฺและไม่เป็นมักโรหฺแต่อย่างใด และไม่มีอุละมาอฺคนหนึ่งคนใดที่กล่าวว่าเป็นบิดอะฮฺ แต่เพียงกล่าวว่าละหมาด 11 หรือมากกว่า 11 อันใดที่จะประเสริฐกว่า
2. การละหมาดกิยามุลลัยลฺ หรือตะรอเวียะหฺ หรือตะฮัจญุด เป็นชื่อที่แตกต่างแต่เนื้อหาเดียวกัน คือ การละหมาดช่วงกลางคืน แต่ในทางภาษาอาหรับและการใช้คำศัพท์อาจแตกต่างกันในบางกรณี เพราะคำว่า "ตะฮัจญุด" รากศัพท์หมายถึง ละการนอนหลับ จึงเรียกการภายหลังนอนหลับพักผ่อนแล้วว่า "ตะฮัจญุด" แต่ถ้าหากละหมาดอิชาอฺแล้วไม่ได้นอนหลับ จึงเรียกการละหมาดตอนนั้นว่า "กิยามุลลัยลฺ" คือ ละหมาดกลางคืน ถ้าเป็นการละหมาดกลางคืนโดยญะมาอะฮฺในเดือนรอมฎอน ซึ่งจะมีการพักทุกช่วง 4 ร็อกอะฮฺ(ดังที่ศ่อฮาบะฮฺได้ปฏิบัติ) ก็จะเรียกการละหมาดนี้ว่า "ละหมาดตะรอเวียะหฺ" แต่ทั้งหมดนี้เป็นชื่อสำหรับการละหมาดกลางคืนเหมือนกัน และไม่มีผลแตกต่างกันเกี่ยวกับชื่อหรือคำศัพท์
2. คำถาม : ช่วงเวลาละหมาดตะฮัจญุดและละหมาดตัสบีหฺ คือเวลาใด
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
เวลาละหมาดตะฮัจญุดเริ่มภายหลังละหมาดอิชาอฺ ตลอดจนถึงอะซานซุบฮิ และการละหมาดตัสบีหฺ(ในทัศนะที่อนุโลม)ก็ให้ละหมาดได้ทุกเวลายกเว้น 3 เวลามักโรหฺคือ หลังละหมาดซุบฮิจนตะวันขึ้น, หลังละหมาดอัสริจนกระทั่งตะวันตก, และช่วงก่อนดวงอาทิตย์คล้อย คือเวลาซะวาล ก่อนดุฮริประมาณ 15 นาที
3. คำถาม : มัสยิดที่ใกล้ที่สุดแถวบ้าน ละหมาด 21 เราละหมาด 8 อยากรู้ว่า ระหว่างยืนละหมาดเองที่บ้าน กับไปละหมาดญะมาอะห์ร่วมกับเขา แต่เอาแค่ 8 แล้วกลับมาละหมาดวิตรเอง อย่างไหนน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด อยากได้คำแนะนำ
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
ละหมาด ที่มัสยิดที่มีการละหมาด 21 ร็อกอะฮฺดีกว่า ถ้าหากการละหมาดของเขาไม่รวดเร็วและไม่ประกอบด้วยบิดอะฮฺอื่นๆ และถ้าหากการละหมาดที่มัสยิดจะมีสภาพเรียบร้อยกว่าการละหมาดด้วยตัวเองที่ บ้านของท่าน แต่ถ้าหากท่านสามารถละหมาดที่บ้านแล้วดีกว่าที่มัสยิด หมายถึงนานกว่าและมีคุชัวะมากกว่าก็ละหมาดที่บ้านจะดีกว่า และถ้าหากที่มัสยิดมีบิดอะฮฺประกอบกับการละหมาดตะรอเวียะหฺ ท่านก็สามารถที่มัสยิดได้โดยไม่ต้องร่วมกระทำบิดอะฮฺกับเขา แต่การละหมาดที่บ้านจะดีกว่า ดังกล่าวเป็นคำตอบสำหรับการละหมาดตะรอเวียะหฺเท่านั้น
4. คำถาม : ที่มัสยิดบ้านผมพอละหมาดอิชาอฺเสร็จดุอาอฺหลังละหมาดเสร็จเขาก็ละหมาดตะรอ เวี๊ยะหฺเลย ผมเองก็เลยต้องใช้เวลาที่เขาดุอาอฺหลังละหมาดผมก็รีบละหมาดสุนัตหลังอิชา อฺเลย จะได้ทันละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺทันเขา แต่อีหม่ามเขาบอกว่าทางที่ดีไม่ควรละหมาดเพราะเขากำลังดุอาอฺกัน ใช้ละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺแทนการละหมาดสุนัตหลังอิชาอฺก็ได้ผลบุญได้เหมือนกัน และมีผู้ใหญ่บางท่านบอกว่าละหมาดสุนัตหลังอิชาอฺไม่มี แต่ที่ผมพอรู้มาคือสุนัตหลังอิชาอฺ เป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ ที่ท่านรอซูลละหมาดประจำ ขอให้ช่วยชี้แจงด้วย ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงตลอดเดือนรอมะฎอน
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
การละหมาดซุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺจะไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงใดๆเนื่องด้วยกิจกรรมการ ละหมาดตะรอเวียะหฺในเดือนรอมฎอน ก็หมายถึงยังเป็นซุนนะฮฺมุอักกะดะฮฺเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของผู้จัดการละหมาดตะรอเวียะหฺที่มัสยิดให้ปล่อย เวลาตามความเหมาะสมให้ผู้ละหมาดซุนนะฮฺสามารถมีเวลาละหมาดได้ แต่ถ้าหากผู้จัดการละหมาดตะรอเวียะหฺไม่ยอมทำ ก็มีหลายทางในการชดเชยละหมาดอิชาอฺ ดังนี้
วิธีแรก คือเข้าละหมาดตะรอเวียะหฺสองร็อกอะฮฺด้วยเหนียตว่าเป็นซุนนะฮฺของอิชาอฺ
วิธีที่ 2 ให้ละหมาดตะรอเวียะหฺให้จบ และก่อนละหมาดวิตริให้แยกตัวและละหมาดซุนนะฮฺอิชาอฺและละหมาดวิตริต่างหาก
วิธีที่ 3 ให้ละหมาดตะรอเวียะหฺรวมทั้งวิตริกับอิมามให้ครบถ้วน และละหมาดซุนนะฮฺอิชาอฺภายหลังจากนั้น
วิธีที่ 4 ให้ละหมาดวิตริร็อกอะฮฺสุดท้าย(ร็อกอะฮฺเดียว)กับอิมาม และไม่ต้องสลาม โดยลุกขึ้นใช้อีกร็อกอะฮฺหนึ่ง โดยมีเหนียตให้เป็นละหมาดซุนนะฮฺ และให้ละหมาดวิตริภายหลังจากนั้น
วิธีที่ 5 ให้ละหมาดซุนนะฮฺในช่วงที่เขากำลังซิเกรหรือขอดุอาอฺกันอยู่ก่อนละหมาดตะรอ เวียะหฺ เพราะการละหมาดซุนนะฮฺย่อมมีความสำคัญมากกว่า แต่ถ้าเป็นการรบกวนแก่เขา ก็หาทางในวิธีอื่นๆก็ได้
ที่ดีที่สุดในทัศนะของผม ให้ละหมาดตะรอเวียะหฺสองร็อกอะฮฺแรกด้วยเหนียตเป็นซุนนะฮฺ สำหรับส่วนร็อกอะฮฺที่จะขาดไป ท่านก็สามารถชดเชยได้หลังวิตริ หรือเพิ่มเติมกับวิตริร็อกอะฮฺเดี่ยวดังที่ระบุข้างต้น หรือไม่ต้องชดเชยก็ได้ เพราะท่านนบีก็เคยละหมาดกิยามุลลัยล์ 9 ร็อกอะฮฺ
5. คำถาม : หลังละหมาดวิตริแล้ว เราสามารถละหมาดตะฮัจญุดหรือละหมาดซุนนะฮฺอื่นๆ ได้หรือไม่ ซุนนะฮฺท่านนบีมีที่ว่า "ท่านทั้งหลายจงให้การละหมาดวิตรเป็นการละหมาดครั้งสุดท้ายของพวกท่านในเวลา กลางคืน" แสดงว่าเมื่อละหมาดวิตรหลังละหมาดตะรอเวียะฮฺในญะมาอะฮฺรอมฏอนแล้วไม่สามารถ ตื่นขึ้นมาละหมาดซุนนะฮฺตะฮัจญุดได้ซิ
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
ไม่ใช่ครับ การละหมาดซุนนะฮฺทั่วไปย่อมเป็นสิทธิของผู้ทำอิบาดะฮฺโดยไม่จำกัด แม้กระทั่งการละหมาดวิตริก็เช่นกัน การที่ท่านนบีได้กล่าวว่า
"อิจญฺอะลู อาคิเราะศ่อลาติกุม บิลลัยลิ วิตรอน" หมายถึง "พวกเจ้าจงให้การละหมาดสุดท้ายในกลางคืนคือละหมาดวิตริ"
นั่นหมายรวมถึงรูปแบบที่สมบูรณ์และดีที่สุด แต่ไม่ได้หมายรวมว่าวาญิบต้องปฏิบัติเช่นนั้น ที่กล่าวเช่นนี้เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็เคยแนะนำศ่อฮาบะฮฺหลายท่านให้ละหมาดวิตริก่อนนอนหลับ เพื่อความเข้มแข็งในการละหมาดวิตริ หากมีความประสงค์หรือโอกาสที่จะตื่นกลางคืนเพื่อละหมาดตะฮัจญุด ก็กระทำได้ตามเอกสิทธิ์ของผู้ปฏิบัติซุนนะฮฺ และมีหลักฐานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดซุนนะฮฺ 2 ร็อกอะฮฺหลังละหมาดวิตริ อันเป็นหลักฐานยืนยันว่าการละหมาดวิตริมิได้เป็นข้อห้ามมิให้ละหมาดซุนนะ ฮฺกลางคืนต่อไปแต่อย่างใด ดังนั้นใครเกรงว่าจะไม่สามารถลุดขึ้นกลางคืนเพื่อละหมาดตะฮัจญุดจึงละหมาดวิ ตริก่อนนอนหลับ และเกิดตื่นกลางคืนก็สามารถได้ เป็นเอกฉันท์(อิจญฺมาอฺ)ระหว่างอุละมาอฺทั้งปวง
6. คำถาม : มีเรื่องขอสอบถามเชคครับด่วนนิดนึงครับ เนื่องจากในช่วงรอมฎอนนี้มีการละหมาดตะรอเวี้ยะหฺและมีหลายๆที่จัดละหมาดโดย ที่มีการอ่านที่ค่อนข้างนานพอสมควรหมายถึงทบทวนอัลกุรอ่านทั้งเล่ม คำถามคือ ผมสามารถที่จะนำกุรอ่านมาเปิดดูโดยที่อิหม่ามเป็นผู้อ่านนำในเวลาละหมาดได้ หรือไม่ครับ
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
ไม่สมควรสำหรับมะอฺมูมที่จะถืออัลกุรอานขณะตามอิมามอยู่ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่มีความจำเป็น และไม่มีแบบฉบับจากนบีและศ่อฮาบะฮฺ หากถ้าเป็นอิมามหรือละหมาดคนเดียวก็อนุโลมให้ถืออัลกุรอานได้ เพราะมีแบบฉบับจากศ่อฮาบะฮฺ สำหรับอุละมาอฺส่วนมากก็ได้เห็นว่าการถืออัลกุรอานสำหรับมะอฺมูมนั้นย่อม เป็นสิ่งที่มักรูหฺ และมีทัศนะบางทัศนะที่เห็นว่าเป็นหะรอมและอาจถึงขั้นทำให้การละหมาดเสียหาย ด้วย เพราะฉะนั้น เราพยายามเตรียมพร้อมซึ่งสมาธิในการสดับฟังอัลกุรอานจากอิมามและคำนึงถึงว่า ที่เรากำลังได้ยินนั้นเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺ จึงจะช่วยให้มีคุชูอฺโดยไม่ต้องถืออัลกุรอาน
การถือศีลอด
7. คำถาม : อัสลามมุอะลัยกุม ผมมีปํญหาที่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับการถือศีลอด คือ ผมใส่คอนเทคเลนส์แล้วต้องหยอดนําตาเทียม ทำให้เสียศีลอดหรือไม่ รบกวนช่วยตอบด้วยครับ
คำตอบ
8. คำถาม : ตอนนี้อยู่ในช่วงให้นมบุตร (อายุประมาณ7-8เดือน) ทานนมแม่มาตลอด และตั้งใจจะให้นมแม่ไปเรื่อยจน2ปี ตอนนี้ทานข้าวมื้อเที่ยงและเย็น แต่ทานได้น้อย-น้อยมาก นมขวดเพิ่งให้บ้างแต่ดูท่าทางไม่ค่อยชอบนัก รอมฎอนนี้ตั้งใจจะถือบวชซึ่งจะมีผลให้น้ำนมน้อยลง ไม่ทราบว่า เงื่อนไขที่อนุญาตให้หญิงให้นมบุตรนั้นละเว้นการถือบวชได้นั้น มีว่าอย่างไรคะและไม่ทราบว่ากรณีของหนูอยู่ในเงื่อนไขหรือเปล่า
คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
การที่จะรู้ว่าอาจมีปัญหาต่อสุขภาพของตนหรือ ของบุตร ก็ขึ้นอยู่ที่ความมั่นใจหรือการวินิจฉัยของตน ที่จะให้น้ำหนักกับความเกรงกลัวต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่จะดีกว่าถ้าท่านปรึกษาแพทย์มุสลิมที่เชี่ยวชาญในกรณีของท่าน ถ้าให้คำวินิจฉัยว่าอันตรายก็ย่อมมีน้ำหนักในการตัดสินว่าควรถือศีลอดหรือ ไม่ ถ้าท่านสงสัยว่าอาจมีอันตรายหรือไม่มี โดยน้ำหนักเท่าเทียม ก็ควรทดลองถือศีลอดไปก่อน ถ้าพบว่าสุขภาพเริ่มจะเสื่อมเสียหรืออ่อนเพลีย ก็จงระงับการถือศีลอดเสีย เพราะศาสนามิต้องการให้ท่านมีความลำบาก
แต่ถ้ ท่านเกรงว่านมแม่จะลดลงแต่ไม่มีผลกระทบร้ายแรงหรืออันตรายใดๆต่อท่านหรือ บุตรของท่าน หมายถึง สามารถถือศีลอดได้อย่างสะดวกโดยไม่มีปัญหาใดๆเลย ก็จำเป็นต้องถือศีลอด
ริฎอ อะหมัด สมะดี
9. คำถาม : มีเพื่อนที่ไม่ใช่มุสลิมมาเยี่ยมเราและพักอยู่กับเราระยะหนึ่งในเดือนรอมฎอน และในขณะเดียวกันมีคนนำอาหารมาให้เราเพื่อละศีลอด(หรือเชิญเราไปละศีลอดที่ บ้านเขา) อยากทราบว่าอาหารนั้นเราจะให้เพื่อนที่ไม่ใช่มุสลิมทานด้วยได้หรือไม่ ญะซากัลลอฮฺค็อยรอน
10. คำถาม : การกลืนน้ำลายขณะถือศีลอด เราสามารถกลืนได้หรือไม่ได้กันแน่คะ อยากทราบความกระจ่างที่ชัดเจนค่ะ
คำตอบ
"วะก๊อดฟัศศ่อละละกุม มาฮัรรอมาอะลัยกุม" หมายถึง "พระองค์อัลลอฮฺทรงระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อห้าม(ที่พวกเจ้าต้องหลีกเลี่ยง)"
"วะสะกะตะอันอัชญาอิน มินฆ็อยรินิสยานิน ฟะลาตัสอะลุอันฮา" หมายความว่า "อัลลอฮฺทรงเฉยต่อบางสิ่งบางอย่าง โดยที่พระองค์ไม่ทรงลืมหรือเผลอ ดังนั้นพวกเจ้าอย่าสอบถามในสิงนั้น" จากตัวบทข้างต้นทั้งหมดจะได้ข้อสรุปว่า การกลืนน้ำลายไม่มีรายละเอียดในตัวบทให้เห็นว่าเป็นข้อห้ามที่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะฉะนั้นไม่ควรเคร่งครัดในสิ่งที่ศาสนาไม่ได้ใช้ให้เคร่งครัด
11. คำถาม : เราสามารถที่จะแปรงฟันในตอนกลางวันที่เราถือศีลอดได้รึป่าวค่ะ
"วะบาลิฆฟิลมัดมะดอติ อิลลาอันตะกูนะ ซออิมา" หมายความว่า "และจงกลั้วน้ำในปาก(ตอนอาบน้ำละหมาด)ยกเว้นกรณีที่ท่านได้ถือศีลอด"
6 ต.ค. 48
ดูคำถามเพิ่มเติมได้ที่หน้า รอมฎอนกะรีม
- Log in to post comments
- 270 views