ซูเราะฮฺวัวตัวเมีย !!!

Submitted by dp6admin on Mon, 06/04/2009 - 16:44

ในวงนักวิชาการมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์ความรู้ของนักวิชาการเป็นที่น่าเชื่อถือตามบรรทัดฐานของวิชาการ นั่นคือความสามารถที่จะเข้าใจสำนวนตำราต่างๆ โดยเฉพาะตำราโบราณซึ่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าเป็นพื้นฐานของกระบวนการการศึกษาที่จะให้นักวิชาการนั้นมีข้อผูกพันกับตำราโบราณอย่างใกล้ชิด ฉะนั้นวิทยานิพนธ์ของปริญญาโทและปริญญาเอกส่วนมากจึงเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับตำราโบราณที่ไม่เคยพิมพ์มาก่อน โดยผู้วิจัยจะนำเสนอเนื้อหาของตำราโบราณให้ชัดเจนและตรงกับเจตนารมณ์ของผู้เขียนตำรามากที่สุด เรื่องนี้อัชชัยคฺซักกอฟ (ในหนังสืออัลฟะวาอิดุลมักกียะฮฺ) เรียกว่า มะละกะตุลอิสติหฺซอล คือความสามารถในการเข้าใจสำนวนและภาษา และอัชชัยคุลมุฮักกิก มะหฺมูด มุฮัมมัดชากิร ได้ระบุว่าเรื่องนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่านักวิชาการคนใดที่มีความคลุกคลีกับตำราของอัสสะละฟุศศอลิหฺ แต่มีนักวิชาการบางท่านที่นึกว่าเพียงภาษาและไวยกรณ์เท่านั้นที่จะทำให้ตัวเองสามารถเข้าใจสำนวนภาษาในตำราโบราณได้อย่างถูกต้อง

ผมได้อ่านและได้ยินนักวิชาการบางท่านพาดพิงถึงผมในประเด็นที่ผมวิพากษ์วิจารณ์ว่า ความหมายอัลกุรอานภาษาไทยเกือบทุกเล่มมีข้อผิดพลาด และผมหยิบยกตัวอย่างในอายะฮฺ 67 ของซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ ที่อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า

?????? ????? ?????? ?????????? ????? ??????? ???????????? ???? ?????????? ???????? ??????? ?????????????? ??????? ????? ??????? ????????? ???? ??????? ???? ????????????? (67)

 

ซึ่งในความหมายอัลกุรอานภาษาไทยของสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ โดย ครูดารี บินอะหมัด รอหิมะฮุลลอฮฺ ได้แปลไว้ว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮฺบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง...” ซึ่งผมได้บอกว่าเป็นข้อผิดพลาดเพราะความหมายที่ถูกต้องคือให้เชือดวัวตัวหนึ่ง

ก็มีนักวิชาการวิจารณ์ด้วยความมั่นใจว่าคำพูดของผมต่างหากที่คลาดเคลื่อนและผิดพลาด โดยอ้างว่าคำแปลว่า วัวตัวเมีย นั้นมีอยู่ในตัฟซีรอิบนุกะษีร, อัลบะหฺรุลมุฮีฏ, อัลกุรฏุบียฺ, และอื่นๆ ซึ่งเขาอ้างว่าผมดูเพียงความหมายตามพจนานุกรมแต่มิได้ดูความหมายจากตำราตัฟซีร(คือตำราที่อธิบายความหมายอัลกุรอาน)

และเรื่องนี้ได้ขยายวงจนกระทั่งมีผู้เขียนท่านหนึ่งตามกระทู้ในอินเตอร์เน็ตเขียนว่า ในอายะฮฺต่อจากอายะฮฺที่ 67 พระองค์ตรัสว่า

??????? ????? ????? ??????? ????????? ????? ??? ???? ????? ??????? ??????? ???????? ????????

คำว่า “หิยะ” และ “อินนะฮา” เป็นสรรพนามเพศหญิง จึงหมายรวมว่าวัวที่อัลลอฮฺสั่งให้บนูอิสรออีลเชือดนั้นเป็น วัวตัวเมีย

มีลูกศิษย์ลูกหามาถามผมในประเด็นนี้และขอให้อธิบายในเชิงวิชาก าร ผมได้ตอบว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรให้มันเป็นเรื่องที่มีสาระใหญ่จึงต้องตอบโต้กัน และได้อธิบายเหตุผลของผมสั้นๆ แต่ผมได้อ่านและได้ยินคำพูดของนักวิชาการที่พาดพิงถึงผมโดยอ้างเนื้อหาทางวิชาการ อันเป็นเนื้อหาที่ทำให้นักศึกษาความหมายอัลกุรอานถูกทำให้พิศวงหรือหลงในภาพลวงของหลักฐานอ้างอิง ซึ่งการพิทักษ์รักษาความน่าเชื่อถือของวิชาการเป็นจรรยาบรรณส่วนหนึ่งของบรรดานักวิชาการที่จะมิให้สิ่งปลอมมาแอบอ้างเป็นวิชาการหรือหลอกลวงประชาชนว่านี่คือวิชาการ จึงขอชี้แจงประเด็นนี้ดังต่อไปนี้

ในตัฟซีรอัฏฏ๊อบรียฺ ท่านอิมามอัฏฏ๊อบรียฺกล่าวว่า พระองค์ได้สั่งใช้พวกเขา(คือบนูอิสรออีล)ให้เชือดวัวตัวหนึ่งจากบรรดาวัว หมายรวมว่าวัวตัวไหนก็ได้ที่พวกเขาประสงค์จะเชือด โดยที่พระองค์มิได้เจาะจงประเภทหรือชนิด ท่านอิมามอัฏฏ๊อบรียฺกล่าวว่า “มินฆ็อยริ อันยะหฺสุเราะ ละฮุมซาลิกา อะลาเนาอิน มินฮา ดูนะเนาอิน เอา ซินฟิน ดูนะซินฟิน” คำว่า “เนาอุน” กับ “ซินฟุน” หมายถึง ลักษณะที่เจาะจงประเภทหรือชนิดวัว ซึ่งหมายรวมถึงเพศของสัตว์ด้วย นี่คือคำอธิบายของอิมามอัฏฏ๊อบรียฺซึ่งมีความชัดเจนในคำอธิบายอายะฮฺนี้

แต่นักวิชาการที่คัดค้านผมได้หยิบยกทัศนะของอุละมาอฺที่อธิบายลักษณะวัวในอายะฮฺ 68 ที่พระองค์ตรัสว่า “อินนะฮาบะเกาะเราะตุน ลาฟาริดุน วะลาบิกรุน” ซึ่งมีทัศนะของซุดดียฺว่าคือวัวที่มีลูกแล้ว นักวิชาการที่คัดค้านผมได้อ่านทัศนะนี้ในตัฟซีรฏ๊อบรียฺ, กุรฏุบียฺ, และอิบนุกะษีร โดยเข้าใจว่านี่เป็นหลักฐานชัดเจนว่าวัวที่ถูกใช้ให้เชือดคือวัวตัวเมีย ซึ่งความคลาดเคลื่อนของนักวิชาการท่านนี้เกิดเนื่องจากว่าที่ผมได้กล่าวถึงคืออายะฮฺแรกที่พระองค์สั่งให้เชือดวัวโดยยังไม่ได้ระบุลักษณะต่างๆ ที่บนูอิสรออีลได้ถามนบีมูซา ทั้งนี้ทัศนะของซุดดียฺที่ว่าวัว “อะวานุน” คือวัวที่มีลูกแล้วนั้นเป็นการตีความแต่ไม่ใช่ความหมายตายตัว เพราะทัศนะของบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนส่วนมาก คำว่า “อะวานุน บัยนะ ซาลิกะ” คือ ไม่แก่และไม่อ่อน ดังนั้นลักษณะต่างๆที่มีการตีความว่าหมายถึงวัวตัวเมียนั้นไม่ใช่เนื้อหาของสำนวนอัลกุรอาน หากเป็นทัศนะหรือการตีความของบรรดานักอธิบายความหมายอัลกุรอาน

ในการบันทึกของท่านอิมามอัฏฏ๊อบรียฺและหนังสือตัฟซีรแทบทุกเล่มได้รายงานไว้ จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิอับบาสกล่าวว่า

???? ????????? ????????? ??????? ???????? ??????????????? ????????????? ?????????? ????????? ????? ?????????

 

ถ้าพวกเขา(บนูอิสรออีล)ได้เอาวัวระดับต่ำที่สุดก็เพียงพอสำหรับพวกเขาแล้ว แต่พวกเขาต้องการเคร่งครัด อัลลอฮฺจึงทำให้ยิ่งเคร่งครัดสำหรับพวกเขา ท่านอิบนิอับบาสใช้คำว่า “เลาอะเคาะซู อัดนา บะเกาะเราะติน” ซึ่งใครที่เข้าใจสำนวนภาษาอาหรับก็จะเข้าใจว่าหมายถึง “วัวตัวหนึ่งตัวใด”

นักวิชาการที่คัดค้านผมได้อ้างถึงอัลบะหฺรุลมุฮีฏของอิมามอิบนุฮัยยาน ซึ่งท่านกล่าวว่า “อัลบะเกาะเราะฮฺ (?????????) คือเพศหญิงของสัตว์ที่รู้จักกันและอาจใช้สำหรับตัวผู้” แต่นักวิชาการท่านนั้นไม่ได้อ่านคำพูดของอิมามอิบนุฮัยยานต่อจากนั้นซึ่งมีความหมายว่า “ความหมายของอายะฮฺคือสิ่งที่เขาถูกใช้ให้เชือดวัวตัวหนึ่ง ซึ่งตัวใดก็ได้ถ้าพวกเขาเชือดแล้วก็ถือว่าทำหน้าที่” และอิมามอิบนุฮัยยานยังอ้างถึงหะดีษ(แต่เป็นหะดีษอ่อนหลักฐาน)ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยพระผู้ที่วิญญาณของมุฮัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ถ้าพวกเขาได้เจอวัวตัวหนึ่งและเชือดมันแล้วก็ใช้ได้สำหรับพวกเขา...” ซึ่งคนที่อ่านตำราตัฟซีรจะเข้าใจว่าท่านอิมามอิบนุฮัยยานได้กล่าวถึง “อัลบะเกาะเราะฮฺ” ว่าหมายถึง ตัวเมียหรืออาจหมายถึงตัวผู้ นั่นคือการระบุความหมายโดยภาษาทั่วไป อันเป็นลักษณะของผู้อรรถาธิบายความหมายอัลกุรอานเกือบทุกเล่มที่จะระบุความหมายของคำศัพท์ในพจนา นุกรมทั้งหมด แต่มิได้หมายรวมว่าอันหนึ่งอันใดคือความหมายที่มีน้ำหนักมากกว่า เว้นแต่จะระบุอย่างชัดเจนในคำวินิจฉัยของผู้อธิบาย

ซึ่งผมก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า “อัลบะเกาะเราะฮฺ” มีความหมายในภาษาอาหรับว่า วัวตัวเมีย แต่ผมได้พูดว่า ในอายะฮฺ 67 นั้นหมายถึง วัวตัวหนึ่ง เพราะคำว่า “อัลบะเกาะเราะฮฺ - ?????????  ” มี 2 นัยยะ นัยยะหนึ่งทางไวยกรณ์เรียกว่า อิสมุยินซิน (นามของประเภท) หมายถึง ชื่อสัตว์โดยไม่คำนึงว่าสัตว์นั้นเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ซึ่งอักษรตากลม(?) ในคำว่าอัลบะเกาะเราะฮฺมิได้หมายถึงเพศหญิง คือไม่ใช่ ตาอุตตะนีส แต่ในทางไวยกรณ์อาหรับเรียกว่า ตาอุลอิฟรอด คือ ตา-เอกพจน์ กล่าวคือ วัวตัวหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในภาษาอาหรับจะมีบางคำที่เอกพจน์กับพหูพจน์จะแยกได้ด้วยตัว “ตากลม(?)” นี้  เช่น ตัมรุน ??????  (อินทผลัมพหูพจน์) และ ตัมเราะตุน ???????? (อินทผลัมเม็ดเดียว), นัมลุน ?????? (มดหลายตัว) และ นัมละตุน ????????  (มดตัวเดียว) 

ทั้งนี้สรรพนามที่ใช้กับคำที่มี ตา-เอกพจน์ ก็จะใช้สรรพนามเพศหญิง เพราะไวยกรณ์ภาษาอาหรับบังคับให้ถือว่าเป็นเพศหญิงโดยคำพูด(การออกเสียง)เท่านั้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเพศหญิงก็ตามและในอัลกุรอานก็มีหลายตัวอย่าง อาทิเช่น ในซูเราะฮฺอันนัมลฺ อายะฮฺ 18 อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

?????? ????? ??????? ????? ????? ????????? ??????? ???????? ??? ???????? ????????? ????????? ?????????????

“จนกระทั่งเมื่อพวกเขาได้มาถึงทุ่งที่มีมดมาก มดตัวหนึ่งได้พูดว่า โอ้พวกมดเอ๋ยจงเข้าไปในรังของพวกเจ้าเถิด” ซึ่งคำว่า “กอลัตนัมละตุน” ก็เป็นเพศเมีย ( ????????  นัมละตุน) และใช้กริยาเพศหญิง( ???????  กอลัต) ทั้งๆที่คำแปลได้ระบุว่า มดตัวหนึ่ง นักวิชาการที่คัดค้านผมเรื่องวัวตัวเมียคงจะไม่แปลอายะฮฺนี้ว่า  มดตัวเมียตัวหนึ่งได้พูดว่า...  เพราะถ้าแปลเช่นนี้ก็คงจะไม่มีข้ออ้างอิงหรือเหตุผลที่น่าเชื่อถือเลย

และสิ่งที่เป็นหลักฐานบ่งชัดว่าอัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงวัวตัวเมียเลยคืออายะฮฺที่ 70 ของซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่า

??????? ????? ????? ??????? ????????? ????? ??? ???? ????? ????????? ????????? ?????????

มีความหมายว่า “พวกเขา(บนูอิสรออีล)กล่าวว่า โปรดวิงวอนต่อพระเจ้าของท่านให้แก่พวกเราเถิด พระองค์ก็จะทรงแจ้งแก่พวกเราว่า วัวนั้นเป็นอย่างไร แท้จริงวัวนั้นมันคล้ายๆกัน แก่พวกเรา”

ซึ่ง “อินนัลบะเกาะเราะ ตะชาบะหะ” ได้ใช้พหูพจน์ของ อัลบะเกาะเราะตุ ( ?????????? ) คือ อัลบะเกาะเราะ( ????????) โดยใช้กริยาเพศชายคือ ตะชาบะหะ กล่ าวคือถ้าวัวที่อัลลอฮฺสั่งให้เชือดตั้งแต่แรกคือวัวตัวเมีย แล้วบนูอิสรออีลไปหาวัวตัวเมียเท่านั้นก็น่าจะใช้พหูพจน์ของวัวตัวเมีย คือ บะเกาะรอต (????????) ซึ่งในอัลกุรอานก็มีใช้คำนี้ อาทิเช่นในซูเราะฮฺยูซุฟ เป็นต้น และควรจะใช้กริยาเพศหญิงคือ ตะชาบะหัต อันแสดงว่าความหมายที่นักวิชาการท่านนั้นกล่าวว่าอัลบะเกาะเราะฮฺคือวัวตัวเมีย เป็นความหมายที่ขัดกับเนื้อหาของอายะฮฺอื่นๆในเรื่องเดียวกัน และเมื่อบรรดาอุละมาอฺกล่าวถึงชื่อซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ ก็ไม่มีใครเลยที่อธิบายว่าหมายถึง ซูเราะฮฺวัวตัวเมีย

บางท่านอาจติงว่าความเข้าใจแบบนี้ย่อมไม่มีน้ำหนักเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีอุละมาอฺท่านใดบอกว่าหมายถึง วัวตัวหนึ่ง ขอตอบว่า แท้จริงไม่มีอุละมาอฺท่านใดที่อธิบาย “อัลบะเกาะเราะฮฺ” ในอายะฮฺ 67 ว่าหมายถึงวัวตัวเมียต่างหาก มิหนำซ้ำคำพูดของอุละมาอฺทั้งหมดโดยเฉพาะบรรดาเศาะฮาบะฮฺ เช่น อับดุลลอฮฺ อิบนิอับบาส ก็มิได้เอ่ยเรื่องตัวผู้ตัวเมียแต่อย่างใด ทั้งนี้อุละมาอฺที่เชี่ยวชาญด้านตัฟซีรโดยเฉพาะคือ ท่านอิมามอิบรอฮีม อิบนุอุมัร อัลบิกออียฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.885) ได้กล่าวในตัฟซีรนัซมุดดุรอรของท่านว่า อักษรตา(?)ของคำว่าอัลบะเกาะเราะฮฺไม่ใช่ตาเพศหญิงจริง แต่หมายถึงตัวหนึ่งในประเภท “วัว” ซึ่งอาจหมายถึงตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ ซึ่งมีสำนวนภาษาอาหรับว่า “วะตาอุฮา ลัยซัต ลิตตะนีซิลหะกีกี บัล ลิอันนะฮา วะหิดะตุน มินัลญินสิ ฟะตะเกาะอุ อะลัซซะกะริ วัลอุนซา”

แท้จริงคำอธิบายของท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิอับบาส ก็เพียงพอแล้วที่จะระบุว่าเรื่องตัวผู้ตัวเมียไม่มีกล่าวถึงในพระบัญชาของอัลลอฮฺ แต่วัตถุประสงค์ของคำสั่งให้เชือดวัวนั้นคือตัวไหนก็ได้ เพื่อนำส่วนหนึ่งจากวัวไปตีศพของผู้ที่ถูกฆ่า เพื่ออัลลอฮฺจะให้เขาฟื้นคืนชีพและชี้ตัวฆาตกร และเมื่อพิจารณาในเหตุผลที่นักอธิบายความหมายอัลกุรอานได้กล่าวถึงคำสั่งให้เชือดวัวนั้น เพราะบนูอิสรออีลเคยคลุกคลีกับชาวอียิปต์โบราณ(พวกฟะรออินะฮฺ)ซึ่งบูชาวัวตัวผู้(อัษเษารฺ) อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ตามความเชื่อของพวกเขา เมื่อบนูอิสรออีลข้ามทะเลและนบีมูซาไปรับคัมภีร์จากอัลลอฮฺ พวกเขาได้สร้างวัวเพื่อบูชาเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ อันเป็นประเพณีของพวกมุชริกีนที่ติดมา ซึ่งอัลลอฮฺต้องการหยามความเชื่อดังกล่าว จึงสั่งใช้ให้บนูอิสรออีลเชือดวัว ถ้าเรามองถึงเหตุผลนี้ก็อาจตีความได้ว่าวัวตัวที่ถูกใช้ให้เชือดเป็นตัวผู้ก็ได้ เพราะมันตรงกับวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้อายะฮฺที่อัลลอฮฺสั่งบนูอิสรออีลให้เชือดวัวนั้น นักปราชญ์อิสลามมักจะหยิบยกมาเพื่อบ่งชี้ว่าคำสั่งของอัลลอฮฺนั้นควรรีบปฏิบัติโดยไม่ต้องเจาะถึงรายละเอียดที่พระองค์ไม่ได้กล่าวถึง และการเจาะถึงรายละเอียดเป็นกมลสันดานของบนูอิสรออีลที่มุสลิมไม่ควรกระทำ แต่ถ้าหากเราเข้าใจว่าคำสั่งให้เชือดวัวตรงนี้คือวัวตัวเมียก็จะไม่มีเหตุผลดังกล่าว

โดยนิติศาสตร์อิสลามในวาระอื่นๆ เช่น การเชือดวัวกุรบาน(อุฎหิยะฮฺ)หรือในพิธีฮัจญฺ ถ้าเชือดวัวตัวผู้หรือตัวเมียก็ถือว่าใช้ได้ และอะกีเกาะฮฺที่นบีกล่าวว่า “อะนิลฆุลามิ ชาตาน” โดยใช้คำว่า “ชาต” คือแพะ ซึ่งมีอักษรตาที่เป็นเพศหญิง แต่ตรงนี้ก็เช่นเดียวกัน มิได้หมายถึงเพศหญิงจริงๆ เพราะคำว่า “ชาต” หมายรวมถึงตัวผู้และตัวเมีย

อนึ่งคำอธิบายข้างต้นเพียงเป็นกุญแจให้บรรดาผู้ค้นหาสามารถไตร่ตรองและพิจารณาข้อมูลอย่างเป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่หยิบจากตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยแล้วมาตีความอัลกุรอานหรือตำราของนักปราชญ์อิสลามโดยอ้างว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้ว แท้จริงผมสามารถอธิบายและหยิบยกหลักฐานมากกว่านี้ แต่ดังที่ระบุข้างต้นว่าไม่อยากให้ประเด็นนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ต้องการให้ผู้ศึกษาความหมายอัลกุรอานและผู้วิพากษ์วิจารณ์คำพูดของคนอื่นระมัดระวังและสำรวจข้อมูลที่อ้างอิงอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน เพื่อเป็นข้อมูลคุณภาพอยู่ในเครือข่ายของวิชาการ มิใช่เครือข่ายอ่านเล่นๆ และพูดง่ายๆ

 


โดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

วันที่ลงบทความ : 9 ส.ค. 50