- เป็นหะดีษรากฐาน (หลัก,ใหญ่,สำคัญ) ของ "จริยธรรมมารยาทอิสลาม"
- ภาพลักษณ์ของมารยาทแห่งความดีและสิ่งที่จะรวบรวม(กำชับ)มารยาทอันดีทั้งหมดของมารยาทอิสลาม มันจะงอกมาจากหะดีษ 4 บท
อธิบายหะดีษจากญามิอุลอุลูมวัลหิกัม หะดีษที่ 12
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553/ บ้านทองทา บางกอกน้อย
عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : (( مِنْ حُسْنِ إِسْلاَمِ الْمَرْءِ تَرْكُهُ مَا لاَ يَعْنِيهِ )) حَدِيْثٌ حَسَنٌ ، رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَغَيْرُهُ هكَذَا .
จากอบูฮุร็อยเราะฮ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
“ส่วนหนึ่งจากความดีแห่งอิสลามในคน ๆ หนึ่งนั้นคือ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เขา” หะดีษหะซัน บันทึกโดยอัตติรมิซีย์และอื่น ๆ
- มีอุละมาอฺบางท่านเห็นว่าเป็นหะดีษมุรซัล (สายรายงานไม่ถึงท่านนบี) -- วิเคราะห์สายรายงานหะดีษ อิบนุร่อจับสรุปว่า สายรายงานศ่อฮี้ฮฺทั้งหมดไม่ถึงศ่อฮาบะฮฺ แต่ก็เป็นหะดีษสำคัญในด้านจรรยายมารยาทอิสลาม มีบันทึกในอิมามหลายท่าน
- อัลมัรอุ - คนหนึ่งคนใด / ยะอฺนี - ประโยชน์
من أصول الآداب والآخلاق
- เป็นหะดีษรากฐาน (หลัก,ใหญ่,สำคัญ) ของ "จริยธรรมมารยาทอิสลาม"
وهذا الحديث أصلٌ عظيم من أصول الأدب ، وقد حكى الإمامُ أبو عمرو بن الصلاح ، عن أبي محمد بن أبي زيد إمام المالكية في زمانه أنَّه قال : جماعُ آداب الخير وأزمته تتفرَّعُ من أربعة أحاديث : قول النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - : ((مَنْ كَانَ يُؤمنُ باللهِ واليومِ الآخر فليَقُلْ خيراً أو ليَصْمُتْ))، وقوله - صلى الله عليه وسلم - : (( مِنْ حُسْنِ إسلامِ المَرءِ تَركُهُ ما لا يَعْنِيهِ ))، وقوله للذي اختصر له في الوصية : ((لا تَغْضَبْ)) ، وقوله - صلى الله عليه وسلم -: (( المُؤْمِنُ يُحبُّ لأخيه ما يُحبُّ لنفسه )) .
- ภาพลักษณ์ของมารยาทแห่งความดีและสิ่งที่จะรวบรวม(กำชับ)มารยาทอันดีทั้งหมดของมารยาทอิสลาม มันจะงอกมาจากหะดีษ 4 บท
1- ท่านนบีกล่าวว่า "ใครที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก ก็จงกล่าวสิ่งที่ดีๆ หรือนิ่งเฉย"
2- “ส่วนหนึ่งจากความดีแห่งอิสลามในคนๆ หนึ่งนั้นคือ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เขา”
3- นบีสรุปให้คนแก่คนที่ขอคำสั่งเสียคือ "ท่านอย่าโมโห"
4- "ผู้ศรัทธาจะชอบให้แก่พี่น้องเขา ในสิ่งที่ตนเองชอบ"
4 หะดีษนี้ครอบคลุมมารยาททั้งหมดในอิสลาม -- เชคอธิบาย 4 หะดีษนี้โดยสรุป
- หะดีษเกี่ยวกับมารยาทอิสลามมีมากมาย
- "ท่านอย่าโมโห" (หมายถึงในเรื่องดุนยา) แต่เรื่องที่ท่านนบีจะโมโห คือเรื่องที่ผิดหลักการศาสนา
معنى الحديث
ความหมายของหะดีษนี้
ومعنى هذا الحديث : أنَّ مِنْ حسن إسلامه تَركَ ما لا يعنيه من قولٍ وفعلٍ، واقتصر على ما يعنيه من الأقوال والأفعال ، ومعنى يعنيه : أنْ تتعلق عنايتُه به ، ويكونُ من مقصده ومطلوبه ، والعنايةُ : شدَّةُ الاهتمام بالشيء ، يقال : عناه يعنيه : إذا اهتمَّ به وطلبه ، وليس المُراد أنَّه يترك ما لا عناية له به ولا إرادة بحكم الهوى وطلب النفس ، بل بحكم الشرع والإسلام ، ولهذا جعله من حسن الإسلام ، فإذا حَسُنَ إسلامُ المرء ، ترك ما لا يعنيه في الإسلام من الأقوال والأفعال ، فإنَّ الإسلامَ يقتضي فعل الواجبات كما سبق ذكره في شرح حديث جبريل - عليه السلام –.وإنَّ الإسلام الكاملَ الممدوحَ يدخل فيه تركُ المحرمات ، كما قال - صلى الله عليه وسلم -: (( المسلمُ مَنْ سَلِمَ المسلمون من لسانه ويده )).
- ส่วนหนึ่งของความดีในอิสลามคือการละทิ้งสิ่งที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นวาจาหรือพฤติกรรม เอาใจใส่สนใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
- "ประโยชน์ (ยะอฺนี)" ในหะดีษนี้คืออะไร ?
-- นามของมันคือ "อินายะฮฺ" คือ สนใจในเรื่องนี้อย่างมากมาย
-- ไม่ใช่ละทิ้ง ในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ ไม่ได้ใช้อารมณ์(หะวา) แต่ละทิ้งสิ่งที่ศาสนาไม่ชอบ ตามชะรีอะฮฺ (บทบัญญัติอิสลาม)
-- ถ้าอิสลามของเขาดีแล้ว เขาจะละทิ้งสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ (อิสลามก่อประโยชน์แก่เขา, อิสลามครบถ้วนสมบูรณ์)
-- เรียนศาสนา มีประโยชน์ไหม ?
- หะดีษจิบรีล (อิสลามมีอะไรบ้าง)
- มุสลิมที่สมบูรณ์คือผู้ที่บรรดามุสลิมีนปลอดภัยจากลิ้นและมือของเขา
ما يرشد إليه الحديث
สิ่งที่หะดีษบทนี้แนะนำ
وإذا حسن الإسلامُ ، اقتضى ترك ما لا يعني كله من المحرمات والمشتبهات والمكروهات ، وفضول المباحات التي لا يحتاج إليها ، فإنَّ هذا كله لا يعني المسلم إذا كمل إسلامهُ ، وبلغ إلى درجة الإحسان ، وهو أنْ يَعْبُدَ الله تعالى كأنَّه يراه ، فإنْ لم يكن يراه ، فإنَّ الله يراه ، فمن عبد الله على استحضار قربه ومشاهدته بقلبه ، أو على استحضار قرب الله منه واطلاعه عليه ، فقد حسن إسلامه ، ولزم من ذلك أنْ يترك كل ما لا يعنيه في الإسلام ، ويشتغل بما يعنيه فيه ، فإنَّه يتولَّدُ من هذين المقامين الاستحياءُ من الله وترك كلِّ ما يُستحيى منه ، كما وصَّى - صلى الله عليه وسلم - رجلاً أنْ يستحيي من الله كما يستحيي من رجل من صالحي عشيرته لا يُفارقه .
47.16 - ถ้าอิสลามของเราดีแล้ว อิสลามที่ดีจะเรียกร้องให้เราละเว้นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหะรอม มุชตะบิฮาต น่ารักเกียจ(มักรูหฺ) หรือเรื่องอนุโลมที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นก็จะไม่เกี่ยวข้อง
- ถ้ามุสลิมบรรลุตำแหน่งอิหฺซาน (อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเสมือนเห็นพระองค์ หรือพระองค์เห็นเขา มองเห็นอัลลอฮฺด้วยหัวใจ) เห็นสิ่งที่อัลลอฮฺใช้ให้ทำ คนเหล่านี้อิสลามของเขาดียิ่ง ซึ่งจำต้องละเว้นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในอิสลาม และไปทุ่มเทในสิ่งที่มีประโยชน์ -- เหล่านี้ทำให้เกิดมารยาทสำคัญคือ "ความละอายต่ออัลลอฮฺ"
- ดังที่ท่านนบีสั่งเสียชายคนหนึ่งให้มีความละอายต่ออัลลอฮฺ เสมือนมีความละอาย(เกรงใจ)ต่อผู้ใหญ่(หรือคนซอลิหฺ)ในหมู่พวกท่าน
وفي " المسند " والترمذي عن ابن مسعود مرفوعاً : (( الاستحياء من الله تعالى أنْ تَحْفَظَ الرَّأْسَ وما حَوَى ، وتَحفَظَ البَطنَ وما وَعَى ، ولْتَذْكُرِ الموتَ والبِلى ، فمن فَعَل ذلك ، فقد استحيَى من الله حقَّ الحياء )). قال بعضهم : استحي من الله على قدر قربه منك ، وخَفِ الله على قدر قدرته عليك .
وقال بعضُ العارفين : إذا تكلمتَ فاذْكُر سَمعَ اللهِ لك ، وإذا سكتَّ فاذكر نظره إليك .
1.00 ท่านนบีกล่าวว่า "ความละอาย(เกรงใจต่ออัลลอฮฺ)คือ รักษาสิ่งที่อยู่ในสมอง มิให้สิ่งโสโครกเข้าไปอยู่ในนั้น และรักษาสิ่งที่อยู่ในท้อง อย่าเอาอะไรที่โสโครก(หะรอม)ไปฝากในกระเพาะ ให้รำลึกถึงความตายและการสูญสลายของศพในกุโบร์ (จะเป็นอาหารของใคร) ใครที่มีสามประการนี้ ก็ถือว่าละอายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง"
- จงละอายต่ออัลลอฮฺ ให้เท่ากับที่ท่านรู้สึกว่าอัลลอฮฺใกล้ชิดกับท่าน จงยำเกรง(เกรงกลัว)อัลลอฮฺ เท่ากับอำนาจของอัลลอฮฺที่มีต่อท่าน
وقال بعضُ العارفين : إذا تكلمتَ فاذْكُر سَمعَ اللهِ لك ، وإذا سكتَّ فاذكر نظره إليك .
ถ้าท่านพูด จงรำลึกว่าอัลลอฮฺกำลังได้ยินท่าน
ถ้าท่านนิ่ง ก็จงรำลึกว่าอัลลอฮฺกำลังมองท่านอยู่
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 243 views
