เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
การกุนูตในเดือนรอมฎอน
ดุอาอฺกุนูตในวิตรฺตลอดปีคือบทกุนูตของอัลหะซัน (“อัลลอฮุมมะฮฺดินีฟิมันหะดัยตฺ..." [ดูบทกุนูต]) เป็นที่ยอมรับในทุกมัซฮับ และจากหะดีษของท่านอับดุรเราะหฺมาน อิบนุลกอรียฺ บอกว่า เมื่อกุนูตในละหมาดวิตรฺ บรรดาซอฮาบะฮฺจะสาปแช่งบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาใน 15 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน โดยกล่าวว่า
มีดุอาอฺอีกบทหนึ่งที่บรรดาซอฮาบะฮฺ เช่น ท่านอุมัร อิบนุลค็อฏฏ็อบ มักจะขอคือ
ดุอาอฺกล่าวก่อนหรือหลังให้สลามในละหมาดวิตรฺ
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُ بِرِضَاكَ مِنْ سَخَطِكَ ،
หลังจากให้สลามละหมาดวิตรฺ ให้กล่าวประโยคต่อไปนี้ 3 ครั้ง
سُبْحَانَ الْمَلِكِ الْقُدُّوْس
“มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้ทรงอำนาจผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง”
ในการรายงานของท่านอบูดาวูด บอกว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวด้วยเสียงดังยาวในครั้งที่สาม แต่ไม่มีจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หรือซอฮาบะฮฺให้กล่าวซิกรฺนี้โดยพร้อมเพรียงกัน ที่ถูกต้องคือต่างคนต่างกล่าว (ส่วนวรรค رَبُّ الْمَلائِكَةِ وَ الْرُوْح สายรายงานฎออีฟ (อ่อน))
บางครั้ง เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดวิตรฺเสร็จแล้ว ท่านจะละหมาดอีก 2 ร็อกอัต โดยอ่านซูเราะฮฺอัซซัลซะละและอัลกาฟิรูน มีหะดีษของท่านอิบนุคุซัยมะฮฺ ในหนังสืออัศศ่อฮี้ฮฺ ท่านอิมามอัดดาริมียฺในหนังสืออัซซุนัน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงการเดินทางย่อมทำให้อ่อนเพลียและไม่สะดวก (ในการละหมาด) ถ้าหากพวกท่านละหมาดวิตรฺแล้วและสามารถละหมาดอีก 2 ร็อกอัตก็ให้ละหมาด แต่ถ้าหากตื่นแล้วไม่ได้ละหมาด ก็ถูกบันทึกว่าได้ละหมาดเช่นเดียวกัน”
อุละมาอฺบางท่านบอกว่า การละหมาดสองร็อกอัตนี้ขัดกับคำสั่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า “พวกท่านจงทำให้การละหมาดสุดท้ายของยามกลางคืนคือละหมาดวิตรฺ” เชคอัลบานียฺบอกว่าคำสั่งที่ให้วิตรฺเป็นละหมาดสุดท้ายนั้นไม่ใช่วาญิบ เป็นมุสตะฮับ(ชอบให้กระทำ) แต่หากเราอยากละหมาดหลังวิตรฺอีกก็ทำได้ ไม่ถือว่าผิดซุนนะฮฺ เพราะมีแบบฉบับจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่รองรับ เช่น ละหมาดตะรอวิหฺและวิตรฺกับอิมามที่มัสญิดเสร็จแล้ว หลังจากนั้นก็ละหมาดอีกได้เป็นจำนวนคู่ร็อกอัต ดังกรณีซอฮาบะฮฺที่ขอคำแนะนำจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับเรื่องละหมาดวิตรฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่า ถ้ามั่นใจให้ละหมาดตอนท้าย ถ้าไม่มั่นใจให้ละหมาดวิตรฺก่อนนอน และถ้าตื่นก็สามารถละหมาดอีกได้
นอกจากนี้ เราควรศึกษาวิธีปฏิบัติในละหมาดเพื่อให้การทำอิบาดะฮฺมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิเช่น การดุอาอฺอิสติฟตาหฺ(ดุอาอฺเริ่มต้นละหมาด) ดุอาอฺอิสติอาซะฮฺ (ดุอาอฺขอความคุ้มครองจากชัยฏอน) ซึ่งมีหลายบท สามารถเลือกท่องจำและนำมาอ่านในการละหมาดกิยามุลลัยลฺได้
การยกมือในกุนูต
ไม่มีตัวบทจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับเรื่องการยกมือในกุนูตเฉพาะ มีเพียงหลักฐานว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ขอดุอาอฺแน่นอน แต่ไม่มีตัวบทว่ายกมือหรือไม่ ส่วนจากซอฮาบะฮฺและตาบิอีนมีบางท่านยกมือ ทรรศนะอุละมาอฺจึงบอกว่าปฏิบัติได้ทั้งยกมือและไม่ยก ถ้าอิมามยกมือมะมูมก็สมควรยก ถ้าอิมามไม่ยกมือมะมูมก็ไม่สมควรยก ตามทรรศนะของอุละมาอฺบางท่าน ส่วนทรรศนะของผมแล้วแต่ความเหมาะสม แม้ว่าอิมามจะยกหรือไม่ก็ตาม
ในขณะที่อิมามยืนละหมาดและอ่านยาว เราควรพยายามจับคำศัพท์ที่พอรู้และใคร่ครวญเรื่องราวเกี่ยวกับคำศัพท์นั้น เช่น อิบรอฮีม อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงกล่าวถึงเรื่องราวของท่านนบีอิบรอฮีม عليه السلام เพื่อดึงคุชัวอฺให้อยู่กับอัลกุรอาน ถ้าเราไม่เข้าใจความหมายของอัลกุรอาน ก็ให้ตระหนักว่าที่เรากำลังได้ยินคือพระดำรัสของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา โดยอาจเตรียมตัวศึกษาความหมายอัลกุรอานล่วงหน้าในส่วนที่อิมามจะอ่าน
วันที่ลงบทความ : 9 ต.ค. 49
ที่มา : เรียบเรียงจากการบรรยายของ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี, 2549-09-10 การละหมาดกิยามุลลัยลฺ 2 (บ้านตานีพันธ์)
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 2584 views