ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 3 (หะดีษที่ 2/1)

Submitted by dp6admin on Fri, 25/09/2009 - 15:28
หัวข้อเรื่อง
หะดีษที่ 2 อิสลาม-อีมาน-อิหฺซาน (หะดีษญิบรีล)
สาเหตุของการรายงานหะดีษ - มีผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลกอฎออฺวัลกอดัร อิบนุอุมัร จึงรายงานหะดีษนี้เพื่อยืนว่าเป็นรุกุ่นหนึ่งในอิสลาม
ความสำคัญของหะดีษ (หะดีษจิบรีล), ภาพรวมของหะดีษ
อิสลามคืออะไร ?
อิสลาม คือภาคปฏิบัติ (การกระทำ) ของอวัยวะภายนอก แบ่งเป็น 3 ประเภท
ภาพรวมของอิสลามคือ : อิสลาม - ปฏิบัติ, อีมาน - ศรัทธา (เชื่อ), อิหฺซาน - ปฏิบัติและเชื่ออย่างสง่างาม
การละทิ้งภาคปฏิบัติ ถือว่าเป็นมุสลิมไหม ?
ตัวอย่างอะมั้ลที่ถูกระบุในหะดีษอื่นๆ
อัตลักษณ์ของอิสลาม
การละเว้นข้อห้าม ก็อยู่ในอิสลาม
นะวากิดุลอิสลาม - สิ่งที่ถล่ม(ทำลาย)อิสลาม
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
9.00 mb
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

سبب ورود الحديث - สาเหตุของการรายงานหะดีษ

มีผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลกอฎออฺวัลกอดัร อิบนุอุมัร จึงรายงานหะดีษนี้เพื่อยืนยันว่าเป็นรุกุ่นหนึ่งใน 6 ประการ

هذا الحديثُ تفرَّد مسلم عن البُخاريِّ بإخراجِه ، فخرَّجه مِنْ طريقِ كهمسٍ ، عَنْ عبد الله بنِ بُريدةَ ، عن يَحيى بن يَعْمَرَ ، قال : كانَ أوَّلَ مَنْ قالَ في القَدرِ بالبصرةِ معبدٌ الجهنيُّ ، فانطلقتُ أنا وحميدُ بنُ عبد الرَّحمانِ الحِميريُّ حاجين أو مُعتَمِرين ، فقلنا : لو لَقِينا أحداً مِنْ أصحابِ رسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - ، فسألناه عمَّا يقولُ هؤلاءِ في القدرِ ، فوُفِّقَ لنا عبدُ اللهِ بنُ عمرَ بنِ الخطَّابِ داخلاً المسجدَ ، فاكتَنَفتُهُ أنا وصاحبي ، أحدُنا عن يمينه ، والآخرُ عن شِمالِه ، فظننتُ أنَّ صاحبي سيَكِلُ الكلامَ إليَّ ، فقلتُ : أبا عبدِ الرَّحمانِ ، إنّه  قد ظهر قِبلَنا ناسٌ يقرءون القُرآن ، ويتقفَّرُون العلمَ ، وذكر مِنْ شأنهم ، وأنَّهم يزعُمون أنْ لا قدرَ ، وأنّ الأمرَ أُنُفٌ((4)) ، فقال : إذا لقيتَ أولئك ، فأخبرهم أنّي بريءٌ منهم ، وأنّهم بُرآءُ مِنّي، والّذي يحلفُ به عبدُ الله بنُ عمرَ، لو أنّ لأحدهم مثلَ أُحُدٍ ذهباً، فأنفقه ، ما قَبِلَ الله منه حتى يُؤمِنَ بالقدرِ ، ثم قال : حدَّثني أبي عمرُ بنُ الخطّابِ ، قال : بينما نحنُ عندَ رسولِ الله - صلى الله عليه وسلم - ، فذكر الحديث بطولِهِ .

أهمية الحديث - ความสำคัญของหะดีษ

وهو حديثٌ عظيمٌ جداً ، يشتملُ على شرحِ الدِّين كُلِّه ، ولهذا قال النَّبيُّ - صلى الله عليه وسلم  في آخره : (( هذا جبريل أتاكُم يعلِّمكم دينَكُم )) بعد أنْ شرحَ درجةَ الإسلامِ ، ودرجةَ الإيمانِ ، ودرجة الإحسّانِ ، فجعل ذلك كُلَّه ديناً .

นี่เป็นหะดีษที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ที่ได้อธิบายศาสนาทั้งหมด ท่านนบีเน้นว่า  “แท้จริง เขาคือญิบรีล เขามายังท่านเพื่อสอนแก่ท่านซึ่งศาสนาของท่าน" หะดีษนี้ได้รวบรวมเรื่องสำคัญในศาสนา คือ อิสลาม - อีมาน - อิหฺซาน

الإسلام هو أعمال الجوارح الظاهرة - อิสลาม คือภาคปฏิบัติ (การกระทำ) ของอวัยวะภายนอก

فأمَّا الإسلامُ، فقد فسَّره النَّبيُّ - صلى الله عليه وسلم - بأعمالِ الجوارح الظَّاهرة مِنَ القولِ والعملِ، وأوّلُ ذلك : شهادةُ أنْ لا إله إلا الله ، وأنَّ محمداً رسولُ الله ، وهو عملُ اللسانِ ، ثمّ إقامُ الصلاةِ، وإيتاءُ الزكاةِ، وصومُ رمضانَ، وحجُّ البيت من استطاع إليه سبيلاً .
وهي منقسمةٌ إلى عمل بدني : كالصَّلاة والصومِ ، وإلى عمل ماليٍّ : وهو إيتاءُ الزَّكاةِ ، وإلى ما هو مركَّبٌ منهما : كالحجِّ بالنسبة إلى البعيد عن مَكَّة .    وفي رواية ابنِ حبَّان أضاف إلى ذلك الاعتمارَ ، والغُسْلَ مِنَ الجَنابةِ ،    وإتمامَ الوُضوءِ ، وفي هذا تنبيهٌ على أنَّ جميعَ الواجباتِ الظاهرةِ داخلةٌ في مسمّى الإسلامِ .

แบ่งเป็น 3 ประเภท
1- การปฏิบัติด้วยอวัยวะอย่างเดียว คือ ละหมาด ถือศีลอด
2- ใช้ทุนอย่างเดียว คือ การบริจาคทาน (ซะกาต)
3- อิบาดะฮฺที่ใช้ทั้งอวัยวะและทุนทรัพย์ด้วย คือ คนทำฮัจญฺที่อยู่ห่างไกลจากมักกะฮฺ

ในบันทึกของอิบนุฮิบบาน เพิ่ม "อุมเราะฮฺ, การอาบน้ำจะนาบะฮฺ, การอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์" ; รุกุ่นอิสลามมี 5 ประการ แต่ชีอะฮฺ เพิ่ม อัลคุมสฺ (จ่าย 1 ใน 5 ให้อิมาม), และท่านอะลีเป็นวะลียุลลอฮฺ

ภาพรวมของอิสลามคือ : อิสลาม - ปฏิบัติ, อีมาน - ศรัทธา (เชื่อ), อิหฺซาน - ปฏิบัติและเชื่ออย่างสง่างาม

ترك الأعمال الظاهرة - การละทิ้งภาคปฏิบัติ (ถือว่าเป็นมุสลิมไหม ?)

وقوله في بعض الرِّوايات : فإذا فعلتُ ذلك ، فأنا مسلمٌ ؟ قالَ : (( نعم )) يدلُّ على أنَّ مَنْ كَمَّلَ الإتيانَ بمباني الإسلام الخمسِ ، صار مسلماً حقَّاً ، مع أنَّ مَنْ أقرَّ بالشهادتين ، صار مسلماً حُكماً ، فإذا دخل في الإسلام ((1)) بذلك ، أُلزم بالقِيام ببقيَّة خصالِ الإسلام ، ومَنْ تركَ الشَّهادتين ، خرج مِنَ الإسلام ، وفي خُروجِه مِنَ الإسلام بتركِ الصَّلاةِ خلافٌ مشهورٌ بينَ العُلماء ، وكذلك في ترك بقيَّة مباني الإسلام الخمس .

บางรายงานมีสำนวนเพิ่มเติมว่า "จิบรีลถามท่านนบีว่า "ถ้าฉันปฏิบัติเช่นนั้น ฉันถือว่าเป็นมุสลิมไหม ?" นบี ﷺ ตอบว่า "ใช่" -- ใครที่ปฏิบัติ 5 รุกุ่นนี้อย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็นมุสลิมที่แท้จริง
- กล่าวชะฮาดะฮฺอย่างเดียว -- เป็นมุสลิมโดยข้อตัดสิน (مسلماً حُكماً) สังคมมองว่าเป็นมุสลิม แต่ภาคปฏิบัติก็ระหว่างเขากับอัลลอฮฺ, ทิ้งชะฮาดะฮฺ ไม่เป็นมุสลิม
- ทิ้งละหมาด, ขี้เกียจละหมาด ? ไม่ถือศีลอด ไม่ออกซะกาต ไม่ทำฮัจญฺ ? -- เป็นมุสลิมไหม ?

بقية الأعمال مذكورة في أحاديث أخرى إشارة بأنواعها
ตัวอย่างอะมั้ลที่ถูกระบุในหะดีษอื่นๆ

عن عبدِ الله بنِ عمرٍو : أنَّ رجلاً سألَ النَّبيَّ - صلى الله عليه وسلم - : أيُّ الإسلامِ خيرٌ ؟ قال : (( أنْ تُطْعِمَ الطّعامَ ، وتقرأ السَّلام على مَنْ عرفت ومَنْ لم تعرف )) .   
มีผู้ถามท่านนบีว่า “อิสลามที่ดีที่สุดคืออะไร ?” ท่านนบี ﷺ ตอบว่า “คือการให้อาหาร และให้สลามแก่ผู้ที่รู้จักและไม่รู้จัก”

 وفي " صحيح الحاكم " عن أبي هريرةَ ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم -  قال : (( إنَّ للإسلام صُوىً ومناراً كمنار الطَّريق ، من ذلك : أنْ تعبدَ الله ولا تشركَ به شيئاً ، وتقيمَ الصَّلاةَ ، وتُؤْتِي الزَّكاةَ ، وتصومَ رمضانَ ، والأمرُ بالمعروفِ ، والنَّهيُ عن المُنكرِ ، وتسليمُك على بَني آدم إذا لَقِيتَهم وتسليمُك على أهلِ بيتِكَ إذا دخلتَ عليهم ، فمن انتقصَ منهنَّ شيئاً ، فهو سَهمٌ من الإسلامِ تركه ، ومن يتركهُنَّ فقد نبذَ الإسلامَ وراءَ ظهره )) 

อัตลักษณ์ของอิสลาม - สำหรับอิสลามนั้นมีเครื่องหมาย(สัญลักษณ์) ดังเช่นเสา(บอกตำแหน่ง) คือ อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺและไม่ทำชิริก ละหมาด ซะกาต ศีลอดเดือนร่อมะฎอน เรียกร้องสู่ความดี ปราบปรามความชั่ว, ให้สลามแก่ลูกหลานอาดัมเมื่อพบปะกัน, ให้สลามแก่ครอบครัวเมื่อเข้าบ้าน ใครที่บกพร่องส่วนหนึ่งจากสนิ่งเหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งจากอิสลามที่ถูกละทิ้งไป ใครที่ทิ้งทั้งหมด ก็เสมือนเขาได้ทิ้งอิสลามไว้เบื้องหลัง

وخَرَّج ابنُ مردويه مِنْ حديث أبي الدَّرداءِ ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - ، قال : (( للإسلام ضياءٌ وعلاماتٌ كمنارِ الطَّريقِ ، فرأسُها وجِماعُها شهادةُ أنْ لا إله إلاَّ الله، وأنَّ محمداً عبده ورسوله، وإقامُ الصلاةِ، وإيتاءُ الزكاةِ، وتَمَامُ الوُضوءِ، والحُكمُ بكتاب الله وسُنّةِ نبيِّه - صلى الله عليه وسلم - ، وطاعةُ وُلاة الأمر، وتسليمُكم على أنفُسِكُم، وتسليمُكم على أهليكم إذا دخلتُم بيوتَكم ، وتسليمكم على بني آدم إذا لقيتُموهُم )) وفي إسناده ضعفٌ ، ولعله موقوف.
ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า "อิสลามมีแสงสว่างเสมือนสัญญาณของการเดินทาง หัวหน้าของมัน(อิสลาม) ภาพรวมของมัน คือ ชะฮาดะฮฺ ดำรงละหมาด บริจาคซะกาต อาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์ ตัดสินด้วยกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ เชื่อผู้นำในเรื่องศาสนา ให้สลามซึ่งกันและกัน ให้สลามแก่ครอบครัว ให้สลามแก่ลุกหลานอาดัม" -- (น่าจะเป็นคำพูดของอบุดดัรดาอฺ ไม่ใช่ท่านนบี)

وصحَّ من حديث أبي إسحاق ، عنْ صِلةَ بنِ زُفَرَ ، عن حذيفةَ ، قال : الإسلامُ ثمانيةُ أسهُمٍ : الإسلامُ سهمٌ ، والصَّلاةُ سهمٌ، والزَّكاةُ سهمٌ، والجهادُ سهمٌ ، وحجُّ البيتِ سهمٌ، وصومُ رمضانَ سهمٌ ، والأمرُ بالمعروفِ سهمٌ ، والنهيُ عنِ المنكرِ سهمٌ ، وخابَ مَنْ لا سَهمَ له. وخرَّجه البزّارُ مرفوعاً، والموقوفُ أصحُّ . وقوله : (( الإسلام سهمٌ )) يعني : الشَّهادتين ؛ لأنّهما عَلمُ الإسلام ، وبهما يصيرُ الإنسانُ مسلماً.

อิสลามมี 8 ส่วน คือ การละหมาด ซะกาต จิฮาด ฮัจญฺ ศีลอดเดือนร่อมะฎอน เรียกร้องสู่ความดี ปราบปรามความชั่ว หายนะจงประสบแก่คนที่ไม่มีสักส่วนหนึ่งจากอิสลาม (อัลบัซซารบอกว่าเป็นคำพูดของท่านนบี แต่อิบนุร่อจับบอกว่าเป็นคำพูดของหุซัยฟะฮฺ)

ترك المحرمات داخل في مسمى الإسلام - การละเว้นข้อห้าม ก็อยู่ในอิสลาม 

وكذلك تركُ المحرَّمات داخلٌ في مُسمَّى الإسلام أيضاً ، كما رُوي عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - أنَّه قال : (( مِنْ حُسْنِ إسلامِ المَرءِ تركُهُ ما لا يعنيه )) ، وسيأتي في موضعه إنْ شاء الله تعالى . 
ท่านนบี ﷺ กล่าวว่า "อิสลามที่ดีงามของคนหนึ่งคึนใดในพวกท่านคือ การละเว้นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์"

หะดีษ : เสียงเรียกจากอัศศิร้อฏ

  ويدلُّ على هذا أيضاً ما خرَّجه الإمامُ أحمدُ ، والتِّرمذيُّ ، والنَّسائيُّ مِنْ حديثِ العِرباضِ بنِ ساريةَ ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - ، قال : (( ضربَ الله مثلاً صراطاً مستقيماً ، وعلى جَنَبتَي الصِّراط سُورانِ ، فيهما أبوابٌ مفتَّحَةٌ ، وعلى الأبوابِ ستورٌ مُرخاةٌ ، وعلى بابِ الصِّراط داعٍ يقول : يا أيُّها النّاس ، ادخُلوا الصِّراط جميعاً ، ولا تعوجُّوا ، وداعٍ يدعو من جَوفِ الصِّراطِ ، فإذا أرادَ أنْ يفتحَ شيئاً من تلكَ الأبوابِ ، قال : ويحكَ لا تَفتَحْهُ ، فإنَّك إنْ تفتحه تَلِجْهُ . والصِّراطُ : الإسلامُ . والسُّورانِ : حدودُ اللهِ . والأبوابُ المُفتَّحةُ : محارمُ اللهِ ، وذلك الدّاعي على رأس الصِّراط : كتابُ الله . والدّاعي من فوق : واعظُ اللهِ في قلب كلِّ مسلمٍ )) . زاد التِّرمذيُّ : { وَاللهُ يَدْعُو إِلَى دَارِ السَّلامِ وَيَهْدِي مَنْ يَشَاءُ إِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ } .

ท่านนบีกล่าวว่า "อัลลอฮฺได้ยกอุทาหรณ์หนึ่ง แนวทางที่เที่ยงตรง(อัศศิร้อฏอัลมุสตะกีม) ระหว่างนั้นจะมี 2 รั้ว(กำแพง) ในกำแพงนี้มีประตูเปิดอยู่ ทุกบานมีม่านปิดกั้นอยู่ ตอนต้นของอัศศิร้อฏ มีผู้เรียกร้องว่า "โอ้มนุษย์ทั้งหลาย มาเข้าศิร้อฏเถิด มาเดินในศิร้อฏอันเที่ยงตรง อย่าเบี่ยงเบน อย่าหนีไป"เบื้องบนของศิร้อฏ(ข้างใน)ก็มีผู้เรียกร้องเช่นกัน"
ผู้คนที่เดินทางศิร้อฏ ก็จะเบี่ยงเบน สนใจกำแพง ประตูบนกำแพง และอยากจะเปิดประตูเหล่านั้น
เสียงที่ศิร้อฏจะตะโกนว่า ขออัลลอฮฺเมตตาท่านเถิด อย่าเปิดประตุ (อย่าออกจาศิร้อฏ) ถ้าเปิดมันแล้วต้องเข้าแน่ 
ศิร้อฏที่เรากำลังเดินทางคือ "อิสลาม"; และ 2 กำแพงคือ ขอบเขตที่อัลลอฮฺตั้งไว้; ประตูต่างๆบนกำแพง คือ สิ่งต้องห้ามทั้งหลาย; เมื่อมนุษย์จะเปิดประตุ(สิ่งต้องห้าม) ในหัวใจทุกคนจะมีเสียงเรียกของอัลลอฮฺว่า อย่าเปิดประตูเหล่านั้น

. ففي هذا المثلِ الذي ضربه النَّبيُّ - صلى الله عليه وسلم - أنّ الإسلامَ هو الصِّراطُ المستقيم الذي أمرَ الله تعالى  بالاستقامةِ عليه ، ونهى عن تجاوُزِ حدوده ، وأنَّ مَنِ ارتكبَ شيئاً مِنَ المحرّماتِ ، فقد تعدّى حدودَه .
อุทาหรณ์นี้ อิสลามคือ อัศศิร้อฏ อัลมุสตะกีม ที่อัลลอฮฺเรียกร้องให้เรายืนหยัดในแนวทางนั้น และห้ามเรามิให้ละเมิดรั้วทั้งสอง ใครที่ปฏิบติข้อห้ามต่างๆ ถือว่าละเมิดขอบเขตหรือกำแพงที่อัลลอฮฺกำหนดไว้สำหรับอิสลาม

นะวากิดุลอิสลาม - สิ่งที่ถล่ม(ทำลาย)อิสลาม

 

WCimage
หะดีษ 02-1 อิสลาม-อีมาน-อิหฺซาน