16.1 ในหะดีษซึ่งรายงานโดยอะบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวถึงชายคนหนึ่งได้สมสู่กับภรรยาของเขาในตอนกลางวันของเดือนรอมฎอน และว่าเขาจะต้องถือศีลอดใช้และไถ่โทษหรือไถ่บาป คือจะต้องปล่อยทาสให้อิสระ ถ้าเขาไม่สามารถกระทำได้ก็ให้เขาถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้เขาแจกอาหารให้คนยากจน 60 คน
16.2 ผู้ใดที่จำเป็นแก่เขาจะต้องไถ่บาปหรือกั้ฟฟาเราะฮฺ แต่เขาไม่สามารถที่จะปล่อยทาสให้เป็นอิสระได้ หรือไม่สามารถที่จะถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกันได้ หรือไม่สามารถที่จะแจกอาหารให้แก่คนยากจน 60 คนได้ การไถ่บาปหรือกั้ฟฟาเราะฮฺก็ตกไป หรือถูกยกเลิกไป คือไม่ต้องกระทำการไถ่บาป เพราะไม่เป็นการบังคับหรือเป็นภาระหน้าที่ เว้นแต่เมื่อมีความสามารถ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า
لاَ يُكَلِّفُ اللّهُ نَفْساً إِلاَّ وُسْعَهَا
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับผู้ใด เว้นแต่ด้วยความสามารถของเขา“ (2/286)
และด้วยหลักฐานการกระทำของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือท่านได้ยกเลิกการไถ่บาปจากชายคนหนึ่ง เมื่อเขาเล่าให้ท่านฟังถึงความยากจนของเขา แล้วท่านได้นำเอาอินทผลัมถุงหนึ่งให้เขาไปเพื่อเอาไปให้ครอบครัวของเขากินกัน
16.3 ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายภรรยาไม่จำเป็นต้องไถ่บาป เพราะท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้รับทราบจากการกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างชายคนนั้นกับภรรยาของเขา ท่านร่อซูลมิได้บังคับให้ฝ่ายภรรยากระทำนอกจากการไถ่บาปครั้งเดียวโดยฝ่ายสามี อัลลอฮฺทรงรอบรู้ดียิ่ง
ที่มา : หนังสือ การถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม, อาจารย์อะหมัด สมะดี ร่อหิมะฮุลลอฮฺ
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 332 views