คำตอบ
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
สำหรับเงินที่จะบริจาคนี้ ถ้าท่านจะถือว่าเป็นศ่อดะเกาะฮฺ ท่านก็สามารถบริจาคให้แก่ใครก็ได้ แม้กระทั่งผู้ที่มีฐานะท่านก็ศ่อดะเกาะฮฺแก่เขาได้ หรือถ้าหากว่าท่านจะถือว่าเป็นหะดียะฮฺ(ของขวัญ)ก็สามารถให้แก่ใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนลำบากหรือยากจน แต่ถ้าเป็นเงิน "ซะกาต" หมายถึง ซะกาตทรัพย์สิน ก็จำเป็นต้องอยู่ในบรรดา 8 จำพวกที่อัลลอฮฺได้ระบุไว้ในซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 60
إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاءِ وَالْمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللَّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ فَرِيضَةً مِّنَ اللَّهِ وَاللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ
ความหมาย : “แท้จริงทานทั้งหลาย นั้น สำหรับบรรดาผู้ที่ยากจน และบรรดาผู้ที่ขัดสน และบรรดาเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมมัน และบรรดาผู้ที่หัวใจของพวกเขาสนิทสนม และในการไถ่ทาส และบรรดาผู้ที่หนี้สินล้นตัว และในทางของอัลลอฮ์ และผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทาง ทั้งนี้เป็นบัญญัติอันจำเป็นซึ่งมาจากอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ”
คือ
1. มุสลิมที่ยากจน (อัลฟุเกาะรออ)
2. มุสลิมที่ขัดสน (อัลมะซากีน)
3. มุสลิมที่มีหน้าที่นำเงินซะกาตไปแจกจ่ายและมีความลำบาก (อัลอามิลีนะอะลัยฮา)
4. ผู้ที่เราต้องการให้หัวใจเขาสนิทสนมกับอิสลาม (อัลมุอัลละฟะติกุลูบุฮุม)
5. ทาสมุสลิมที่ต้องการรับการปลดปล่อยจากความเป็นทาสหรือผู้ที่เป็นลูกหนี้และไม่มีความสามารถชดใช้หนี้สิน (วะฟิรริกอบิ)
6. ผู้รับผิดชอบช่วยเหลือ สงเคราะห์ และอุปถัมภ์ผู้คนในสังคม (อัลฆอริมีน)
7. ผู้ทำสงครามในหนทางของอัลลอฮฺ (ญิฮาดด้วยอาวุธ) หรือทำฮัจญ์ หรือทำงานศาสนาทั่วไป (ฟีสะบีลิลลาฮฺ)
8. บุคคลที่หลงทางหรือไม่มีทุนเดินทางเพื่อปฏิบัติกิจกรรมที่มีความสำคัญ เช่น การศึกษาหรือทำมาหากิน (อิบนิสสะบีล)
วัสสลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุ้ลลอฮฺ วะบะร่อกาตุฮฺ
ริฎอ อะหมัด สมะดี
- Log in to post comments
- 50 views