1. ดุอาอฺที่ดียิ่งคือดุอาอฺที่สืบต่อเนื่องจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (กล่าวก่อนหรือหลังละศีลอดก็ได้)
ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوْقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِنْ شَاءَ الله
[ ซะฮะบัซซ่อมะอุ วับตั้ลละติ้ลอุรูก วะษะบะตั้ลอัจรุ อินชาอัลลอฮฺ ]
“ความกระหายน้ำได้สูญสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่นและได้รับการตอบแทนอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ”
2. ดุอาอฺนี้สายรายงานอ่อน แต่ใช้ได้ กล่าวก่อนละศีลอดหรือใช้กล่าวทั่วไป
اللَّهُمَّ لَكَ صُمْتُ وَعَلَى رِزْقِكَ أفْطَرْتُ
[ อัลลอฮุมะละกะ ซุมตุ วะอาลา ริซกิกะ อัฟฏ็อรตุ ]
"โอ้อัลลอฮฺ เพื่อพระองค์ท่านเท่านั้น เราได้ถือศีลอด และด้วยริซกีของพระองค์ ที่เราได้ละศีลอด"
3. ท่านนบีจะกล่าวดุอาอฺนี้ตอนรับประทานอาหารที่ผู้อื่นเลี้ยง (กล่าวก่อนหรือหลังละศีลอดก็ได้)
أَفْطَرَ عِنْدَ كُمُ الصَّائِمُوْنَ ، وَ أَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ ، وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ المَلائِكَةُ
[ อัฟเฏาะเราะ อินดะกุมุซซออิมูน, วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุลอับรอร, วะศ็อลลัต อะลัยกุมุลมะลาอิกะฮฺ ]
“ขอให้บรรดาผู้ถือศีลอดได้ละศีลอดกับพวกท่าน, ขอให้บรรดาผู้มีคุณธรรมเป็นผู้รับประทานอาหารของพวกท่าน, และขอให้บรรดามะลาอิกะฮฺวิงวอนขอพรให้แก่พวกท่าน"
ดุอาอฺเหล่านี้ควรกล่าวก่อนละศีลอด เพราะเราอยู่ในสภาพที่เป็นผู้ถือศีลอด การขอดุอาอฺในสภาพนี้น่าจะมีเหตุผลมากกว่าที่จะถูกตอบรับ หรือจะกล่าวดุอาอฺอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน เพราะก่อนละศีลอดเป็นช่วงเวลาที่อัลลอฮฺตอบรับดุอาอฺ
รายการซิกรุลลอฮฺ 2 ร่อมะฎอน 1442 (14/4/64)
เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 18059 views