หลักการที่หนึ่ง...ให้เกิดความรู้สึกที่มีความปรารถนาต่ออัลลอฮฺ
القاعدة الأولى (بعث واستثارة الشوق إلى الله)
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกปรารถนาต่ออัลลอฮฺ
- พินิจใคร่ครวญถึงพระนามของอัลลอฮฺอันวิจิตรและคุณลักษณะที่สูงส่งของพระองค์
- พินิจใคร่ครวญในความกรุณาและความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
- เสียใจต่อวันเวลาที่ผ่านพ้นไปโดยไม่ทำความดีต่ออัลลอฮฺ
- นึกถึงบรรดาผู้ที่รุดหน้าเราในเรื่องความดีงาม โดยที่เรายังคงล่าช้าและนั่งนิ่งอยู่
หลักการที่สอง...รู้ถึงความประเสริฐและความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีอยู่ในเดือนนี้ ซึ่งเป็นโอกาสของปวงบ่าวที่จะไขว่คว้ามัน
القاعدة الثانية (معرفة فضل المواسم ومنة الله فيها وفرصة العبد منها)
ท่านอัล-หะสัน อัล-บัศรีย์ ที่ว่า “ไม่มีวันใดที่เคลื่อนผ่านไปจากลูกหลานอาดัม นอกจากมันจะกล่าวขึ้นว่า โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย ข้าคือวันใหม่ และจะเป็นสักขีพยานต่อการงานของเจ้า เมื่อข้าได้จากเจ้าไปแล้ว ข้าจะไปหวนกลับมาหาเจ้าอีก ดังนั้นเจ้าจงสะสางการงานตามแต่เจ้าประสงค์ แล้วเจ้าจะพบมันอยู่เบื้องหน้าเจ้า และจงละเลยการงานตามแต่เจ้าประสงค์ เพราะมันจะไม่หวนกลับมาหาเจ้าอีกตลอดกาล”
หลักการที่สาม...ตั้งใจและมุ่งมั่นฝึกฝนทำความดี
القاعدة الثالثة (تمارين العزيمة والهمة)
การถือศีลอดซุนนะฮฺในเดือนชะอฺบานย่อมเป็นการสร้างพลังศรัทธาให้การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนมีความง่ายดายมากขึ้น เฉกเช่นที่การฝึกฝนในการปฏิบัติสุนัตต่างๆก็จะเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่การปฏิบัติสิ่งที่เป็นฟัรฎูได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน
หลักการที่สี่...ละเลิกจากความเกียจคร้านและปลีกตัวออกห่างจากคนที่เกียจคร้าน แล้วคบกับคนที่มีความตั้งใจทำความดี
القاعدة الرابعة (نبذ البطالة والبطالين ومصاحبة ذوي الهمم)
﴿ وَٱصۡبِرۡ نَفۡسَكَ مَعَ ٱلَّذِينَ يَدۡعُونَ رَبَّهُم بِٱلۡغَدَوٰةِ وَٱلۡعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجۡهَهُۥۖ وَلَا تَعۡدُ عَيۡنَاكَ عَنۡهُمۡ تُرِيدُ زِينَةَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ وَلَا تُطِعۡ مَنۡ أَغۡفَلۡنَا قَلۡبَهُۥ عَن ذِكۡرِنَا وَٱتَّبَعَ هَوَىٰهُ وَكَانَ أَمۡرُهُۥ فُرُطٗا ٢٨ ﴾ [الكهف: ٢٨]
ความว่า “และจงอดทนต่อตัวของเจ้า ร่วมกับบรรดาผู้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ทั้งยามเช้าและยามเย็นโดยปรารถนาความโปรดปรานของพระองค์ และอย่าให้สายตาของเจ้าหันเหออกไปจากพวกเขา ขณะที่เจ้าประสงค์ความสวยงามแห่งชีวิตของโลกนี้ และเจ้าอย่าเชื่อฟังผู้ที่เราทำให้หัวใจของเขาละเลยจากการรำลึกถึงเรา และปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของเขา และกิจการของเขาพินาศสูญหาย” (สูเราะฮฺอัลกะฮฺฟิ : 28)
แปลสรุปจากหนังสือ “القواعد الحسان في أسرار الطاعة والاستعداد لرمضان / الشيخ رضا أحمد صمدي โดย อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 84 views