หะดีษ 40-2 จงอยู่ในโลกดุนยานี้ประหนึ่งคนแปลกหน้า

Submitted by admin on Sat, 07/11/2015 - 18:19
หัวข้อเรื่อง
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 213 (หะดีษที่ 40/2)
หะดีษนี้มีเนื้อหาสำคัญที่สุดในเรื่อง "กิเศาะรุลอะมัล(ความหวังสั้น/ต่ำ)"ต่อดุนยา
สถานที่
มุศ็อลลา White Channel
วันที่บรรยาย
24 มุฮัรรอม 1437
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ขนาดไฟล์
17.50 mb
ความยาว
73.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

الحديث الأربعون 

عَنِ ابنِ عُمَرَ رضي الله عنهما قالَ : أَخَذَ رَسولُ الله صلى الله عليه وسلم بِمَنكِبي ، فقال : (( كُنْ فِي الدُّنيا كأَنَّكَ غَريبٌ ، أو عَابِرُ سَبيلٍ ))
وكانَ ابنُ عَمَر يَقولُ : إذا أَمسيتَ ، فَلا تَنتَطِر الصَّباح ، وإذا أَصْبَحْتَ فلا تَنتَظِرِ المساءَ ، وخُذْ مِنْ صِحَّتِك لِمَرضِكَ ، ومنْ حَياتِكَ لِمَوتِكَ . رواهُ البُخاريُّ .
 
หะดีษที่ 40
จากอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา  กล่าวว่า
ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้จับบ่าฉัน(ทั้งสองข้าง*) แล้วกล่าวว่า
"โอัอับดุลลอฮฺ จงอยู่ในโลกดุนยานี้ประหนึ่งว่าท่านเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นผู้เดินทาง(ผ่านมา,ไม่ได้พำนักในที่นั้นอย่างถาวร) 
 
อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า "ถ้าชีวิตของท่านถึงยามกลางคืนแล้ว ก็อย่ารอที่จะถึงตอนเช้า (หมายถึงอย่าหวังว่าจะอยู่ถึงเช้าอีกวันหนึ่ง ให้คิดว่ากลางคืนนั้นคือเวลาสุดท้ายของท่าน) และถ้าชีวิตของท่านอยู่ถึงตอนเช้ารุ่งอีกวันหนึ่ง ก็อย่ามีความหวังว่าจะอยู่ถึงกลางคืน
(เมื่อมีสุขภาพดี) ท่านก็จงใช้เวลาที่สุขภาพ(ดี)ของท่านทำความดี เพื่อเวลาที่ท่านป่วย(อ่อนแอ ไม่สามารถสะสมความดี) ท่านจะได้มีการงานที่สะสมไว้แล้ว
และเวลาว่างในชีวิตของท่าน (เอาไว้สะสมความดี) ก่อนที่จะถึงความตาย (ซึ่งไม่มีโอกาสทำความดีอีกแล้ว)
 
*ที่มะดีนะฮฺ อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ยังเป็นวัยรุ่นอยู่

وهذا الحديث أصل في قصر الأمل في الدنيا 
หะดีษนี้มีเนื้อหาสำคัญที่สุดในเรื่อง "กิเศาะรุลอะมัล(ความหวังสั้น/ต่ำ)"ต่อดุนยา 

- เหตุที่มนุษย์หลงดุนยา เพราะหวังว่าจะมีชีวิตอยู่นานบนโลกนี้ "ความหวัง" ต่อดุนยาเป็นอันตรายที่สุด และไม่เตรียมตัวสู่โลกหน้า

وهذا الحديث أصل في قصر الأمل في الدنيا ، وأن المؤمن لا ينبغي له أن يتخذ الدنيا وطنا ومسكنا ، فيطمئن فيها ، ولكن ينبغي أن يكون فيها كأنه على جناح سفر : يهيئ جهازه للرحيل . وقد اتفقت على ذلك وصايا الأنبياء وأتباعهم ، قال تعالى حاكيا عن مؤمن آل فرعون أنه قال : يا قوم إنما هذه الحياة الدنيا متاع وإن الآخرة هي دار القرار [ غافر : 39 ] .
- มุอฺมินไม่ควรจะยึดเอาแผ่นดินนี้เป็นที่อยู่ถาวร จึงสงบใจว่าดุนยานี้จะไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ แต่ควรจะเป็นดังคนที่กำลังเดินทาง ซึ่งเขาจะเตรียมสัมภาระเสมอ
- บรรดานบีและคนที่ปฏิบัติตามท่าน มีความเห็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้ เช่น ผู้ศรัทธาในวงศ์วานฟิรเอาน์ที่เชื่อในนบีมูซา ได้เตือนฟิรเอาน์ว่า "แท้จริงชีวิตดุนยานี้ เป็นเพียงสัมภาระที่เราใช้ชั่วคราว และอาคิเราะฮฺนั้นคือบ้านที่ยั่งยืน (ดารุลก่อร้อร) อยู่นิรันดร"

 وكان النبي صلى الله عليه وسلم يقول : ما لي وللدنيا إنما مثلي ومثل الدنيا كمثل راكب قال في ظل شجرة ثم راح وتركها .
ท่านนบีมักพูดกับศ่อฮาบะฮฺว่า "ฉันจะเอาอะไรจากดุนยานี้ อุปมาฉันกับดุนยานี้ อุปมัยดังผู้ขี่พาหนะเดินทางอยู่
พอเดินทางไกล พาหนะก็เหนื่อย ตัวเองก็เหนื่อย จึงนั่งพักใต้ต้นไม้ พอสดชื่นก็ลุกขึ้นขี่พาหนะเดินทางต่อ"
ดุนยานี้คือต้นไม้ มีใครที่จะพักอยู่ใต้ต้นไม้ตลอดไปบ้างล่ะ ?

 ومن وصايا المسيح عليه السلام لأصحابه أنه قال لهم : اعبروها ولا تعمروها ، 
وروي عنه أنه قال : من ذا الذي يبني على موج البحر دارا ، تلكم الدنيا ، فلا تتخذوها قرارا . 
นบีอีซาสั่งสอนลูกศิษย์ท่านว่า "ดุนยานี้ให้ผ่านๆไป และอย่าบูรณะตลอดไป"
"ใครเล่าที่มีปัญญาไปสร้างบ้านบนท้องทะเล ทะเลเปรียบดังดุนยา (ไม่มั่นคง) ดังนั้นพวกท่านจงอย่ายึดเอามันเป็นที่มั่นถาวร"

ودخل رجل على أبي ذر ، فجعل يقلب بصره في بيته ، فقال : يا أبا ذر ، أين متاعكم ؟ قال : إن لنا بيتا نوجه إليه ، قال : إنه لا بد لك من متاع ما دمت هاهنا ، قال : إن صاحب المنزل لا يدعنا فيه . 
อบูซัรเป็นคนที่สมถะมากที่สุด ใกล้ชิดท่านนบีมาก และใกล้เคียงกับนบีมากที่สุดในด้านความสมถะ เมื่อนบีจากไปแล้ว ท่านทนไม่ได้กับสภาพของสังคมศ่อฮาบะฮฺ (ต่างจากสมัยนบี)  ท่านอุษมานจึงแนะนำให้ท่านย้ายไปอยู่นอกเมือง (ร่อบะซะฮฺ) ซึ่งสภาพคล้ายสมัยนบี --- เป็นประเด็นให้ผู้ไม่หวังดีให้ร้ายท่านอุษมานว่าไล่อบูซัรไปอยู่นอกเมือง
- บ้านอีกหลังของอบูซัร - คนนึงไปเยี่ยมอบูซัรที่บ้าน ไม่เห็นมีสัมภาระอะไรเลย จึงถาม ท่านก็ตอบว่า เรามีบ้านอีกหลังหนึ่ง(อาคิเราะฮฺ) มีสัมภาระเท่าไหร่เราก็ส่งไปบ้านนั้น (ทำบุญเพื่อให้ได้ผลบุญอาคิเราะฮฺ)

[ ص: 378 ] ودخلوا على بعض الصالحين ، فقلبوا بصرهم في بيته ، فقالوا له : إنا نرى بيتك بيت رجل مرتحل ، فقال : أمرتحل ؟ لا أرتحل ولكن أطرد طردا . 
มีคนไปเยี่ยมคนซอลิหฺ

وكان علي بن أبي طالب رضي الله عنه يقول : إن الدنيا قد ارتحلت مدبرة ، وإن الآخرة قد ارتحلت مقبلة ، ولكل منهما بنون ، فكونوا من أبناء الآخرة ، ولا تكونوا من أبناء الدنيا ، فإن اليوم عمل ولا حساب ، وغدا حساب ولا عمل . قال بعض الحكماء : عجبت ممن الدنيا مولية عنه ، والآخرة مقبلة إليه يشغل بالمدبرة ، ويعرض عن المقبلة . وقال عمر بن عبد العزيز في خطبته : إن الدنيا ليست بدار قراركم ، كتب الله عليها الفناء ، وكتب الله على أهلها منها الظعن ، فكم من عامر موثق عن قليل يخرب ، وكم من مقيم مغتبط عما قليل يظعن ، فأحسنوا - رحمكم الله - منها الرحلة بأحسن ما بحضرتكم من النقلة ، وتزودوا فإن خير الزاد التقوى . وإذا لم تكن الدنيا للمؤمن دار إقامة ، ولا وطنا ، فينبغي للمؤمن أن يكون حاله فيها على أحد حالين : إما أن يكون كأنه غريب مقيم في بلد غربة ، همه التزود للرجوع إلى وطنه ، أو يكون كأنه مسافر غير مقيم البتة ، بل هو ليله ونهاره ، يسير إلى بلد الإقامة ، فلهذا وصى النبي صلى الله عليه وسلم ابن عمر أن يكون في الدنيا على أحد هذين الحالين . فأحدهما : أن يترك المؤمن نفسه كأنه غريب في الدنيا يتخيل الإقامة ، لكن في بلد غربة ، فهو غير متعلق القلب ببلد الغربة ، بل قلبه متعلق بوطنه الذي يرجع إليه ، وإنما هو مقيم في الدنيا ليقضي مرمة جهازه إلى الرجوع إلى وطنه ، قال الفضيل بن عياض : المؤمن في الدنيا مهموم حزين ، همه مرمة جهازه . ومن كان في الدنيا كذلك ، فلا هم له إلا في التزود بما ينفعه عند عوده إلى [ ص: 379 ] وطنه ، فلا ينافس أهل البلد الذي هو غريب بينهم في عزهم ، ولا يجزع من الذل عندهم ، قال الحسن : المؤمن كالغريب لا يجزع من ذلها ، ولا ينافس في عزها ، له شأن ، وللناس شأن . لما خلق آدم عليه السلام أسكن هو وزوجته الجنة ، ثم أهبطا منها ووعدا بالرجوع إليها ، وصالح ذريتهما ، فالمؤمن أبدا يحن إلى وطنه الأول ، وحب الوطن من الإيمان ، كما قيل :
كم منزل للمرء يألفه الفتى وحنينه أبدا لأول منزل

กลอนสวรรค์คือบ้านเดิม ของอิบนุก็อยยิม

ولبعض شيوخنا : فحي على جنات عدن فإنها     منازلك الأولى وفيها المخيم
ولكننا سبي العدو فهل ترى     نعود إلى أوطاننا ونسلم

وقد زعموا أن الغريب إذا نأى     وشطت به أوطانه فهو مغرم
وأي اغتراب فوق غربتنا التي     لها أضحت الأعداء فينا تحكم

ดุอาอฺของท่านอะฏออฺ (ตาบิอีน)

اللهمَّ ارْحَمْ في الدُّنيا غُربتي،و ارْحَم في القَبرِ وحْشَتي،وارْحَم مَوقِفي غداً بين يَديكَ
- อัลลอฮุมมัรฮัม ฟิดดุนยา ฆุรบะตียฺ, วัรฮัม ฟิลก๊อบริ วะหฺชะตียฺ, วัรฮัม เมากิฟี ฆ่อดัน บัยนะ ยะดัยกฺ -

โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดเมตตาฉันด้วย ในลักษณะคนแปลกหน้าในดุนยานี้ และโปรดเมตตาฉันด้วย ขณะที่ฉันเงียบเหงาอยู่ในกุโบร์ และโปรดเมตตาฉันด้วย ขณะที่ฉันยืนถูกคิดบัญชีต่อหน้าพระองค์ท่าน

Sakda Saneha

- ความหวังไม่สูงบนโลกดุนยานี้มีหลายระดับ
ในบ้านของท่านนบีแทบไม่มีอะไรเท่าไหร่เลย ถ้วยชาม 2-3 ใบ จะดื่มนม กินแกง กินโรตีก็ใบนั้น ชุดก็มีชุดประจำ อยู่ชุดเดียว อีกชุดนึงใส่ในโอกาสสำคัญต่างๆ และมีกระจกส่องใบเล็กๆอีกหนึ่งใบ

- แต่ถามว่าการสร้างสิ่งดีๆต่างๆ ประดับประดาบนโลกนี้ห้ามไหม ? คำตอบคือ ก็ไม่ได้ห้าม แต่สิ่งจำเป็นที่ต้องมีคือ หากเกิดเหตุการณ์ ที่ทำให้สูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป

"เขาจะต้องไม่เสียใจ และอีหม่านของเขาไม่ได้รับผลกระทบใดๆเลยจากเรื่องดังกล่าว" นี่คือ "คีย์เวิร์ดสำคัญของเรื่องนี้"
..............................................................................
:: บทเรียนบางช่วงบางตอน หะดีษที่ 40 ครั้งที่ 2
:: 'จงอยู่บนโลกนี้เสมือนคนแปลกหน้า'
:: เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
icon4
WCimage
หะดีษ 40-2 จงอยู่ในโลกดุนยานี้ประหนึ่งคนแปลกหน้า