22- และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน พวกเจ้าก็จงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย 49:9
23- การอธรรม(ซุลุม)ใหญ่และเล็ก
21- بَابٌ: المَعَاصِي مِنْ أَمْرِ الجَاهِلِيَّةِ، وَلاَ يُكَفَّرُ صَاحِبُهَا بِارْتِكَابِهَا إِلَّا بِالشِّرْكِ
21- การฝ่าฝืนเป็นส่วนหนึ่งของญาฮิลียะฮฺ, ผู้ที่ทำกิจการของญาฮิลียะฮฺ ไม่ถือว่าเป็นกุฟรฺ เว้นแต่เขาจะตั้งภาคี
- ญาฮิลียะฮฺคืออะไร คือสภาพที่ไม่มีอีมานไม่มีอิสลาม
- นิยามของ "สังคมญาฮิลียะฮฺ" - ทัศนะของซัยยิด กุฏบฺ และมุฮัมมัด กุฏบฺ (น้องชาย); สังคมอียิปต์ในสมัยนั้น,
- ซัยยิด กุฏบฺ เห็นว่าสังคมญาฮิลียะฮฺคือสังคมที่ตกศาสนา(มุรตัด) มีลูกศิษย์มาตีความว่า สังคมที่รัฐบาลไม่เอากฎหมายอิสลาม เป็นสังคมกาฟิร ตั้งชื่อ กลุ่มกุฏุบียูน ไม่ละหมาดตามมุสลิมอื่น
- เชคเห็นว่า ซัยยิด กุฏบฺ อาจจะมีแนวรุนแรงในการมองสงคม แต่ไม่มีข้อความชัดเจนว่ามีทัศนะว่าเป็นสังคมที่ตกมุรตัด
- อับดุลมะญีด อัชชาซุลลี ลูกศิษย์ซัยยิดและมุฮัมมัด กุฏบฺ เห็นว่า การกล่าวชะฮาดะฮฺอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่าเป็นมุสลิม (อุละมาอฺส่วนมากไม่เห็นด้วย) -- เป็นทัศนะที่ทำให้เกิดการตัดสินมุสลิมด้วยกัน ว่าเป็นมุรตัดหรือไม่ชัดเจนว่าเป็นมุสลิม ไม่ละหมาดตาม
لِقَوْلِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «إِنَّكَ امْرُؤٌ فِيكَ جَاهِلِيَّةٌ» وَقَوْلِ اللَّهِ تَعَالَى: {إِنَّ اللَّهَ لاَ يَغْفِرُ أَنْ يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَلِكَ لِمَنْ يَشَاءُ} [النساء: 48]
ท่านนบีกล่าวกับเศาะฮาบะฮฺท่านหนึ่งว่า "แท้จริงสิ่งที่ท่านทำนั้นเป็นญาฮิลียะฮฺ"
และดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า "แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์"
หะดีษ 30 - อบูซัรสมถะมาก ไม่อยากเห็นผู้คนหลงกับดุนยา จึงอพยพไปอยู่ที่เราะบะซะฮฺ (แต่ชีอะฮฺกล่าวหาว่า เคาะลีฟะฮฺอุษมานไล่ท่านออกไปจากมะดีนะฮฺ ให้ไปอยู่เราะบะซะฮฺ)
มะอฺรูรกล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้พบอบูซัรที่เราะบะซะฮฺ เขาสวมฮุลละฮฺ(เสื้อผ้าสองชั้น) คนใช้ของเขาก็ใส่ฮุลละฮฺด้วย ฉันจึงถามเขา"
เขาก็ตอบว่า "ฉันได้ทะเลาะกับคนหนึ่ง และได้เย้ย(ประนาม)เขาด้วยมารดา (บางรายงานว่า "ลูกผู้หญิงผิวดำ")
ท่านนบี(ได้ยิน) ก็กล่าวกับฉันว่า ท่านไปประนามเขาด้วยมารดาของเขากระนั้นหรือ แท้จริงท่านเป็นบุคคลที่มีส่วนหนึ่งของกิจการญาฮิลียะฮฺ,
พี่น้องของพวกท่าน(คือคนรับใช้ของพวกท่านหรือท่าน) ก็เป็นพี่น้องของพวกท่าน, อัลลอฮฺให้เขาอยู่ภายใต้มือ(การปกครอง)ของพวกท่าน, ใครที่มีพี่น้อง(ทาส) ก็จงให้เขากินจากส่วนที่พวกท่านกิน และอย่าใช้ในสิ่งที่เขาไม่ไหว ถ้าใช้ในสิ่งที่ไม่ไหว ก็จงช่วยเขาด้วย
22- بَابُ {وَإِنْ طَائِفَتَانِ مِنَ المُؤْمِنِينَ اقْتَتَلُوا فَأَصْلِحُوا بَيْنَهُمَا} [الحجرات: 9]
และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน พวกเจ้าก็จงไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย 49:9
หะดีษ 31 - อะหฺนัฟ อิบนุก็อยสฺ นักขันติธรรม หัวหน้าเผ่าใหญ่ ช่วงสงครามระหว่างท่านอะลีและมุอาวิยะฮฺ เขาเข้าข้างอะลี จะไปสนับสนุนท่าน ได้พบอบูบักเราะฮฺ เขาบอกว่าอะหฺนัฟว่า ให้กลับไปเพราะฉันได้ยินท่านนบีกล่าวว่า "ถ้ามุสลิมสองคนพบกันด้วยดาบ คนฆ่าและคนที่ถูกฆ่า เข้านรกทั้งคู่" อบูบักเราะกล่าวกับท่านนบีว่า คนที่ฆ่าก็สมควรแล้ว แต่คนที่ถูกฆ่าล่ะ (ทำไมจึงเข้านรกด้วย) ท่านนบีกล่าวว่า "คนที่ถูกฆ่าเขาก็ตั้งที่จะฆ่าคนที่ฆ่า"
ทัศนะเศาะฮาบะส่วนมากต่อความขัดแย้งระหว่าง อะลี-มุอาวิยะฮฺ
อะฮฺลุซซุนนะฮฺฯ เห็นว่าต้องหยุดในความขัดแย้งระหว่างเศาะฮาบะฮฺ "หยุด" คือ ไม่เล่า ไม่พูดเรื่องนี้, อีกทัศนะคือ เล่า พูด ศึกษาได้ เพราะชีอะฮฺบิดเบือนข้อมูลในเรื่องนี้ เราต้องตอบโต้และชี้แจงได้ แต่จะไม่วิจารณ์ ต่อว่า หรือประณามเศาะฮาบะฮฺ
23- بَابٌ: ظُلْمٌ دُونَ ظُلْمٍ - การอธรรม(ซุลุม)ใหญ่และเล็ก
32 - حَدَّثَنَا أَبُو الوَلِيدِ، قَالَ: حَدَّثَنَا شُعْبَةُ، ح قَالَ: وحَدَّثَنِي بِشْرُ بْنُ خَالِدٍ أَبُو مُحَمَّدٍ العَسْكَرِيُّ، قَالَ: حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ جَعْفَرٍ، عَنْ شُعْبَةَ، عَنْ سُلَيْمَانَ، عَنْ إِبْرَاهِيمَ، عَنْ عَلْقَمَةَ، عَنْ عَبْدِ اللَّهِ،
قَالَ: لَمَّا نَزَلَتْ: {الَّذِينَ آمَنُوا وَلَمْ يَلْبِسُوا} [الأنعام: 82]
6:82 บรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยที่มิได้ให้การศรัทธาของพวกเขาปะปนกับการอธรรมนั้น
إِيمَانَهُمْ بِظُلْمٍ قَالَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: أَيُّنَا لَمْ يَظْلِمْ؟
فَأَنْزَلَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ: {إِنَّ الشِّرْكَ} [لَظُلْمٌ عَظِيمٌ [لقمان: 13]
31:13 แท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์ โดยแน่นอน
- การอธรรม คือ ชิรกฺ
ตัวบทภาษาอาหรับ : http://shamela.ws/browse.php/book-1681/page-65
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 114 views