หนึ่ง - ต้องมีการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่เดือนเราะมะฎอนก่อนที่มันจะมาถึง
สอง - อย่าเพิกเฉยต่อการเชิญชวนทำความดีและห้ามทำความชั่วเท่าที่มีความสามารถ
สาม - พยายามให้ตัวเองมีบทบาทในการเชิญชวนให้ผู้คนเป็นคนดี
สี่ - หากช่วงเวลาส่วนใหญ่ของเดือนผ่านพ้นไปแล้วก็อย่าเศร้าเสียใจ แต่ให้เริ่มต้นใหม่อีกครั้งและอย่าล้มเลิกในการทำความดีในช่วงเวลาที่มีเหลืออยู่
ห้า - หากไม่มีความรู้สึกกังวลและหวาดหวั่นต่อคุณงามความดีที่ได้ทำไปว่าจะถูกตอบรับหรือไม่ย่อมเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการครอบงำจากอารมณ์ที่ชั่วร้ายแล้ว เพราะคุณลักษณะของผู้ศรัทธานั้นจะมีความหวาดหวั่นต่อคุณงามความดีที่ได้ทำนั้นจะถูกตอบรับหรือไม่
หก - อย่าเศร้าเสียใจกับภาระหน้าที่ที่มีอยู่และเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดแต่ให้ขะมักเขม้นในการทำความดีให้ได้มากที่สุดด้วยการมอบหมายต่ออัลลอฮฺอย่างสุดหัวใจ
เจ็ด - อย่าปล่อยให้เวลาผ่านพ้นไปโดยไม่ทำคุณงามความดีใดๆ
คุณงามความดีบางประการที่ขอแนะนำให้ปฏิบัติ
- อ่านอัลกุรอานวันละ 5 ญุซเป็นอย่างน้อย
- ไปมัสญิดตั้งแต่เนิ่นๆ
- พยายามละหมาดสุนัตเราะวาติบและที่ไม่ใช่เราะวาติบ
- พยายามให้มีสมาธิในการละหมาดและหมั่นทบทวนตัวเองก่อนและหลังละหมาด
- ให้ละหมาดตะรอวีหฺและตะฮัจญุดในทุกค่ำคืน 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ถ้าละหมาดตะรอวีหฺเป็นญะมาอะฮฺก็ให้ละหมาดกิยามุลลัยลฺที่บ้านด้วย
- หมั่นซิกรุลลอฮฺด้วยลิ้นและหัวใจ โดยเฉพาะการซิกรุลลอฮฺทั้งยามเช้าและเย็น
- หมั่นขอดุอาอ์
- ไม่ปล่อยให้ห้วงเวลาของเดือนเราะมะฎอนหมดไปโดยที่ไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสุนัต
- ให้ละหมาดฎุฮาที่มัสญิดหลังละหมาดศุบุหฺ
- บริจาคทานทุกๆวัน
แปด - ให้มีความขะมักเขม้นในการทำความดีในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนและช่วงท้ายสุดของสิบวันสุดท้ายของเดือนนี้
แนวทางปฏิบัติ
- สร้างบรรยากาศให้ตลอดทั้งคืนมีชีวิตชีวาด้วยการละหมาดและรำลึกถึงอัลลอฮฺซึ่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺที่ดีที่สุดคือการอ่านอัลกุรอาน
- สร้างบรรยากาศในบ้านให้เต็มเปี่ยมด้วยความศรัทธาด้วยการขะมักเขม้นในการทำความดีและปลุกสมาชิกในครอบครัวให้ละหมาดตะฮัจญุด
- ไม่ร่วมหลับนอนกับภรรยาแต่ให้ขะมักเขม้นในการทำความดี
- อิอฺติกาฟที่มัสญิดและแสวงหาค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
- กินแต่พอดี
- อาบน้ำแต่งตัวให้สะอาดเรียบร้อยโดยเฉพาะในช่วงสิบคืนสุดท้าย
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم
والحمد لله رب العالمين
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 877 views
