- แปลคลาดเคลื่อน **ไม่บังควร** --> ไม่อนุญาต, หะรอม, เป็นไปไม่ได้
- สังคมมุสลิมมี 2 อำนาจคือ อำนาจของผู้รู้และอำนาจของทางการ(ผู้มีบารมี)
- ผู้ศรัทธา ยิ่งลำบาก ยิ่งสร้างความตื่นเต้น และความประเสริฐในการงานของเขา ยิ่งมีอุปสรรค ยิ่งมีผลบุญ
- การเชื่อฟังผู้นำ
- ความรักและเป็นห่วงของบรรดาเศาะฮาบะฮฺต่อท่านนบี ﷺ
- อุปสรรคในการทำงาน ทำให้ตื่นเต้น
- อุปสรรคในการเดินทางมาเรียนอัลกุรอาน เช่น ฝนตก รถติด ฯลฯ
- อย่าเปลืองเวลา ทรัพยากรชีวิต กับเรื่องตื่นเต้นที่ขาดทุน ไม่คุ้มค่ากับอุปสรรคที่เราเผชิญ โดยเฉพาะในงานศาสนา
- อายะฮฺ 120-121 สำนวนสูง คำศัพท์สวยงามทางด้านภาษา จึงแปลคลาดเคลื่อน
مَا كَانَ لِأَهْلِ الْمَدِينَةِ وَمَنْ حَوْلَهُم مِّنَ الْأَعْرَابِ أَن يَتَخَلَّفُوا عَن رَّسُولِ اللَّهِ وَلَا يَرْغَبُوا بِأَنفُسِهِمْ عَن نَّفْسِهِ ۚ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمْ لَا يُصِيبُهُمْ ظَمَأٌ وَلَا نَصَبٌ وَلَا مَخْمَصَةٌ فِي سَبِيلِ اللَّهِ وَلَا يَطَئُونَ مَوْطِئًا يَغِيظُ الْكُفَّارَ وَلَا يَنَالُونَ مِنْ عَدُوٍّ نَّيْلًا إِلَّا كُتِبَ لَهُم بِهِ عَمَلٌ صَالِحٌ ۚ إِنَّ اللَّهَ لَا يُضِيعُ أَجْرَ الْمُحْسِنِينَ ﴿١٢٠﴾
9:120 *ไม่บังควร*ไม่อนุญาตแก่ชาวมะดีนะฮฺและชาวอาหรับชนบทที่พักอยู่รอบๆ จะผินหลังให้กับรอซูลของอัลลอฮฺ และ *ไม่บังควร*ไม่อนุญาตที่เขาเหล่านั้นจะห่วงชีวิตของพวกเขา มากกว่าชีวิตของท่านรอซูล ทั้งนี้เนื่องจากความกระหายน้ำก็ดี *ความทุกข์ยาก*ความอ่อนแอก็ดี และความหิวโหยก็ดี เพื่อหนทางของอัลลอฮฺนั้น จะไม่ประสบกับพวกเขา และไม่ว่าพวกเขาจะเหยียบย่างไป ณ ที่ใด ที่ทำให้พวกปฏิเสธศรัทธากริ้วโกรธก็ตาม และพวกเขาจะไม่ได้รับอันตรายจากศัตรู นอกจากการงานที่ดีถูกจารึกไว้แล้วสำหรับพวกเขาเพราะสิ่งนั้น แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้รางวัลของผู้กระทำความดีต้องสูญเสียไปเป็นอันขาด
**ไม่บังควร** --> ไม่อนุญาต, หะรอม, เป็นไปไม่ได้
- อาหรับชนบท เร่ร่อน ไม่มีที่อยู่แน่นอน มักจะเห็นตามอาหรับที่อยู่ตามหัวเมืองคือ มักกะฮฺ มะดีนะฮฺ ฏออิฟ ฯลฯ เริ่มเข้ารับอิสลามประมาณปี ฮ.ศ.7 ช่วงแรกยังไม่จริงใจในการสนับสนุนท่านนบี (เช่นเดียวกับพวกมุนาฟิกที่เป็นชาวเมืองมะดีนะฮฺ)
- ไม่อนุญาตที่จะผินหลังให้กับรอซูลของอัลลอฮฺ -- นี่คืออำนาจของ "ผู้นำ" ที่มีอำนาจสมบูรณ์, มีอำนาจประกาศจิฮาดได้ เป็นผู้นำที่มีทั้ง "อำนาจ" และ "หน้าที่"
- เชื่อฟังผู้นำในเรื่องเข้าเดือนออกเดือน ?
- ผู้นำ(อะมีร)มีหลายประเภท(ระดับ)
1- อะมีรอัลอัมมะฮฺ - ผู้นำทั่วไป
2- อะมีร อัลคอศเศาะฮฺ - ผู้นำเฉพาะกิจ, เฉพาะกลุ่ม/องค์กร,
ค่อลีฟะฮฺ (ตัวแทน) - คือตัวแทนนบี
- มีที่อ้างว่า คือตัวแทนของอัลลอฮฺ โดยอ้างหะดีษเมาฎูวฺ เพื่อให้เชื่อฟังผู้นำแบบเด็ดขาด มักมีในยุคที่เป็นผู้นำเผด็จการ ต้องเชื่อฟังผู้นำในทุกกรณี เช่น ซาอุดี้
- ผู้นำทำชั่ว สั่งให้คนอื่นทำชั่ว หรือบังคับให้ประชาชนทำความชั่ว ก็อย่าไปยุ่งกับเขา ถ้าเขายังเป็นมุสลิม ห้ามตำหนิแม้แต่น้อย ต้องขอดุอาอฺให้ผู้นำ
สังคมมุสลิมมี 2 อำนาจคือ อำนาจของผู้รู้และอำนาจของทางการ(ผู้มีบารมี)
สะลัฟเกือบทั้งหมดเห็นว่า ผู้นำคือผู้รู้ คอลีฟะฮฺทั้ง 4 เป็นผู้รู้ การวินิจฉัยของเขาต้องเอามาใช้
- ผู้นำตูนิเซีย
- อุละมาอฺในยุคเชคบินบาส กล้าพูดกล้าวิจารณ์ผู้นำมุสลิม
- ผู้นำที่ต้องเชื่อฟังคือผู้นำที่ปฏิบัติแนวทางของท่านนบี
- เชื่อฟังผู้นำอย่างไร ? "เสียงส่วนมาก"ในอิสลาม ?
- ประชาธิปไตย กับ เสียงส่วนมาก ในอิสลาม, ชูรอ
- ในสงครามอุฮุด นบีฝันเห็นวัวถูกเชือด ทำนายว่าอาจจะแพ้ถ้าออกไปสู้รบนอกเมือง แต่เมื่อเสียงศ่อฮาบะฮฺส่วนใหญ่เห็นว่าให้ออกไปสู้ นบีก็ทำตามเสียงส่วนมาก (ซึ่งเป็นเยาวชนไฟแรง)
- พูดแสดงความเห็นในเรื่องทีมีความรู้มีประสบการณ์
9:120 **ไม่บังควร** ไม่อนุญาต ที่เขาเหล่านั้นจะห่วงชีวิตของพวกเขา มากกว่าชีวิตของท่านรอซูล
- ต้องเป็นห่วงชีวิตท่านนบีมากกว่าตัวเอง เศาะฮาบะฮฺทั้งหมดเป็นแบบนั้น
- ตอนหุดัยบียะฮฺ ท่านนบีเจรจากับตัวชาวกุเรช (สุฮัยลฺ อิบนุอัมรฺป เขาจับเคราท่านนบี ศฮบ รีบปัดและห้ามไว้
- ในฮัจยะตุลวะดาอฺ มุสลิมจากทั่งคาบสมุทรอาหรับมาทำฮัจญฺ
- อุละมาอฺให้เกียรติหะดีษของท่านนบีอย่างมาก
- รักและให้เกียรติท่านนบีและซุนนะฮฺของท่าน
- บททดสอบความรักต่อท่านนบีและซุนนะฮฺของท่าน
9:120 ทั้งนี้เนื่องจากความกระหายน้ำก็ดี ความทุกข์ยากความอ่อนแอก็ดี และความหิวโหยก็ดี เพื่อหนทางของอัลลอฮฺนั้น จะไม่ประสบกับพวกเขา และไม่ว่าพวกเขาจะเหยียบย่างไป ณ ที่ใด ที่ทำให้พวกปฏิเสธศรัทธากริ้วโกรธก็ตาม และพวกเขาจะไม่ได้รับอันตรายจากศัตรู นอกจากการงานที่ดี- ถูกจารึกไว้แล้วสำหรับพวกเขาเพราะสิ่งนั้น แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงให้รางวัลของผู้กระทำความดีต้องสูญเสียไปเป็นอันขาด
- نَصَبٌ ความทุกข์ยาก --> ความอ่อนแอ
- ผู้ศรัทธา ยิ่งลำบาก ยิ่งสร้างความตื่น และความประเสริฐในการงานของเขา
- ยิ่งมีอุปสรรค ยิ่งมีผลบุญ
- ระบบการเลือกผู้นำและการปกครองในอิสลาม
- หลังสงครามฏออิฟ ชาวฏออิฟมาเป็นทาส (รวมทั้งนางจุวัยรียะฮฺ) ผู้นำฏออิฟได้มาเจรจากับท่านนบีขอให้ปล่อยทาสชาวฏออิฟ ซึ่งนบีแจกจ่ายให้มุจาฮิดีนไปหมดแล้ว นบีจึงให้อาริฟไปถามผู้คนว่ายินยอมไหม (อาริฟ - ผู้นำท้องถิ่น เหมือนผู้ใหญ่บ้าน รู้จักคนในหมู่บ้านทั้งหมด)
- ท่านนบีปล่อยจุวัยรียะฮฺเป็นอิสระแล้วนิกาหฺกับนาง
- การบัยอะฮฺ
- อัลลอฮฺรับดุอาอฺของกาฟิรไหม ?
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 72 views