หะดีษ 12-2 ส่วนหนึ่งจากความดีแห่งอิสลาม คือละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

Submitted by dp6admin on Mon, 01/03/2010 - 08:58
หัวข้อเรื่อง
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 53 (หะดีษที่ 12/2)
- รักษาลิ้นเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุด
- มุอ๊าซถามท่านนบีว่า "เราจะถูกสอบสวนลงโทษในสิ่งที่เราพูดหรือ ?"
- ความประเสริฐของการรักษาลิ้น
- คำแนะนำเมื่อเจ็บป่วย อย่าบ่นมาก
- ทบทวนชีวิตก่อนจะถึงวาระสุดท้าย
*** ตรวจสอบตัวเราดูว่าทำสิ่งที่มีประโยชน์สร้างสรรค์ไหม ? ขาดทุนมั้ย ? ***
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
10.60 mb
ความยาว
83.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

วันศุกร์ที่ 19  กุมภาพันธ์ 2553 / บ้านทองทา บางกอกน้อย

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ  قَالَ :  قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : (( مِنْ حُسْنِ إِسْلاَمِ الْمَرْءِ تَرْكُهُ مَا لاَ يَعْنِيهِ  ))  حَدِيْثٌ حَسَنٌ ، رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَغَيْرُهُ هكَذَا .

จากอบูฮุร็อยเราะฮ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  กล่าวว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งจากความดีแห่งอิสลามในคน ๆ หนึ่งนั้นคือ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เขา” หะดีษหะซัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์และอื่น ๆ
 

حفظ اللسان هو المقصود الأعظم
รักษาลิ้นเป็นเป้าหมายใหญ่ที่สุด

وأكثر ما يُراد بترك ما لا يعني حفظ اللسان من لغو الكلام كما أشير إلى ذلك في الآيات الأولى التي هي في سورة (ق) .وفي " المسند " من حديث الحسين ، عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - قال : (( إنَّ من حُسْنِ إسلام المَرءِ قِلَّةَ الكَلامِ فيما لا يَعنيه)).

- สิ่งที่หะดีษบทนี้แนะนำ คือ ละทิ้งทุกสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหะรอม มุชตะบิฮาต น่ารักเกียจ(มักรูหฺ) หรือเรื่องอนุโลมที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นก็จะไม่เกี่ยวข้อง
อิบนุร่อจับเห็นว่าหะดีษนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ รักษาลิ้น อย่าเอาลิ้นไปเกี่ยวข้อง คนส่วนมากไม่ระวังลิ้น
- มลาอิกะฮฺ ร่อกี๊บ-อะตี๊บ คอยบันทึกทุกความเคลื่อนไหวของทุกคน
- ท่านนบีกล่าวว่า "สิ่งหนึ่งที่เป็นความดีในอิสลามของคนหนึ่งคือ พูดน้อยในส่วนที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง(ไม่มีประโยชน์แก่เขา)"
22.1 - ความรู้คือจุดเดียว คนโง่เขลาทำให้มันมีหลายจุด

 وقال عمر بنُ عبد العزيز - رَحِمه الله - : من عدَّ كلامه من عمله ، قلَّ كلامُه إلا فيما يعنيه . وهو كما قال ؛ فإنَّ كثيراً من الناس لا يعدُّ كلامَه من عمله ، فيُجازف فيه ، ولا يتحرَّى ، وقد خَفِيَ هذا على معاذ بن جبل حتى سأل عنه النَّبيَّ - صلى الله عليه وسلم - فقال : أنؤاخذ بما نتكلَّمُ به ؟ قال : (( ثَكِلَتكَ أُمُّك يا معاذ ، وهل يكبُّ الناسَ على مناخرهم في النار إلا حصائدُ ألسنتهم ))
وقد نفى الله الخير عن كثيرٍ مما يتناجى به الناسُ بينهم ، فقال : { لا خَيْرَ فِي كَثِيرٍ مِنْ نَجْوَاهُمْ إِلاَّ مَنْ أَمَرَ بِصَدَقَةٍ أَوْ مَعْرُوفٍ أَوْ إِصْلاحٍ بَيْنَ النَّاس }  .

26.3 - อุมัร อิบนุอับดิลอะซีซ "ใครที่นับคำพูดของเขา โดยเทียบกับการกระทำ (พูดเท่าไหร่ ทำเท่าไหร่) เขาจะไม่พูด เว้นแต่สิ่งที่น่าจะมีประโยชน์และปฏิบัติได้" (จะรู้คุณค่าของคำพูด)
- การบอยคอต
- การค้าขายโดยมีเงื่อนไขว่า จับอะไรในร้านถือว่าซื้อแล้ว
- มนุษย์ส่วนมากไม่ระวังคำพูด
- มุอ๊าซถามท่านนบีว่า "เราจะถูกสอบสวนลงโทษในสิ่งที่เราพูดหรือ ?"
- คนหนึ่งอาจจะพูดคำเดียว ทำให้ตกนรก 70 ปี
- การลงโทษด้วยการจำคุก
- ผลร้ายของลิ้น การใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น, ยิวใส่ร้ายอัลลอฮฺ ฯลฯ
- ส่วนมากที่ผู้คนพูดคุยกันนั้นไม่มีความดี ยกเว้นผู้คนที่ใช้กันให้บริจาค
4:114 ไม่มีความดีใด ๆ ในการพูดซุบซิบอันมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำงานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คนเท่านั้น
- ลิ้นเสมือนเป็นแม่ทัพ จะนำเราไปสู่ความดีหรือความชั่ว

فضل حفظ اللسان
57.3 ความประเสริฐของการรักษาลิ้น

قال عمرو بنُ قيس الملائي : مرَّ رجلٌ بلقمان والناسُ عندَه ، فقال له : ألستَ عبدَ بني فلان ؟ قال : بلى ، قال : الذي كنت ترعى عندَ جبلِ كذا وكذا ؟ قال : بلى ، قال : فما بلغ بك ما أرى ؟ قالَ : صِدْقُ الحديثِ وطولُ السُّكوت عما لا يعنيني .

- อัลลอฮฺทรงให้ลุกมานมีฮิกมะฮฺ (ทำสิ่งต่างๆอย่างเหมาะสม), การพูดจริงและนิ่งเฉยในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง

وقال وهبُ بنُ مُنبِّهٍ : كانَ في بني إسرائيل رجلان بلغت بهما عبادتهما أنْ مشيا على الماء ، فبينما هما يمشيان في البحر إذ هما برجل يمشي على الهواء ، فقالا لهُ : يا عبدَ الله بأيِّ شيء أدركت هذه المنزلة ؟ قال : بيسيرٍ من الدُّنيا : فَطَمْتُ نفسي عن الشهوات ، وكففتُ لساني عما لا يعنيني ، ورغبتُ فيما دعاني إليه ، ولزمت الصمتَ ، فإنْ أقسمتُ على الله ، أبرَّ قسمي ، وإنْ سألته أعطاني.

- วะฮบฺ อิบนุมุนับบิหฺ (ชาวยิวที่เข้ารับอิสลาม) - สองคนที่อัลลอฮฺให้มีกะรอมะฮฺเดินบนน้ำได้...
- คนซอลิหฺคนหนึ่ง - ฉันอบรมจิตใจให้ห่างจากความใคร่และกิเลส ระงับลิ้นในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง ปรารถนาในสิ่งที่อัลลอฮฺเรียกร้อง (ชอบในสิ่งที่อัลลอฮฺใช้)
- คนที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺคือ ประเภทที่มีความรู้และทำอิบาดะฮฺมาก และ คนที่ขยันทำอิบาดะฮฺ แม้ไม่มีความรู้ แต่ก็พึ่งพาผู้รู้
- คนที่อัลลอฮฺโกรธ ทำอิบาดะฮฺมาก โดยไม่มีความรู้ และไม่พึ่งพาผู้รู้

دخلوا على بعض الصحابة في مرضه ووجهه يتهلَّلُ ، فسألوه عن سبب تهلل    وجهه ، فقال: ما مِنْ عمل أوثقَ عندي من خَصلتين: كنت لا أتكلم فيما لا يعنيني، وكان قلبي سليماً للمسلمين .

- ตาบิอีนได้ไปหาศ่อฮาบะฮฺขณะท่านป่วย แต่ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อตาบิอีนถาม ท่านก็ตอบว่า "ฉันสบายใจ เพราะไม่มีอะมั้ลใดที่ฉันเชื่อมั่นว่ามีประโยชน์แก่ฉันคือ ฉันไม่เคยพูดในสิ่งที่ฉันไม่ทำ และหัวใจของฉันบริสุทธิ์ต่อพี่น้องมุสลิม
- คำแนะนำเมื่อเจ็บป่วย อย่าบ่นมาก 
- ทบทวนชีวิตก่อนจะถึงวาระสุดท้าย
- เมื่ออิมามอะหมัดป่วย วะกีอฺ(อาจารย์ของอิมามชาฟิอี)ได้ไปเยี่ยมท่านและตักเตือนว่า "โอ๊ย" จะถูกบันทึก
- เมื่อสะดุดล้ม ให้กล่าว "บิสมิลลาฮฺ" (ชัยฏอนไม่ชอบ) อย่าแช่งชัยฏอน (อาหรับชอบทำ)

وقال مُوَرِّق العجلي : أمرٌ أنا في طلبه منذ كذا وكذا سنة لم أقدِرْ عليه ولستُ بتاركٍ طلبه أبداً ، قالوا : وما هو ؟ قالَ : الكفُّ عما لا يعنيني . رواه ابن أبي الدنيا .
وروى أبو عبيدة ، عن الحسن قال : مِنْ علامة إعراض الله تعالى عن العبد أنْ يجعل شغله فيما لا يعنيه . وقال سهل بنُ عبد الله التُّسترِي : من تكلم فيما لا يعنيه حُرِم الصدق ، وقال معروف : كلام العبد فيما لا يعنيه خذلان من اللهِ - عز وجل -.

- อัลหะซัน - สัญลักษณ์ว่าอัลลอฮฺไม่เอาใจใส่คนๆหนึ่งคือ ทำให้เขาไปยุ่งกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
- ซะฮลฺ อิบนุอับดิลลาฮฺ - คนที่ชอบพูดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง อัลลอฮฺจะไม่ให้เขามีสัจจะ
- มะอฺรูฟ - คำพูดของบ่าวคนหนึ่งในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์สำหรับเขา ถือว่าอัลลอฮฺไม่คุ้มครองสนับสนุนเขา
*** ตรวจสอบตัวเราดูว่าทำสิ่งที่มีประโยชน์สร้างสรรค์ไหม ? ขาดทุนมั้ย ? ***
 

WCimage
หะดีษ 12-2 ส่วนหนึ่งจากความดีแห่งอิสลาม คือละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์