หะดีษที่ 27 الحديث السابع والعشرون
من قتل وزغةً في أوَّل ضربْةٍ كُتِب له مائةُ حَسنةٍ ، ومن قَتلها في الضَّربة الثَّانية ، فلهُ كذا وكذا حسنة ، وإن قَتلها في الضَّربة الثالثة فله كَذا وكَذا حسنةً.
صحيح الجامع الصغير وزياداته
ความหมาย “ผู้ใดฆ่าจิ้งจกด้วยการตีครั้งแรก สำหรับเขาได้ 100 ความดี ผู้ใดฆ่าจิ้งจกด้วยการตีครั้งที่สอง สำหรับเขาได้ความดีจำนวนหนึ่ง(น้อยกว่า 100) และหากฆ่าจิ้งจกด้วยการตีครั้งที่สาม ก็ได้ความดีจำนวนหนึ่ง(แต่น้อยกว่าฆ่าด้วยการตีครั้งที่สอง)”
อุละมาอฺได้วิเคราะห์เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าจิ้งจกหลายประการ ในหะดีษรายงานโดยท่านอุมมุชะรีก บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรียฺและมุสลิม อุมมุชะรีกบอกว่า ท่านนบีใช้ให้ฆ่าจิ้งจก และท่านนบี ได้ให้เหตุผลว่า จิ้งจกเป็นสัตว์เดรัจฉานชนิดหนึ่งที่เป่าไฟขณะที่ท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ถูกเผาในไฟสมัยกษัตริย์นัมรูด (ท่านนบีอิบรอฮีมท้าทายนัมรูดว่าใครที่เป็นพระผู้เป็นเจ้า พระผู้อภิบาล นัมรูดก็ท้าทายว่าตัวเองเป็นพระเจ้า จนสุดท้ายอิบรอฮีมได้อ้างหลักฐานชัดเจนที่นัมรูดตอบโต้ไม่ได้ ก็เลยสั่งให้เผานบีอิบรอฮีม ขณะที่ท่านนบีอิบรอฮีมถูกเผาอยู่ สัตว์ทุกชนิดพยายามที่จะดับไฟ ยกเว้นจิ้งจก) ตรงนี้มาจากท่านนบี ประทับตรา “ศรัทธา” (ไม่ใช่ศรัทธาแล้วเอาสติปัญญาโยนทิ้งไป ต้องมีเหตุผลทางปัญญาด้วย แต่อันนี้เป็นเหตุผลด้านศาสนา นบีบอกไว้อย่างนี้ ) เหตุผลอย่างอื่นก็มีตัวบททางศาสนาเช่นเดียวกัน แต่ที่บอกว่าศรัทธาเพราะเป็นเรื่องเร้นลับสมัยท่านนบีอิบรอฮีมที่เราไม่เห็น
ที่มา : หนังสือ 40 ซุนนะฮฺจากหะดีษที่น่าปฏิบัติ, เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
- Log in to post comments
- 407 views