กิตาบุศศ่อลาฮฺ 19 (บาบ 32-33) | 28/12/64

Submitted by dp6admin on Sat, 01/01/2022 - 21:19
หัวข้อเรื่อง
มารยาทของการผินหน้าไปทางกิบละฮฺ เช่น
- ถ้าไม่ได้หันไปทางกิบลัตโดยเจตนาและไม่ได้เจตนา ละหมาดใช้ได้มั้ย ?
- มุมหรือองศา ของกิบลัต ถ้ายังอยู่ระหว่างตะวันตก-ตะวันออก ก็ใช้ได้
บาบ 32- ที่มาของการหันหน้าไปทางกิบลัต
- ตัวบทหลักฐานที่เกี่ยวกับกิบลัตและสำหรับผู้(รู้)ที่เห็นว่าไม่ต้องละหมาดชดใช้ สำหรับผู้ที่หลง(ไม่เจตนา)ไปจากกิบลัต
- การใช้ عَنْ และ حّدَّثَنَا ในสายรายงานหะดีษ
บาบ 33- การขูดเสมหะด้วยมือจาก(ผนัง)มัสจิด
- การถ่มน้ำลาย คายเสมหะ หรือสั่งน้ำมูก ในละหมาด (ไปทางกิบลัต)

วันที่บรรยาย
25 จุมาดัลอูลา 1443
วันที่บรรยาย
ขนาดไฟล์
90.00 mb
ความยาว
79.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

มารยาทของการผินหน้าไปทางกิบละฮฺ เช่น
- ถ้าไม่ได้หันไปทางกิบลัตโดยเจตนาและไม่ได้เจตนา ละหมาดใช้ได้มั้ย ?
- มุมหรือองศา ของกิบลัต ถ้ายังอยู่ระหว่างตะวันตก-ตะวันออก ก็ใช้ได้

بَابُ مَا جَاءَ فِي الْقِبْلَةِ، وَمَنْ لاَ يَرَى الإِعَادَةَ عَلَى مَنْ سَهَا فَصَلَّى إِلَى غَيْرِ الْقِبْلَةِ
บาบ 32- ตัวบทหลักฐานที่เกี่ยวกับกิบลัตและสำหรับผู้(รู้)ที่เห็นว่าไม่ต้องละหมาดชดใช้ สำหรับผู้ที่หลง(ไม่เจตนา)ไปจากกิบลัต

จาก หะดีษ 401 ท่านนบีลืมในละหมาด(ละหมาดเกิน)และได้สุจูดซะฮฺวี

ฟาศิลุลยะซีร - ช่วงขาดตอน(จำแนก)เล็กน้อย
เช่น ละหมาดเสร็จแล้ว รู้ว่าละหมาดขาดไปจึงชดใช้ และสุจูดซะฮฺวี 
แต่ถ้าละหมาดเสร็จนานแล้ว เพิ่งรู้ ช่วงขาดตอนนานเกินไป (ฟาศิล ฆ็อยรุยะซีร) ให้ละหมาดใหม่

بَابُ مَا جَاءَ فِي الْقِبْلَةِ - ที่มาของการหันหน้าไปทางกิบลัต

หะดีษ 402a ที่มาของการหันหน้าไปทางกิบลัต - 3 เรื่องที่ท่านอุมัรพูดตรงกับบัญญัติของอัลลอฮฺ

อนัส (อิบนุมาลิก) รายงานจากอุมัร (อิบนุลค็อตต๊อบ) - อุมัรได้กล่าวว่า - ข้าพเจ้าได้พูดตามที่อัลลอฮฺบัญญัติ (อุมัรมีความเห็นตามบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า)ในสามประเด็น (กุรอานถูกประทานลงมา ตรงกับความเห็นของอุมัรที่เสนอกับท่านนบี)
(1) ฉัน(อุมัร)กล่าวกับท่านนบีว่า "โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ หากเรายึดเอามะก่อมอิบรอฮีมเป็นที่ละหมาด" แล้วอัลลอฮฺก็ประทานอายะฮฺ "2:125 จงยึดเอามะก่อมอิบรอฮีมเป็นที่ละหมาด"
(2) และอายะตุ้ลหิจาบ - ฉัน(อุมัร) ได้กล่าวกับท่านนบีว่า "โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ถ้าหากว่าท่านได้สั่งภรรยาของท่านให้สำรวมตัว(และไม่ออกนอกบ้านตามอัธยาศัยเหมือนสตรีทั่วไป เนื่องจากสถานะของพวกนางพิเศษเพราะเป็นภรรยานบี) 
เพราะแท้จริง (ถ้าพวกนางออกนอกบ้านเหมือนสตรีทั่วไป) คนดีคนเลวก็จะมีโอกาสพูดคุยกับนาง (และจะบั่นทอนสถานะของพวกนาง)" (สำหรับภรรยานบี ห้ามออกนอกบ้านถ้าไม่มีความจำเป็น สำหรับสตรีทั่วไป เป็นมารยาท(ไม่ใช่ข้อบังคับ))
(3) (เรื่องที่สาม คือภรรยานบี(ท่านหญิงอาอิชะฮฺและฮัฟเซาะฮฺ) แสดงความหึงหวงท่านนบี จึงวางแผนไม่ให้ท่านนบีไปหา ซัยหนับ บินตุญะหชฺ) ท่านอุมัรจึงตักเตือนว่า พวกนางทำให้ท่านนบีลำบากใจ หากอัลลอฮฺจะหย่าพวกนาง ก็จะทดแทนด้วยหญิงที่ดีกว่า อัลลอฮฺก็ได้ประทานอายะฮฺกุรอานยืนยันเนื้อหานี้ลงมา

- อิมามอิบนุหะญัร รวบรวมมาได้ 15 ประเด็นที่ อัลลอฮฺยืนยันในทัศนะของอุมัร อิบนุลคอตต๊อบ

หะดีษ 402b (สายรายงานที่สอง)

หะดีษ 402a รายงานโดยใช้ عَنْ
عَنْ حُمَيْدٍ، عَنْ أَنَسٍ،
402b - ใช้ حدثنا
การใช้ عَنْ และ حّدَّثَنَا ในสายรายงานหะดีษ

หะดีษ 403 การเปลี่ยนกิบลัตขณะละหมาดที่มัสยิดกุบาอฺ
ชาวเมืองกำลังละหมาดที่มัสยิดกุบาอฺ มีชายคนหนึ่งมาบอกตอนละหมาดว่านบีเปลี่ยนกิบลัตเป็นกะอฺบะฮฺแล้ว พวกเขาจึงเปลี่ยนกิบลัตจากเมืองชาม(ทางเหนือ)ไปเป็นกะอฺบะฮฺ(ทางใต้)ขณะละหมาด

- กุบาอฺเป็นมัสจิดของบนูอัมรฺ อิบนุเอาสฺ (มะดีนะฮฺมีเผ่าเอาสฺ คอสรอจ และชาวยิว)
- ทุกวันเสาร์ ท่านนบีจะอาบน้ำละหมาดที่บ้านแล้วเดินไปมัสจิดกุบาอฺ 

หะดีษ 404 ท่านนบีละหมาดเกิน จึงหันกลับไปทางกิบลัตแล้วสุจูดซะฮฺวี

باب حَكِّ الْبُزَاقِ بِالْيَدِ مِنَ الْمَسْجِدِ
บาบ 33- การขูดเสมหะด้วยมือจาก(ผนัง)มัสจิด

- การถ่มน้ำลาย คายเสมหะ หรือสั่งน้ำมูก ในละหมาด (ไปทางกิบลัต)

หะดีษ 405 การถ่มน้ำลาย คายเสมหะ หรือสั่งน้ำมูก ในละหมาด
- ไม่ควรหันไปทางกิบลัต (ด้านขวาก็ไม่ควรเช่นกัน) ให้ถ่มไปทางซ้ายหรือข้างล่าง(ที่พื้น) หรือใส่แขนเสื้อตนเอง เพราะในละหมาด เสมือนเราอยู่ต่อหน้าอัลลอฮฺ กำลังคุยกับพระองค์ ต้องรักษามารยาท
- ทัศนะอุละมาอฺส่วนมากเห็นว่า ห้ามถ่มน้ำลายในละหมาด

 

 

 

WCimage
8-19