คำตอบ: เท่าที่เข้าใจ การฟ้องหย่า คือ จะไปฟ้องหย่าในการสมรสที่จดทะเบียน การสมรสที่จดทะเบียนขึ้นอยู่กับการสมรสที่ถูกต้องตามหลักการศาสนา ตามหลักการศาสนาสามีจะต้องส่งนะฟะเกาะฮฺ คือ ปัจจัยยังชีพ ค่าใช้จ่ายอันควรสำหรับภรรยาและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ถ้าขาดไป อุละมาอฺบางท่านบอกว่า ขาด 3 เดือน 4 เดือน มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้อง ถ้าไม่ยอมก็ขอหย่าได้เลย เพราะถ้าหย่าโดยไม่มีเหตุผลถือว่าบาป แต่ถ้ามีเหตุผล คือสิทธิหลักๆของภรรยา ถ้าสามีไม่ปฏิบัติทำหน้าที่ก็จะต้องถูกฟ้องโดยศาลชะรีอะฮฺ ถ้าไม่ยอม ศาลจะบังคับให้หย่า แต่ในบ้านเราไม่มีศาลชะรีอะฮฺ ในหลักการศาสนาก็บอกว่า สามีจะต้องถูกตักเตือนจากอิมามมัสยิด กรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้รู้ ตักเตือนให้ทำหน้าที่ ถ้าไม่ทำหน้าที่ก็จะถูกสั่งให้ตัวเขาเองหย่าภรรยา ถ้าไม่ยอมหย่า ภรรยาก็จะมีสิทธิ์ในการการหย่าทางกฎหมายโดยยกเลิกทะเบียนสมรสที่จดทะเบียนไว้ ซึ่งส่งผลให้เป็นการประกาศในสังคมทราบว่าถูกหย่าอย่างเป็นทางการ การที่ได้ถูกหย่าไปเราจะไม่ถือว่า ได้ผลจากการตัดสินของศาลที่ไม่ใช่ศาลชะรีอะฮฺ เราจะต้องทำให้มีความชัดเจนมีความเรียบร้อยในการหย่าเหล่านี้ เช่น
ให้มีกระบวนการศาลชะรีอะฮฺเกิดขึ้น อย่างน้อยเฉพาะการ จะเป็นกรรมการ ผู้รู้ อิมาม หรือเป็นคนที่ทำสัญญาสมรส อักดุนนิกาฮฺให้ จะเป็นกรรมการอิสลาม หรือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ฝ่ายเขากับฝ่ายภรรยาให้มาดูปัญหานี้และออกคำตัดสิน ให้คำตัดสินพร้อมกับคำตัดสินของศาลว่า ให้หย่า ก็จะถือว่า ถูกหย่าอย่างเป็นทางการในหลักการศาสนา และรออิดดะฮฺ เมื่อรออิดดะฮฺแล้วก็ถือว่าไม่ได้เป็นภรรยากับเขาแล้ว คนอื่นสามารถเข้ามาแต่งงานได้ แต่โปรดให้กระบวนการเหล่านี้ได้มีผลจากชะรีอะฮฺไม่ใช่ผลจากศาล ฉะนั้นที่ผู้ถามถามว่าสามารถฟ้องหย่าได้ไหม ที่จริงสิทธิ์ที่จะฟ้องหย่าอยู่ในหลักการศาสนา แต่ปัญหาคือ บ้านเราไม่มีศาลชะรีอะฮฺ ก็สามารถฟ้องหย่าได้ คือ จะได้ผลต่างๆเกี่ยวกับการหย่าได้เกิดขึ้น แต่ขอให้มีศาลชะรีอะฮฺมีอิทธิพลในการสั่งหย่า และให้ออกพร้อมกันจะได้มีผลในการปฏิบัติ เรื่องนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งก่อนที่บ้านเราจะมีศาลชะรีอะฮฺ
ผู้ตอบ เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
-------
- Log in to post comments
- 250 views