الحديث الأربعون
عَنِ ابنِ عُمَرَ رضي الله عنهما قالَ : أَخَذَ رَسولُ الله صلى الله عليه وسلم بِمَنكِبي ، فقال : (( كُنْ فِي الدُّنيا كأَنَّكَ غَريبٌ ، أو عَابِرُ سَبيلٍ ))
وكانَ ابنُ عَمَر يَقولُ : إذا أَمسيتَ ، فَلا تَنتَطِر الصَّباح ، وإذا أَصْبَحْتَ فلا تَنتَظِرِ المساءَ ، وخُذْ مِنْ صِحَّتِك لِمَرضِكَ ، ومنْ حَياتِكَ لِمَوتِكَ . رواهُ البُخاريُّ .
จากอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้จับบ่าฉัน(ทั้งสองข้าง*) แล้วกล่าวว่า
"โอัอับดุลลอฮฺ จงอยู่ในโลกดุนยานี้ประหนึ่งว่าท่านเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นผู้เดินทาง(ผ่านมา,ไม่ได้พำนักในที่นั้นอย่างถาวร)
อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า "ถ้าชีวิตของท่านถึงยามกลางคืนแล้ว ก็อย่ารอที่จะถึงตอนเช้า (หมายถึงอย่าหวังว่าจะอยู่ถึงเช้าอีกวันหนึ่ง ให้คิดว่ากลางคืนนั้นคือเวลาสุดท้ายของท่าน) และถ้าชีวิตของท่านอยู่ถึงตอนเช้ารุ่งอีกวันหนึ่ง ก็อย่ามีความหวังว่าจะอยู่ถึงกลางคืน
(เมื่อมีสุขภาพดี) ท่านก็จงใช้เวลาที่สุขภาพ(ดี)ของท่านทำความดี เพื่อเวลาที่ท่านป่วย(อ่อนแอ ไม่สามารถสะสมความดี) ท่านจะได้มีการงานที่สะสมไว้แล้ว
และเวลาว่างในชีวิตของท่าน (เอาไว้สะสมความดี) ก่อนที่จะถึงความตาย (ซึ่งไม่มีโอกาสทำความดีอีกแล้ว)
*ที่มะดีนะฮฺ อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ยังเป็นวัยรุ่นอยู่
-- วีดีโอ ครั้งที่ 1-4 --
หะดีษเกี่ยวกับตัซกียะตุลนุฟูซ(ขัดเกลาจิตใจ) เป็นวิชาหนึ่งที่สะละฟุศอลิหฺประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อรองรับการเติบโตของโลกมุสลิมที่พิชิตเมือง รัฐ ทวีปต่างๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมต่างๆที่ต่างจากอาหรับ(เดิมชาวอาหรับค่อนข้างสมถะเพราะอยู่ในทะเลทราย ใช้ชีวิตง่ายๆ ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย)
ได้เจอกับวัฒนธรรมเปอร์เซีย อินเดีย จีน อียิปต์ โรมัน ซึ่งมีวัฒนธรรมขัดกับอาหรับอย่างสิ้นเชิง เกิด 2 กระแสคือ
1- รับไม่ได้ เพราะขัดกับอาหรับ และวัฒนธรรมมุสลิมรุ่นก่อน
2- บริโภคอารยธรรมใหม่ที่เจริญมากในด้านวัตถุ ความรู้ ปรัชญาต่างๆ
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 1993 views