เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอด

Submitted by dp6admin on Fri, 03/04/2009 - 00:25

ดุอาอฺก่อนละศีลอด

ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

( ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตั้ลละติ้ลอุรู้ก วะษะบะตัลอัจญฺรุ อินชาอัลลอฮฺ )

“ความกระหายได้หมดสิ้นไป เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่น และจะได้รับผลบุญอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ“

สิ่งที่ผู้ถือศีลอดควรปฏิบัติ

1. เหนียตถือศีลอดก่อนเวลาฟัจรฺ (อะซานซุบฮฺ)
2. รักษาเวลาละหมาดญะมาอะฮฺครั้งแรกโดยพร้อมเพรียงกัน
3. อ่านอัลกุรอานพร้อมเข้าใจความหมาย
4. ซิกรุลลอฮฺตลอดเวลา
5. ศึกษาหาความรู้ด้านศาสนาทุกรูปแบบ

สิ่งที่อนุญาตให้กระทำขณะถือศีลอด

  1. ใช้น้ำกลั้วปากและสูดน้ำเข้าจมูกขณะอาบน้ำละหมาด
  2. ชิมอาหาร (ไม่ให้เข้าลำคอ)
  3. ใช้ผงทาตาหรือยาหยอดตา-หู-จมูก
  4. พ่นยารักษาอาการหอบหืด
  5. รดน้ำบนศีรษะหรืออาบน้ำ
  6. ฉีดยาที่มิใช่ยาบำรุงกำลัง
  7. กรอกเลือด

 

สิ่งที่ทำให้เสียการถือศีลอด

1. กินหรือดื่มโดยเจตนา
2. อาเจียนโดยตั้งใจ
3. มีประจำเดือน
4. มีเลือดหลังคลอดบุตร
5. ฉีดยาบำรุงกำลัง
6. ร่วมประเวณี

สิ่งที่ผู้ถือศีลอดต้องละเว้น

1. การพูดจาหยาบคายหรือพูดเท็จ
2. การพูดหรือกระทำในสิ่งที่ไร้สาระ

สิ่งที่ผู้ถือศีลอดจะได้รับ

1. ได้เข้าสวรรค์ทางประตู “อัรรอยยาน“ (เฉพาะผู้ถือศีลอด)
2. การถือศีลอดจะขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺ  ให้แก่เขาในกุบูรและในวันกิยามะฮฺ
3. เป็นส่วนหนึ่งของการไถ่บาปหรือลบล้างความผิด

ผู้มีอุปสรรคไม่สามารถถือศีลอดได้

1. คนป่วย (ชั่วคราว) ที่ถือศีลอดไม่ไหว - อนุญาตให้ละศีลอดและถือใช้หลังเดือนรอมฎอน
2. คนป่วย (โรคประจำตัว) ที่ถือศีลอพไม่ไหว - อนุญาตให้ละศีลอด   และตวงอาหารวันละ 1.5 กิโลกรัม (โดยประมาณ) ให้แก่คนยากจน
3. คนชราที่ไม่สามารถถือศีลอด - อนุญาตให้ละศีลอดและตวงอาหารเช่นกัน
4. สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร - หากไม่สามารถถือศีลอดได้ อนุญาตให้ละศีลอด และไม่จำเป็นต้องถือใช้หลังเดือนรอมฎอน  แต่ให้ตวงอาหารแก่คนยากจน ก็พอเพียงแล้วในทัศนะที่ถูกต้อง
5. ผู้เดินทางไกล - อนุญาตให้ละศีลอดและถือใช้หลังเดือนรอมฎอน

 


[แก้ไขล่าสุดเมื่อ สิงหาคม 2553]

ที่มา :   ศึกษารายละเอียดได้ใน หนังสือการถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม, อาจารย์อะหมัด สมะดี ร่อหิมะฮุลลอฮฺ