หะดีษที่ 1-10 ความประเสริฐของซูเราะฮฺ, ซิกรุลลอฮฺ, การละหมาดซุนนะฮฺ

Submitted by dp6admin on Wed, 13/01/2010 - 15:36

หะดีษเหล่านี้เชคอัลบานียฺตรวจสอบแล้ว มีทัศนะว่าเป็นหะดีษเศาะฮี้ฮฺ

หะดีษที่ 1  الحديث الأول

;">مَنْ قَرَأَ ﴿ قُلْ هُوَ اللهُ أَحَدٌ ﴾ حَتَّى يَخْتِمْهَا عَشَرَ مَرَّاتٍ بَنَى اللهُ لَهُ قَصْراً فِي الْجَنَّة ، فَقَالَ عُمَر رَضِيَ اللهُ عَنْهُ : إِذَنْ نَسْتَكْثِرُ قُصُوْراً يَا رَسُوْلَ الله . فَقَالَ رَسُوْلُ الله:  ( اللهُ أَكْثَرُ وَأَطْيَب ) . السلسلة الصحيحة 1/589

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดอ่าน กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด จนจบ 10 ครั้ง  อัลลอฮฺจะทรงสร้างวังให้แก่เขาในสวนสวรรค์” ท่านอุมัร อิบน อัลค็อฏฏ็อบ   กล่าวว่า “โอ้ร่อซูล หากว่ามันง่ายขนาดนี้ เราก็ยิ่งสร้างวังในสวรรค์กันใหญ่สิ” ท่านนบี   กล่าวว่า “ที่อัลลอฮฺทรงมีนั้นมากกว่าและดีกว่า ”

หะดีษที่ 2 الحديث الثاني

مَنْ قَرَأَ سُوْرَةَ (الكَهْفِ) فِيْ الجُمُعَةِ،أَضَاءَ لَهُ مِنَ النُّوْرِ مَا بَيْنَ الجُمُعَتَيْنِ . صحيح الجامع الصغير وزياداته

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า  “ผู้ใดอ่านซูเราะฮฺอัลกะหฺฟิ(ทั้งซูเราะฮฺ) ในวันศุกร์ จะมีแสงสว่างปรากฏให้แก่เขาในระหว่างสองศุกร์ "

แสงสว่างจากอัลลอฮฺ   เป็นอุปมาสำหรับคนที่ต้องการฮิดายะฮฺ เพราะซูเราะฮฺอัลกะหฺฟินั้นมีเคล็ดลับที่ท่านนบี   ได้แนะนำถึงการที่จะพ้นจากฟิตนะฮฺของมะซีหฺอัดดัจญาลคือ มีหะดีษบทหนึ่งบอกว่าให้อ่านหรือท่องจำ 10 อายะฮฺแรกของซูเราะฮฺอัลกะหฺฟิ และอีกบทหนึ่งให้อ่านหรือท่องจำ 10 อายะฮฺสุดท้ายของซูเราะฮฺ  อัลกะหฺฟิ ทั้งๆที่เราขอดุอาอฺทุกเวลาละหมาดฟัรฎูก่อนที่จะให้สลามแล้ว
รัศมีที่ท่านนบี   บอกว่าจะเกิดขึ้นจากการอ่านซูเราะฮฺอัลกะหฺฟิในวันศุกร์ คือรัศมีที่มาจากเนื้อหาของซูเราะฮฺนี้ ที่จะทำให้เรามีแสงสว่างหรือรัศมีแห่งฮิดายะฮฺหรือทางนำที่มาจากอัลลอฮฺ ไม่ได้หมายถึงแสงจริงๆ แต่เป็นอุปมาเป็นนามธรรม

สำหรับเวลาของการอ่านซูเราะฮฺอัลกะหฺฟินั้น ในทรรศนะที่ถูกต้อง เวลาที่สมควรอ่านคือ ตั้งแต่หลังละหมาดซุบหิจนถึงก่อนละหมาดมัฆริบ มีอีกทรรศนะที่มาจากการตีความว่าให้อ่านในค่ำคืนของวันศุกร์ได้ คือหลังมัฆริบของวันพฤหัส เพราะตีความว่าวันศุกร์เริ่มตั้งแต่คืนวันพฤหัส แต่ทรรศนะของอุละมาอฺส่วนมากบอกว่าให้อ่านได้ตั้งแต่ซุบหิของวันศุกร์จนถึงมัฆริบ เพราะความประเสริฐของวันศุกร์อยู่ในกลางวันไม่ใช่ในกลางคืน ฉะนั้นการอ่านซูเราะฮฺอัลกะหฺฟิที่ดีที่สุดให้อ่านตอนกลางวัน เหมือนการอาบน้ำซุนนะฮฺของวันศุกร์ ทรรศนะที่ถูกต้องคือให้อาบหลังอะซานซุบหิ

หะดีษที่ 3  الحديث الثالث

مَنْ حَفِظَ عَشْرَ آَيَاتٍ مِنْ أَوَّلِ سُوْرَةِ الكَهْفِ،عُصِمَ مِنْ فِتْنَةِ الدَّجَّالش .  صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดท่องจำสิบอายะฮฺแรกของซูเราะฮฺอัลกะหฺฟิ จะได้รับการป้องกันจากฟิตนะฮฺของดัจญาล”

ซูเราะฮฺอัลกะหฺฟินับว่ามีความไพเราะในสำนวน นอกจากนี้เนื้อหาสาระที่มีอยู่น่าสนใจ มีเรื่องราวของบรรดานบีและร่อซูล คนซอลิหฺ และคนที่ปฏิบัติตามแนวทางของอัลลอฮฺ  

หะดีษที่ 4  الحديث الرابع

مَنْ قَرَأَ آَيَةَ الكُرْسِيِّ دُبُرَ كُلِّ صَلاةٍ مَكْتُوْبَةٍ ، لَمْ يَمْنَعْهُ مِنْ دُخُوْلِ الجَنَّةِ إِلا أَنْ يَمُوْتَ .  صحيح الجامع الصغير وزياداته 

ความหมาย “ผู้ใดอ่านอายะตุลกุรซียฺภายหลังละหมาดฟัรฎู(ทุกเวลาอย่างสม่ำเสมอ) ไม่มีอะไรจะห้ามเขาเข้าสวรรค์นอกจากความตาย ”

    หะดีษบทนี้มีอุละมาอฺบอกว่าหะดีษฎออีฟ แต่เชคอัลบานียฺยืนยันว่าศ่อฮี้ฮฺ เพราะวินิจฉัยในแต่ละกระแสแล้วน่าจะมีน้ำหนักทำให้หะดีษบทนี้แข็งแรง สิ่งที่อุละมาอฺสอนตามทรรศนะหรือข้อวินิจฉัยอาจมีข้อแตกต่าง แต่ไม่ใช่ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่าฎออีฟ ถ้าเอามาสอนหมายถึงว่ายังให้น้ำหนักว่าสอนได้
    อายะตุลกุรซียฺนี้เป็นอายะฮฺที่ยาวพอสมควร ประมาณ 8-10 บรรทัด แต่มีคุณค่าและความประเสริฐมาก และสามารถช่วยเหลือมนุษย์ในหลายสถานการณ์ที่เป็นวิกฤต ทั้งวิกฤตเกี่ยวกับชัยฏอนมารร้าย ความยากลำบาก ความเครียด อายะตุลกุรซียฺช่วยได้มากมาย จากหะดีษนี้การอ่านอายะตุลกุรซียฺทุกหลังละหมาดไม่ได้หมายถึงเราซื้อโฉนดในสวรรค์แล้ว แต่ให้ทำโดยมีความหวังว่าจะเข้าสวรรค์ ส่วนอัลลอฮฺ   จะรับหรือไม่ จะมีผลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่พระเมตตาของพระองค์

หะดีษที่ 5  الحديث الخامس

إِذَا أَخَذْتَ مَضْجَعَكَ مِنَ اللَّيْلِ فَاقْرَأْ  ﴿ قُلْ يَا أيُّهَا الكَافِرُوْن ﴾ ثُمَّ نَمْ عَلَى خَاتِمَتِهَا فَإِنَّهَا بَرَاءَةٌ مِنَ الشِّرْكِ.
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “เมื่อท่านได้เข้าไปยังที่นอนในยามค่ำคืน ก็จงอ่าน กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน(ทั้งซูเราะฮฺ) แล้วนอน เพราะมันเป็นการประกาศตัดข้อผูกพันจากชิริก”

หะดีษที่ 6  الحديث السادس

مَنْ تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الوُضُوْءَ ، ثُمَّ قَالَ : أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلا اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيْكَ لَهُ ، وَأَنَّ مُحَمَّدَاً عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ، الَّلهُمَّ اجْعَلْنِيْ مِنَ التَّوَّابِيْنَ وَاجْعَلْنِيْ مِنَ المُتَطَهِّرِيْنَ ، فُتِحَتْ لَهُ ثَمَانِيَةُ أَبْوَابٍ مِنَ الجَنَّةِ ، يَدْخُلُ مِنْ أَيِّهَا شَاءَ .
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดอาบน้ำละหมาดอย่างครบถ้วน แล้วกล่าวว่า “ฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกะ ไม่มีภาคีใดๆร่วมกับพระองค์ และแท้ จริงมุฮัมมัดเป็นบ่าวและร่อซูลของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ ขอให้ข้าพระองค์เป็นผู้ที่เตาบัตต่อพระองค์อย่างต่อเนื่อง  และขอให้ข้าพระองค์เป็นผู้แสวงหาความบริสุทธิ์ด้วยเถิด” ในวันกิยามะฮฺ ประตูแห่งสวรรค์ทั้ง 8 ประตูจะถูกเปิด ให้เขาเลือกเข้าสวรรค์จากประตูที่ต้องการ”

    การอาบน้ำละหมาดเป็นอิบาดะฮฺส่วนหนึ่งที่มีผลบุญมหาศาล การอาบน้ำละหมาดเป็นการชำระมลทินทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม นบี   บอกว่าหยดน้ำทุกหยดที่ไหลออกจากการอาบน้ำละหมาดหยดสุดท้ายจะนำเอาความผิดออกไปด้วย    บางครั้งเราอาจสงสัยว่าการปฏิบัติบางอย่างทำง่ายแต่ทำไมผลบุญมหาศาล อันที่จริง  อิบาดะฮฺบางอย่างเราคิดว่าทำง่าย แต่การทำอย่างสม่ำเสมอ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความเอาใจใส่นั้นยาก การกล่าวดุอาอฺบทนี้ทุกครั้งหลังอาบน้ำละหมาดไม่ใช่เรื่องง่าย และการกล่าวด้วยความสำนึกในเนื้อหาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ฉะนั้นใครที่ทำได้ทุกครั้งย่อมมีสิทธิ์ในการรับการตอบแทนดังหะดีษบทนี้

หะดีษที่ 7   الحديث السابع

مَنْ تَوَضَّأَ فَقَالَ بَعْدَ فَرَاغِهِ مِنْ وُضُوْئِهِ: سُبْحَانَكَ الَّلهُمَّ وَبِحَمْدِكَ،أَشْهَدُ أَنْ لا إِلَهَ إِلا أنْتَ ، أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوْبُ إِلَيْكَ ، كُتِبَ فِيْ رَقٍّ ثُمَّ جُعِلَ فِيْ طَابَعٍ،فَلَمْ يُكْسَرْ إِلَى  يَوْمِ القِيَامَةِ. 
صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดอาบน้ำละหมาด แล้วกล่าวภายหลังอาบน้ำละหมาดว่า มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน ด้วยการสรรเสริญซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ท่านเท่านั้น ฉันขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน ฉันขออภัยโทษจากพระองค์ท่าน และขอประกาศการกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ท่าน มลาอิกะฮฺจะบันทึกไว้ในแผ่นหนัง และจะถูกประทับตรา และจะไม่ถูกเปิดจนกระทั่งวันกิยามะฮฺ”

หมายถึงการตอบแทนและการระบุถึงผลบุญของการกล่าวดุอาอฺสำนวนนี้ไม่สามารถระบุได้ตอนนั้น ต้องไปหาอัลลอฮฺเพื่อตอบแทนผลบุญอย่างเหมาะสมในวันกิยามะฮฺ

หะดีษที่ 8  الحديث الثامن

بَيْنَمَا نَحْنُ نُصَلِّيْ مَعَ رَسُوْلِِ اللهِ    ،إِذْ قَالَ رَجُلٌ مِنَ   القَوْمِ: اللهُ أَكْبَرُ كَبِيْرَاً وَالحَمْدُ لله كثَيْرَاً وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً،فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ   : ( مَنِ القَائِلُ كَلِمَةَ كَذَا وَكَذَا) ؟ فَقَالَ رَجُل ٌمِنَ القَوْمِ : أَنَا يَا رَسُوْلَ اللهِ! قَالَ : ( عَجِبْتُ لَهَا،فُتِحَتْ لَهَا أَبْوَابُ السَّمَاءِ) ، قَالَ ابْنُ عُمَرَ: فَمَا تَرَكْتُهُنَّ مُنْذُ سَمِعْتُ رَسُوْلَ اللهِ يَقُوْلُ ذَلِكَ . صحيح مسلم

ความหมาย : ขณะที่เรากำลังละหมาดอยู่กับท่านนบี   มีชายคนหนึ่งกล่าวขึ้นมาว่า อัลลอฮฺทรงเกรียงไกรยิ่ง การสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺเท่านั้นอย่างมากมาย และมหาบริสุทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺทั้งยามเช้าและยามเย็น ท่านนบี   ได้กล่าวถามว่า “ใครที่กล่าวบทสรรเสริญเมื่อสักครู่นี้” มีชายคนหนึ่งตอบว่า “ฉันเอง โอ้ร่อซูลุลลอฮฺ” ท่านนบี  ได้กล่าวว่า “ฉันแปลกใจ เพราะเมื่อท่านกล่าวบทสรรเสริญอันนี้ ประตูแห่งชั้นฟ้าถูกเปิด(เพื่อต้อนรับคำสรรเสริญนี้)” ท่านอิบนุอุมัรได้กล่าวว่า “เมื่อได้ยินท่านนบีพูดเช่นนี้ ฉันไม่เคยทิ้งการกล่าวบทนี้เลย”

ในอัลกุรอานอัลลอฮฺได้ตรัสว่า “ยังพระองค์อัลลอฮฺ จะขึ้นไปซึ่งคำพูดที่ดี(หมายถึง การสรรเสริญ การซิกรุลลอฮฺ การพูดสิ่งที่มีผลบุญ)" จะมีอะไรประเสริฐยิ่งกว่าการที่เรากล่าวอะไรมันก็ถูกนำไปเสนอต่ออัลลอฮฺ   นั่นเป็นสิ่งที่น่าสนใจน่าเอาใจใส่สำหรับผู้ที่อยากทำสิ่งที่มีความประเสริฐ

หะดีษที่ 9   الحديث التاسع

كُنَّا نُصَلِّيْ يَوْماً وَرَاءَ النَّبِيِّ   فَلَمَّا رَفَعَ رَأْسَهُ مِنَ الرَّكْعَةِ قَالَ: (سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَه) ،قَالَ رَجُلٌ: رَبَّنَا وَلَكَ الْحَمْدُ حَمْداً كَثِيْرا ًطَيِّباً مُبَارَكاً فِيْهِ. فَلَمَّاا نْصَرَفَ قَالَ: (مَن المُتكلِّم ؟) قَالَ: أَناَ ، قَالَ: (رَأَيْتُ بِضْعَةً وَثَلَاثِيْنَ مَلَكاً يَبْتَدِرُوْنَهَا، أيُّهُم يَكْتُبْهَا أَوَّلُ ) صحيح البخاري

ความหมาย เรากำลังละหมาดอยู่กับท่านนบี   วันหนึ่ง เมื่อท่านนบี  ได้เงยขึ้นจากรุกัวอฺและกล่าวว่า สะมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะฮฺ มีชายคนหนึ่งกล่าวเสียงดังว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของเรา แท้จริงการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์แห่งพระองค์ท่านเท่านั้น เป็นการสรรเสริญอันมากมาย ดีงาม และมีความจำเริญ” เมื่อละหมาดเสร็จแล้วท่านนบี   ได้ถามว่าใครที่กล่าวการสรรเสริญเมื่อสักครู่นี้ ชายคนนั้นบอกว่า ฉันเอง ท่านนบี   กล่าวว่า “ฉันเห็นมลาอิกะฮฺ 30 กว่าท่านรีบบันทึกคำสรรเสริญอันนี้เพื่อเป็นผู้แรกในการบันทึก ”

หะดีษที่ 10  الحديث العاشر

مَنْ صَلَّى فِي الْيَوْمِ وَاللَّيْلَة إِثْنَيْ عَشَرَةَ رَكْعَةً تَطَوَّعاً ، بَنَى اللهُ لَهُ بَيْتاً فِي الْجَنَّة  . صحيح الجامع الصغير وزياداته

ความหมาย “ผู้ใดละหมาด 12 ร็อกอะฮฺในหนึ่งวันหนึ่งคืนโดยอาสา (เป็นซุนนะฮฺ ไม่ใช่วาญิบ) อัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้แก่เขาในสวนสวรรค์”

ในหนึ่งวันหนึ่งคืน เราละหมาดฟัรฎู 5 เวลา และละหมาดซุนนะฮฺมุอักดะฮฺ 12 ร็อกอะฮฺ สำหรับทรรศนะส่วนมากของอุละมาอฺหรือศ่อฮาบะฮฺนั้น ซุนนะฮฺมุอักดะฮฺคือ ก่อนละหมาดซุบหิ 2 ร็อกอะฮฺ ก่อนละหมาดศุหฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังละหมาดศุหฺริ 2 ร็อกอะฮฺ หลังละหมาดมัฆริบ 2 ร็อกอะฮฺ หลังละหมาดอิชาอฺ 2 ร็อกอะฮฺ รวม 10 ร็อกอะฮฺ ถ้าเพิ่มซุนนะฮฺก่อนศุหฺริ 2 ร็อกอะฮฺ รวมเป็น 12 ร็อกอะฮฺ เป็นทรรศนะของอิบนุอุมัร และมีอีกทรรศนะหนึ่งให้ละหมาด 4 ร็อกอะฮฺก่อนศุหฺริ และ 4 ร็อกอะฮฺหลังศุหฺริ เป็นซุนนะฮฺมุอักดะฮฺ สำหรับหะดีษนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่าถ้ารักษาการละหมาดซุนนะฮฺ 12 ร็อกอะฮฺทุกวันอย่างสม่ำเสมอ อัลลอฮฺจะสร้างบ้านให้แก่เขาในสวนสวรรค์

 


ที่มา : หนังสือ 40 ซุนนะฮฺจากหะดีษที่น่าปฏิบัติ, เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

WCimage
หะดีษที่ 1-10 ความประเสริฐของซูเราะฮฺ, ซิกรุลลอฮฺ, การละหมาดซุนนะฮฺ