หะดีษที่ 21-30 การยกหนี้, ระงับความโกรธ, เยี่ยมผู้ป่วย, ซิกรุลลอฮฺ, ฆ่าจิ้งจก, บริจาค

Submitted by dp6admin on Fri, 07/12/2018 - 16:10

หะดีษที่ 21 الحديث الحادي والعشرون

 مَنْ أنظَرَ مُعْسِراً ، أو وَضَع لَهُ ، أَظَلَّهُ اللهُ يَوْمَ القِيَامَةِ تحَتْ َظلِّ عَرْشِهِ ، يَوْمَ لا ظِلَّ إِلا ظِلُّهُ.  صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ใครที่เลื่อนเวลาชำระหนี้แก่ผู้ยากลำบาก หรือยกเลิกโดยไม่ต้องชำระ อัลลอฮฺจะให้เขาอยู่ภายใต้ร่มเงาบัลลังก์ของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ ซึ่งวันที่ไม่มีร่มเงานอกจากร่มเงาของพระองค์”

    สมัยญาฮิลิยะฮฺมีระบบดอกเบี้ย เมื่อยืมเงินก้อนหนึ่ง ครบกำหนดแล้วชำระไม่ได้ไม่เป็นไรแต่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นี่คือริบาญาฮิลิยะฮฺ ซึ่งเป็นดอกเบี้ยแบบปัจจุบัน แต่อิสลามปฏิวัติระบบชีวิตของมนุษย์ และแทนที่ด้วยมารยาทอันดีงาม โดยยกเลิกดอกเบี้ยและให้เลื่อนเวลาชำระหนี้ และให้มีความหวังว่าการกระทำแบบนี้มีผลบุญ

หะดีษที่ 22 الحديث الثاني والعشرون

 مَنْ كَتَمَ غَيْظَاً ، وَهُوَ قَادِرٌ عَلَى أَنْ يُنْفِذَهُ ، دَعَاهُ الله على رُؤُوْسِ الخَلائِقِ ، حَتَّى يُخَيِّرَه مِنَ الحُوْرِ العِيْنِ ، يُزَوِّجُهُ مِنْهَا مَا شَاءَ.   صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดที่ระงับความโกรธแค้น ทั้งที่เขามีความสามารถที่จะแก้แค้น อัลลอฮฺจะเรียกเขาต่อหน้าประชาชาติทั้งหลาย [1] ให้เลือกนางสวรรค์ [2] (สำหรับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่มีมารยาทแบบนี้ ก็จะมีการตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับเธอเช่นเดียวกัน) และจะให้เขาแต่งงานกับนางสวรรค์คนนี้ตามที่เขาประสงค์”

[1] ใช้สำนวน رُؤُوْس   - ศีรษะ หมายถึง ให้อยู่เหนือศีรษะ บรรดาประชาชาติทั้งหลายจะได้เห็นว่าคนนี้ระงับความโกรธของเขาในดุนยา และบอกกับประชาชาติว่าคนนี้จะมีผลบุญอย่างไร
[2]  حُوْر   - พหูพจน์   حَوْرَاء - เอกพจน์ หมายถึง สีขาวและสีดำในดวงตา ขาวจัดและดำจัด เป็นความสวยงามของสภาพดวงตา
  عِيْن - พหูพจน์ عَيْناءَ - เอกพจน์ แปลว่า ตากว้าง ตาโต  นี่คือลักษณะหนึ่งจากความสวยงามของ الْحُوْرِ الْعِيْن - นางสวรรค์
 

หะดีษที่ 23 الحديث الثالث والعشرون

مَنْ كَانَ سَهْلاً هَيِّنَاً لَيِّنَاً ، حرَّمهُ اللهُ علَى النَّار.
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดที่เป็นคนง่าย นอบน้อมต่ำต้อย นิ่มนวลกับผู้อื่น อัลลอฮฺจะให้ร่างกายของคนเหล่านี้เป็นที่ต้องห้ามสำหรับนรก”

หะดีษที่ 24  الحديث الرابع والعشرون

من يَتَكفّلْ لي أن لا يَسأَلَ الناس شيئاً ، أتَكفَّلْ له بالجنةِ .
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดที่รับปากกับฉัน (ท่านนบี  ) ว่าจะไม่ขอทานจากมนุษย์เลย ฉันจะรับประกันว่าเขาจะเข้าสวรรค์”

    ไม่ขอทาน ถึงแม้ว่ายากจน ขัดสน หรือลำบาก แต่ซอบัรอดทน ไม่ขอใคร ขออัลลอฮฺเท่านั้น ท่านนบี   สอนศ่อฮาบะฮฺใกล้ชิดว่า ใครเอาอะไรมาให้รับได้ ไม่ปฏิเสธ แต่เดินไปขอทานเขา อิสลามไม่สนับสนุน คนยากจนมีสิทธิ์ไปขอคนรวย แต่นบี   บอกว่าถ้าไม่ไปขอทาน ฉันรับประกันว่าจะเข้าสวรรค์ นบี   สอนให้มุสลิมมีศักดิ์ศรี คนที่ไปเสนอตัวขอทาน ศักดิ์ศรีมันก็จะหายไป

หะดีษที่ 25 الحديث الخامس والعشرون

 من بنى للهِ مسجداً ، ولو كَمفْحَصِ قطاةٍ لبَيْضِها ، بنى الله له بيتاً في الجنَّة.

   صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ใครที่สร้างมัสญิดเพื่ออัลลอฮฺเท่ากับที่นั่งของนกพิราบ อัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้แก่เขาในสวรรค์”

หะดีษที่ 26 الحديث السادس والعشرون

إن في الجنَّة غُرفاً يُرى ظاهرُها منْ باطنِها ، وباطنُها من ظاهرِها،أعدَّها الله تعالى لمن أطعمَ الطَّعامَ ، وألانَ الكلامَ ، وتابع الصِّيامَ ، وصلى بالليلِ ، والناسُ نيام.

   صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “แท้จริงในสวนสวรรค์มีอาคารซึ่งภายนอกของมันสามารถมองได้จากภายใน และภายในของอาคารสามารถมองได้จากภายนอก*  อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้สำหรับคนที่บริจาคอาหาร(แก่คนยากจน) และใช้ถ้อยคำที่นิ่มนวล  และถือศีลอดอย่างต่อเนื่อง และละหมาดกลางคืนขณะที่ผู้คนนอนหลับอยู่

*อุละมาอฺได้อธิบายว่า หมายถึงความสดใสของวัตถุที่ใช้ในการสร้างอาคาร บ้านหรือวังในสวนสวรรค์ ซึ่งในหลายหะดีษของท่านนบี   จะบอกรายละเอียดมากกว่านี้ เช่น ในสวนสวรรค์จะมีบ้านที่ถูกสร้างจากไข่มุก ก็เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าถ้ามีบ้านสร้างจากเพชร ทับทิม ไข่มุก สดใส คนที่อยู่ข้างในก็สามารถเห็นคนที่อยู่ข้างนอก คนที่อยู่ข้างนอกก็สามารถเห็นคนที่อยู่ข้างใน นั่นแสดงถึงความบริสุทธิ์ของวัตถุที่ถูกใช้ในการสร้างสวนสวรรค์ 

หะดีษที่ 27 الحديث السابع والعشرون

 من قتل وزغةً في أوَّل ضربْةٍ كُتِب له مائةُ حَسنةٍ ، ومن قَتلها في الضَّربة الثَّانية ، فلهُ كذا وكذا حسنة ، وإن  قَتلها في الضَّربة الثالثة فله كَذا وكَذا حسنةً.  
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดฆ่าจิ้งจกด้วยการตีครั้งแรก สำหรับเขาได้ 100 ความดี ผู้ใดฆ่าจิ้งจกด้วยการตีครั้งที่สอง สำหรับเขาได้ความดีจำนวนหนึ่ง(น้อยกว่า 100) และหากฆ่าจิ้งจกด้วยการตีครั้งที่สาม ก็ได้ความดีจำนวนหนึ่ง(แต่น้อยกว่าฆ่าด้วยการตีครั้งที่สอง)”

    อุละมาอฺได้วิเคราะห์เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าจิ้งจกหลายประการ ในหะดีษรายงานโดยท่านอุมมุชะรีก บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรียฺและมุสลิม อุมมุชะรีกบอกว่า ท่านนบีใช้ให้ฆ่าจิ้งจก และท่านนบี   ได้ให้เหตุผลว่า จิ้งจกเป็นสัตว์เดรัจฉานชนิดหนึ่งที่เป่าไฟขณะที่ท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ถูกเผาในไฟสมัยกษัตริย์นัมรูด (ท่านนบีอิบรอฮีมท้าทายนัมรูดว่าใครที่เป็นพระผู้เป็นเจ้า พระผู้อภิบาล นัมรูดก็ท้าทายว่าตัวเองเป็นพระเจ้า จนสุดท้ายอิบรอฮีมได้อ้างหลักฐานชัดเจนที่นัมรูดตอบโต้ไม่ได้ ก็เลยสั่งให้เผานบีอิบรอฮีม ขณะที่ท่านนบีอิบรอฮีมถูกเผาอยู่ สัตว์ทุกชนิดพยายามที่จะดับไฟ ยกเว้นจิ้งจก)  ตรงนี้มาจากท่านนบี   ประทับตรา “ศรัทธา” (ไม่ใช่ศรัทธาแล้วเอาสติปัญญาโยนทิ้งไป ต้องมีเหตุผลทางปัญญาด้วย แต่อันนี้เป็นเหตุผลด้านศาสนา นบีบอกไว้อย่างนี้ ) เหตุผลอย่างอื่นก็มีตัวบททางศาสนาเช่นเดียวกัน แต่ที่บอกว่าศรัทธาเพราะเป็นเรื่องเร้นลับสมัยท่านนบีอิบรอฮีมที่เราไม่เห็น

หะดีษที่ 28 الحديث الثامن والعشرون

 مَنْ عَادَ مَرِيْضَاً ، أَوْ زَارَ أَخَاً لَهُ في الله ، نَادَاهُ مُنَادٍ :أَنْ طِبْتَ وَطَابَ مَمْشَاكَ ، وَتَبَوَّأتَ من الجنةِ منزلاً. 
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดไปเยี่ยมคนป่วย หรือเยี่ยมเยียนพี่น้องของเขาเพื่ออัลลอฮฺ จะมีผู้เรียก*  ขอให้ท่านเป็นผู้ที่บริสุทธิ์เถิด และขอให้แนวทางของท่านเป็นแนวทางที่บริสุทธิ์เถิด และขอให้ท่านเป็นผู้ที่มีที่พำนักอยู่ในสวรรค์อย่างแน่นอนเถิด”

*อัลลอฮฺจะแต่งตั้งผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อเรียกคนเหล่านี้ที่ไปเยี่ยมผู้ป่วยหรือเยี่ยมพี่น้องของเขาเพื่ออัลลอฮฺ

    อัลลอฮฺแต่งตั้งให้ท่านนบีมาประกาศแบบนี้ แสดงว่าเป็นการรับรองจากอัลลอฮฺว่าคนที่ไปเยี่ยมคนป่วยหรือเยี่ยมพี่น้องของเขาเพื่ออัลลอฮฺ จะมีความบริสุทธิ์ในการกระทำ แนวทางปฏิบัติของเขาย่อมเป็นความบริสุทธิ์ และจะเป็นแนวทางไปสู่ผลคือการพำนักอยู่ในสวรรค์ มีบ้านอาศัยอยู่ที่สวนสวรรค์ เป็นการสนับสนุนให้ผู้ศรัทธาเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่กัน

หะดีษที่ 29 الحديث التاسع والعشرون

 مَنْ أَتَى أَخَاهُ المسلِمَ عَائِدَاً ، مَشَى في خِرافَةِ الجنةِ حَتَّى يَجْلِسَ ، فإذا جَلَسَ غمرتهُ الرَّحمة ، فإِن كان غُدْوة ً، صلى عليه سبعون ألف مَلَكٍ حتى يُمسي ، وإن كان مساءً ، صلَّى عليه سبعون ألف مَلَكٍ حتى يُصبحَ .  صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดเดินไปเยี่ยมเยียนพี่น้องมุสลิมของเขาซึ่งเป็นคนป่วย การเดินของเขาเปรียบเสมือนการเดินในสวนสวรรค์ที่มีผลไม้สดอันสวยงาม*  จนกระทั่งไปถึงคนป่วยแล้วนั่ง เมื่อนั่งใกล้คนป่วยแล้ว ความเมตตาก็จะมายังเขาอย่างทั่วถึง**  ถ้าหากไปเยี่ยมเยียนตอนเช้า มลาอิกะฮฺเจ็ดหมื่นท่านจะศ่อละวาตวิงวอนขอดุอาอฺให้เขาจนกระทั่งค่ำ และหากไปเยี่ยมตอนเย็น มลาอิกะฮฺเจ็ดหมื่นท่านจะศ่อละวาตวิงวอนขอดุอาอฺให้เขาจนกระทั่งเช้า”

 *หมายถึงการกระทำของเขานำไปสู่ผลตอบแทนคือ สวนสวรรค์
**คำว่า غَمَرَتْ  แปลว่า จม หมายถึงความเมตตาจะล้อมทุกส่วนในร่างกายของเขา ในบริเวณของเขา
 

หะดีษที่ 30 الحديث الثلاثون

من قال أَسْتَغْفِرُ الله الذي لا إله إلا هو الحيُّ القيومُ وأتُوبُ إليه ، غَفَرَ الله لهُ وإِن كان فَرَّ من الزَّحْفِ.   
صحيح الترمذي 3/2831

ความหมาย “ผู้ใดกล่าว [อัสตัฆฟิรุลลอฮัลละซี ลาอิลาหะอิลลาฮุวัลหัยยุลก็อยยูม วะอะตูบุอิลัยฮ] ฉันขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ผู้ทรงชีวิน ผู้ทรงดูแลอภิบาล และขอกลับเนื้อกลับตัวยังพระองค์ อัลลอฮฺจะทรงให้อภัยโทษแก่เขา ถึงแม้เขาเคยกระทำความผิดโดยการหนีสงคราม*"
*ท่านนบี   ได้บอกไว้ว่าบรรดากะบีเราะฮฺมีซินา กินริบา ดื่มสุรา และหนึ่งในนั้นคือ หนีสงคราม ถือเป็นกะบีเราะฮฺใหญ่ที่สุด ถ้ามีคนหนีสงครามแล้วกล่าวดุอาอฺบทนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจความจริงใจ อัลลอฮฺจะอภัยโทษ

เรื่องการขออภัยโทษเป็นเรื่องสำคัญ ท่านนบี   สอนดุอาอฺหลายบทเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นดุอาอฺที่อยู่ในหะดีษที่ 31 ท่านนบี  ได้พูดกับศ่อฮาบะฮฺท่านหนึ่งว่า
 


ที่มา : หนังสือ 40 ซุนนะฮฺจากหะดีษที่น่าปฏิบัติ, เชคริฎอ อะหมัด สมะดี