สไลด์ประกอบการบรรยาย
อายะฮฺ 111-120
เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
28 กันยายน 2547
وَقَالُواْ لَن يَدْخُلَ الْجَنَّةَ إِلاَّ مَن كَانَ هُوداً أَوْ نَصَارَى تِلْكَ أَمَانِيُّهُمْ قُلْ هَاتُواْ بُرْهَانَكُمْ إِن كُنتُمْ صَادِقِينَ ﴿١١١﴾
111. และพวกเขากล่าวว่า จะไม่มีใครเข้าสวรรค์เลย นอกจากผู้ที่เป็นยิวหรือเป็นคริสเตียนเท่านั้น นั่นคือความเพ้อฝันของพวกเขา จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า พวกท่านจงนำหลักฐานของพวกท่านมา ถ้าพวกท่านเป็นผู้พูดจริง
بَلَى مَنْ أَسْلَمَ وَجْهَهُ لِلّهِ وَهُوَ مُحْسِنٌ فَلَهُ أَجْرُهُ عِندَ رَبِّهِ وَلاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ ﴿١١٢﴾
112. หาใช่เช่นนั้นไม่ ผู้ใดที่มอบใบหน้าของเขาให้แก่อัลลอฮฺ และขณะเดียวกัน เขาก็เป็นผู้กระทำความดีแล้วไซร้ เขาจะได้รับรางวัลของเขา ณ ที่พระเจ้าของเขา และไม่มีความกลัวใด ๆ แก่พวกเขา และทั้งพวกเขาก็จะไม่เสียใจ
وَقَالَتِ الْيَهُودُ لَيْسَتِ النَّصَارَى عَلَىَ شَيْءٍ وَقَالَتِ النَّصَارَى لَيْسَتِ الْيَهُودُ عَلَى شَيْءٍ وَهُمْ يَتْلُونَ الْكِتَابَ كَذَلِكَ قَالَ الَّذِينَ لاَ يَعْلَمُونَ مِثْلَ قَوْلِهِمْ فَاللّهُ يَحْكُمُ بَيْنَهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ فِيمَا كَانُواْ فِيهِ يَخْتَلِفُونَ ﴿١١٣﴾
113. และชาวยิวกล่าวว่า ชาวคริสต์นั้นมิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด และชาวคริสต์ก็กล่าวว่า ชาวยิวก็มิได้ตั้งอยู่บนสิ่งใด ทั้ง ๆ ที่เขาเหล่านั้นอ่านคัมภีร์กันอยู่ ในทำนองเดียวกัน บรรดาผู้ที่ไม่รู้ก็ได้กล่าวเช่นเดียวกับคำกล่าวของพวกเขา ดังนั้นในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺจะทรงตัดสินระหว่างพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน
وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّن مَّنَعَ مَسَاجِدَ اللّهِ أَن يُذْكَرَ فِيهَا اسْمُهُ وَسَعَى فِي خَرَابِهَا أُوْلَـئِكَ مَا كَانَ لَهُمْ أَن يَدْخُلُوهَا إِلاَّ خَآئِفِينَ لهُمْ فِي الدُّنْيَا خِزْيٌ وَلَهُمْ فِي الآخِرَةِ عَذَابٌ عَظِيمٌ ﴿١١٤﴾
114. และใครเล่าจะเป็นผู้อธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่หวงห้ามบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺ ในการที่พระนามของพระองค์จะถูกกล่าวในมัสยิดเหล่านั้น และพยายามในการทำลายมัสยิดเหล่านั้นด้วย ชนเหล่านี้แหละไม่บังควรแก่พวกเขาที่จะเข้าไปในมัสยิดเหล่านั้น นอกจากในฐานะผู้เกรงกลัวเท่านั้น และเขาเหล่านั้นจะได้รับความอัปยศในโลกนี้ และในปรโลกนั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันใหญ่หลวง
﴿ ومن أظلم ممن منع مساجد الله... ﴾ عن ابن عباس : هم النصارى . وعن قتادة : هو بـُخْتُنَصَّر وأصحابه خربوا بيت المقدس وأعانه على ذلك النصارى . وعن ابن زيد : هؤلاء المشركون الذين حالوا بين رسول الله yيوم الحديبية وبين أن يدخل مكة حتى نحر بذي طوى وهادنهم وقال لهم : ما كان أحد يصد عن هذا البيت ، وقد كان الرجل يلقى قاتل أبيه وأخيه فلا يصده . فقالوا : لا يدخل علينا من قتل آباءنا يوم بدر وفينا باق . ورجح ابن جرير قول قتادة ، ورجح ابن كثير قول ابن زيد .والصحيح أن الآية في النصارى واليهود لأنه مناسب للسياق ، وهو وعظ للمؤمنين أيضا .
الصد عن المساجد قال تعالى : ﴿ وما لهم ألا يعذبهم الله وهم يصدون عن المسجد الحرام وما كانوا أولياءه إن أولياؤه إلا المتقون ولكن أكثرهم لا يعلمون ﴾. وقال تعالى : ﴿ ما كان للمشركين أن يعمروا مساجد الله شاهدين على أنفسهم بالكفر أولئك حبطت أعمالهم وفي النار هم خالدون . إنما يعمر مساجد الله من آمن بالله واليوم الآخر ولم يخش إلا الله فعسى أولئك أن يكونوا من المهتدين ﴾ . وقال تعالى : ﴿ هم الذين كفروا وصدوكم عن المسجد الحرام والهدي معكوفا أن يبلغ محله ﴾ . وضع العوائق في عمارة المساجد من الصد عنها ، قال ابن كثير : وليس المراد من عمارتها زخرفتها وإقامة صورتها فقط ، إنما عمارتها بذكر الله فيها وإقامة شرعه فيها ورفعها عن الدنس والشرك . ومن الصد عن المساجد منع ذكر الله فيها ومنع الاعتكاف فيها ومنع العلم النافع فيها ، وإغلاقها على طالبي عمارتها بالعبادة
دعاءعن بشر بن أرطاة قال : كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يدعو : اللهم أحسن عاقبتنا في الأمور كلها وأجرنا من خزي الدنيا وعذاب الآخرةرواه أحمد وحسنه ابن كثير .
وَلِلّهِ الْمَشْرِقُ وَالْمَغْرِبُ فَأَيْنَمَا تُوَلُّواْ فَثَمَّ وَجْهُ اللّهِ إِنَّ اللّهَ وَاسِعٌ عَلِيمٌ ﴿١١٥﴾
115. และทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ดังนั้นพวกเจ้าจะผินไปทางไหน ที่นั่นแหละคือพระพักตร์ของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้
﴿ فأينما تولوا فثم وجه الله ...﴾ قال ابن عباس : أول ما نسخ لنا من القرآن فيما ذكر لنا والله أعلم شأن القبلة ، فاستقبل رسول الله y فصلى نحو بيت المقدس وترك البيت العتيق ثم صرفه إلى بيته العتيق ونسخها . وقال ابن عباس أيضا : قبلة الله أينما توجهت شرقا أو غربا ، وقال مجاهد: حيثما كنتم فلكم قبلة تستقبلونها : الكعبة . وقال آخرون : بل نزلت هذه الآية على رسول الله yإذنا من الله أن يصلي المتطوع حيث توجه من شرق أو غرب في مسيره في سفره وفي حال المسايفة وشدة الخوف . عند الشافعي يجوز التطوع في السفر فقط ، ولم يفرق بين سفر المسافة وسفر العدوى وهو قول أبي حنيفة أيضا ، وفرق مالك ، واختار أبو يوسف والاصطخري جواز التطوع على الدابة في المصر . وقال آخرون : بل نزلت هذه الآية في قوم عميت عليهم القبلة ، فلم يعرفوا شطرها فصلوا على أنحاء مختلفة .
جهة القبلة أخرج الترمذي عن أبي هريرة مرفوعا : ما بين المشرق والمغرب قبلة . وقال ابن عمر : إذا جعلت المغرب عن يمينك والمشرق عن يسارك فما بينهما قبلة إذا استقبلت القبلة .
وَقَالُواْ اتَّخَذَ اللّهُ وَلَداً سُبْحَانَهُ بَل لَّهُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ كُلٌّ لَّهُ قَانِتُونَ ﴿١١٦﴾
116. และพวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺได้ทรงยึดเอาพระบุตรองค์หนึ่ง มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่านหาใช่เช่นนั้นไม่ สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ทั้งสิ้น โดยที่ทั้งหมดนั้นเป็นผู้ภักดีและนอบน้อมต่อพระองค์
بَدِيعُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ وَإِذَا قَضَى أَمْراً فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُونُ ﴿١١٧﴾
117. พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์ชั้นฟ้าและแผ่นดิน และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดสิ่งใดแล้วพระองค์ก็เพียงแต่ประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นขึ้น
وَقَالَ الَّذِينَ لاَ يَعْلَمُونَ لَوْلاَ يُكَلِّمُنَا اللّهُ أَوْ تَأْتِينَا آيَةٌ كَذَلِكَ قَالَ الَّذِينَ مِن قَبْلِهِم مِّثْلَ قَوْلِهِمْ تَشَابَهَتْ قُلُوبُهُمْ قَدْ بَيَّنَّا الآيَاتِ لِقَوْمٍ يُوقِنُونَ ﴿١١٨﴾
118. และบรรดาผู้ที่ไม่รู้กล่าวว่า ไฉนอัลลอฮฺจึงไม่ตรัสแก่พวกเรา หรือไม่มีสัญญาณหนึ่งมายังพวกเรา ในทำนองเดียวกัน บรรดาชนรุ่นก่อนพวกเขา ก็กล่าวเช่นเดียวกับคำพูดของพวกเขา โดยที่หัวใจของพวกเขาคล้ายคลึงกัน แท้จริงนั้น เราได้แจกแจงสัญญาณต่างๆไว้อย่างชัดเจนแล้ว แก่พวกที่ศรัทธามั่น
إِنَّا أَرْسَلْنَاكَ بِالْحَقِّ بَشِيراً وَنَذِيراً وَلاَ تُسْأَلُ عَنْ أَصْحَابِ الْجَحِيمِ ﴿١١٩﴾
119. และแท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาพร้อมด้วยความจริง ในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และผู้ตักเตือน และเจ้าจะไม่ถูกไต่สวนเกี่ยวกับชาวเปลวเพลิงที่ลุกโชติช่วง
وَلَن تَرْضَى عَنكَ الْيَهُودُ وَلاَ النَّصَارَى حَتَّى تَتَّبِعَ مِلَّتَهُمْ قُلْ إِنَّ هُدَى اللّهِ هُوَ الْهُدَى وَلَئِنِ اتَّبَعْتَ أَهْوَاءهُم بَعْدَ الَّذِي جَاءكَ مِنَ الْعِلْمِ مَا لَكَ مِنَ اللّهِ مِن وَلِيٍّ وَلاَ نَصِيرٍ ﴿١٢٠﴾
120. และชาวยิวและชาวคริสต์นั่น จะไม่ยินดีแก่เจ้า(มุฮัมมัด)เป็นอันขาด จนกว่าเจ้าจะปฏิบัติตามศาสนาของพวกเขา จงกล่าวเถิด แท้จริงคำแนะนำของอัลลอฮฺเท่านั้น คือคำแนะนำ แน่นอนถ้าเจ้าปฏิบัติตามความใคร่ของพวกเขา หลังจากที่มีความรู้มายังแล้ว ก็ย่อมไม่มีผู้คุ้มครองและผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับเจ้าให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺได้
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 330 views