ละหมาดตะรอวีหฺ : จำนวนร็อกอะฮฺและระยะเวลา

Submitted by dp6admin on Wed, 22/07/2009 - 20:07

จํานวนร็อกอัต

เป็นบทบัญญัติสําหรับกิยามุลลัยลฺทั่วไป (รวมทั้งตะรอวีหฺในเดือนร่อมะฎอน) ที่อุละมาอฺทั้งหมดบอกว่า ท่านนบี 3 ไม่เคยละหมาดเกิน 11 ร็อกอัต หะดีษจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ - บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม “ท่านนบี ﷺ ไม่เคยละหมาดในเดือนร่อมะฎอนและนอกเดือนร่อมะฎอนมากกว่า 11 ร็อกอัต(*1) ท่านนบี ﷺ จะละหมาด 4 ร็อกอัต (ทีละ 2 ร็อกอัต) ไม่ต้องถามเลย ว่าท่านนบี 3 ละหมาดยาวและสง่างามอย่างไร(*2) และละหมาดอีก 4 ร็อกอัต (ทีละ 2 ร็อกอัต) ท่านอย่าถามถึงความสวยงามและความยาวของ มัน และต่อมาละหมาดอีก 3 ร็อกอัต"

สําหรับรายงานที่ว่าท่านนบีไม่เคยละหมาดมากกว่า 13 ร็อกอัต อุละมาอฺตีความ 2 ร็อกอัตที่เกินมา ทรรศนะหนึ่งบอกว่าเป็นละหมาดซุนนะฮฺหลังอิชาอฺ ส่วนอีกทรรศนะหนึ่งบอกว่าเป็น 2 ร็อกอัตเฉพาะของกิยามุลลัยลฺที่ท่านนบี 5 จะละหมาดเร็วเพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะละหมาดยาวนานต่อไป

ท่านนบี ﷺ เคยละหมาดต่ำากว่า 11 ร็อกอัต มีรายงานของซอฮาบะฮฺและถ้อยคําที่ท่านนบี 3 แนะนํา ผู้อื่นให้ทําเช่นกัน หะดีษบันทึกโดยอิมามอบูดาวูดและอิมามอะหมัด ท่านหญิงอาอิชะฮฺ - ถูกถามว่า “ท่านนบี ﷺ ละหมาดกลางคืนพร้อมด้วยวิตรุกี้ร็อกอัต” ท่านหญิงตอบว่า “บางครั้งท่านนบี 3 ละหมาด 4 ร็อกอัต (ทีละสอง) และวิตร 3 ร็อกอัต (2-1) บางครั้งละหมาด 6 ร็อกอัต (ทีละสอง) และวิตร 3 ร็อกอัต (2-1) และบางครั้งละหมาด 10 ร็อกอัต (ทีละสอง) และวิตร 3 ร็อกอัต (2-1) ท่านนบี ไม่เคยละหมาด น้อยกว่า 7 ร็อกอัตและไม่เคยละหมาดมากกว่า 13 ร็อกอัต"

หะดีษบันทึกโดยอิมามเฏาะฮาวี ท่านนบี ﷺ บอกว่า “วิตรเป็นสัจธรรม(*3) ใครอยากละหมาดกิยามุลลัยลฺ พร้อมวิตร 5 ร็อกอัตก็ได้ หรือ 3 ร็อกอัตก็ได้ หรือ 1 ร็อกอัตก็ได้”
อุละมาอฺสรุปว่า การละหมาดกิยามุลลัยลุสูงสุด 13 หรือ 11 ร็อกอัต และต่ำสุด 1 ร็อกอัต (*4)

ระยะเวลา

บางครั้งท่านนบี ﷺ ละหมาด 1 ใน 3 ของคืน บางครั้งครึ่งคืน และบางครั้งละหมาดทั้งคืน ไม่มีเวลา ตายตัว (แต่ส่วนมากจะละหมาด 1 ใน 3 ของคืน แล้วแต่ความเหมาะสม) บางครั้งหนึ่งร็อกอัตเท่ากับซูเราะฮฺอัลมุซ ซัมมิล (ประมาณ 20 อายะฮฺ) บางครั้งเท่ากับ 50 อายะฮฺ หะดีษท่านนบี ﷺ กล่าวว่า

مَنْ قَامَ بِعَشْرِ آيَاتٍ لَمْ يُكْتَبْ مِنَ الْغَافِلِيْن ، وَمَنْ قَامَ بِمِائَةِ آيَةٍ كُتِبَ مِنَ الْقَانِتِيْن .
وَمَنْ قَامَ بِأَلْفِ آيَةٍ كُتِبَ مِنَ الْمُقَنْطِرِيْن . صحيح الجامع الصغير وزياداته

“ผู้ใดตื่นละหมาดกลางคืนด้วย 10 อายะฮฺ จะไม่ถูกบันทึกว่าเป็นผู้หลงลืม (จากหลักการของอัลลอฮฺ) และผู้ใดตื่นละหมาดกลางคืนด้วย 100 อายะฮฺ จะถูกบันทึกว่าเป็นกอนตีน (ยืนละหมาดนาน) และ ผู้ใดละหมาดกลางคืนด้วย 1,000 อายะฮฺ จะถูกบันทึกว่าเป็นมุกอนฏิรีน (ได้รับผลบุญมหาศาล)

คืนหนึ่งท่านนบี ﷺ ป่วย แต่ได้ละหมาดกิยามุลลัยลุด้วยซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อาลิอิมรอน อันนิซาอุ อัล มาอิดะฮฺ อัลอันอาม อัลอะอฺรอฟ และอัตเตาบะฮฺ (*5) และมีเรื่องของท่านสุชัยฟะฮฺ อิบนุ ยะมาน ที่ขอค้างกับท่านนบี คืนหนึ่ง และได้ละหมาดกับท่านนบี อ่านอัลบะเกาะเราะฮฺ อันนิซาอุ และอาลิอิมรอนช้า ๆ ในร็อกอัตเดียว

ในสมัยท่านอุมัร ที่แต่งตั้งให้อุบัย อิบนิ กะอุบ นําละหมาดที่มัสญิด อุบัยอ่านอายะฮฺนับหลักร้อย จนคนที่มาละหมาดด้วยใช้ไม้เท้า และจะไม่กลับบ้านจนกว่าใกล้อะซานซุบฮฺ

อุละมาอฺบอกว่าการนําละหมาดที่มัสญิดสม ควรดูว่าคนทั่วไปสามารถละหมาดได้ยาวนานแค่ไหน แต่หากเป็นมัสญิดหรือมุศ็อลลาที่คนละหมาดสมัครใจ ละหมาดยาวมากก็สามารถทําได้

การละหมาดกิยามุลลัยลุเริ่มตั้งแต่เวลาหลังละหมาดอิชาอุจนถึงเวลาอะซานซุบฮุ การละหมาดก่อนอิชาอุ มีรูปแบบที่บางครั้งซอฮาบะฮฺปฏิบัติ คือ การละหมาดระหว่างมัฆริบและอิชาอุทีละ 2 ร็อกอัตเท่าที่ทําได้ เรียกว่า “อิหยาอุมาบัยนัลอิชาอัยน” เป็นซุนนะฮฺกลางคืนอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่กิยามุลลัยลุ

หะดีษบันทึกโดยอิมามมุสลิม ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า “ใครที่กลัวจะไม่ตื่นช่วงท้ายของคืน ให้ละหมาด วิตรก่อนนอน และใครที่หวังว่าจะตื่นละหมาดตอนดึก ให้วิตรุตอนดึก(*6) เพราะการละหมาดช่วงสุดท้าย ของกลางคืน เป็นการละหมาดที่มีผู้เป็นพยานให้ (หมายถึงอัลลอฮฺ (*7)หรือบรรดามลาอิกะฮฺ) และการ ละหมาดกลางคืนนั้นประเสริฐยิ่ง

-----------------------
(*1)- คุณค่าของหะดีษนี้อยู่ที่ผู้รายงานหะดีษคือท่านหญิงอาอิชะฮฺ ซึ่งนิกาหฺกับท่านนบี ตั้งแต่ก่อนอพยพ (อยู่ที่มักกะฮฺ) และเข้าอยู่ บ้านเดียวกันเมื่ออพยพมาอยู่ที่มะดีนะฮฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ - 4, อยู่กับท่านนบี 5 โดยตลอด และถือศีลอดด้วยกันตั้งแต่ปีฮิจเราะฮฺ ศักราชที่ 1-11 (ปีที่ท่านนบีเสียชีวิต) ในเดือนร่อมะฎอนส่วนมากท่านนบี 2 ละหมาดที่บ้าน ดังนั้นคนที่รู้ลักษณะการละหมาดของท่านนบี มากที่สุดคือภรรยาของท่าน และท่านนบี 5 ชอบอยู่บ้านท่านหญิงอาอิชะฮฺ  บางครั้งภรรยาคนอื่นสละสิทธิ์ให้ท่านนบี 5 ไปอยู่บ้าน ท่านหญิงอาอิชะฮฺ -:- เพราะรู้ว่าท่านนบีรักมากกว่า ปรับความหึงเพราะรักท่านนบี และอยากให้ท่านได้สิ่งที่รักมากที่สุด ดังนั้น คนที่รู้ความลับของท่านนบีมากที่สุดคือ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ - เป็นที่ยอมรับในบรรดาภรรยานบี และซอฮาบะฮฺ
(*2)- หมายถึงละหมาดยาวมากและสวยงามมาก
(*3)- หมายถึงเป็นเรื่องที่มีความสําคัญปฏิเสธไม่ได้ หรือเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ มัซฮับอบูฮานีฟะฮฺอ้างหะดีษนี้ว่าวิตรเป็นวาญิบ แต่อีกสามมัซฮับบอกว่า เป็นซุนนะฮฺ อุละมาอฺส่วนมากบอกว่า “ฮักก” หมายถึงมีความสําคัญแต่ไม่ถึงขั้นวาญิบ เพราะอัลกุรอานและหะดีษบอกชัดเจนว่าฟัรภูมี 5 เวลา
(*4)- ซอฮาบะฮฺที่ปฏิบัติวิตร 1 ร็อกอัตคือ มุอาวียะฮฺ อิบนุ อบูซุฟยาน เคยมีสงครามระหว่างมุอาวียะฮฺกับอะลี มีคนเห็นมุอาวียะฮฺละหมาดกิยามุลลัยลฺ 1 ร็อกอัต จึงไปบอกอิบนิอับบาสซึ่งอยู่ฝ่ายอะลี เพราะหวังให้อิบนิอับบาสตําหนิมุอาวียะฮฺ แต่อิบนิอับบาสบอกว่า “ปล่อยเขา เขามีความรู้ 
(*5)- ถือเป็น 7 ซูเราะฮฺยาวที่สุดในอัลกุรอานที่ถูกเรียงกัน เรียกว่า “อัซซับอุฏฏิวาน” รวมประมาณ 10 ญุซ

(*6)- คนที่มั่นใจว่าจะตื่นก็ให้วิตรช่วงท้ายดีกว่า แต่ถ้าไม่มั่นใจให้วิตรไว้ก่อน และถ้าตื่นก็ละหมาดทีละสองร็อกอัต (โดยไม่ต้องวิตรอีก)
(*7)- มีหะดีษรายงานจากบุคอรียฺ มุสลิม และท่านอื่น ๆ ท่านนบี กล่าวว่า “ช่วง 1 ใน 3 ส่วนสุดท้ายของกลางคืน อัลลอฮฺ จะเสด็จลงมายัง ชั้นฟ้าสุดท้ายของโลกนี้ และกล่าวว่าใครที่เตาบัตพระองค์จะรับ ใครขออภัยโทษจะอภัยโทษให้ และใครวิงวอนดุอาอฺข้าจะตอบรับ”