หะดีษที่ 10-6 มารยาทในการขอดุอาอฺ, ดุอาอฺ "ร็อบบะนา"

Submitted by dp6admin on Mon, 09/12/2024 - 14:29
หัวข้อเรื่อง
- ลักษณะการยกมือขอดุอาอฺ
- 4 ประการ ที่จะทำให้ดุอาอฺมุสตะจาบ (ต่อ)
- คะยั้นคะยอ, ขอซ้ำๆ, ขอด้วยพระนาม "อัรร็อบ" โดยกล่าวว่า "ร็อบบะนา" หลายครั้ง
- สิ่งที่จะปิดกั้นดุอาอฺ (ทำให้อัลลอฮฺไม่ตอบรับ)
- ประสบปัญหาอะไร ให้ระบายกับอัลลอฮฺ ไม่ใช่กับคน -- มุนาญาต
วันที่บรรยาย
ความยาว
62.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ  กล่าวว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงดี ไม่ทรงรับสิ่งใดนอกจากที่ดี ๆ และแท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงกำชับให้ผู้ศรัทธา (เช่นเดียวกัน) กับพระองค์ทรงกำชับบรรดาร่อซูล (กล่าวคือ) พระองค์พระผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า     “โอ้บรรดาร่อซูล จงกินจากสิ่งที่ดี และจงกระทำการดี” และยังตรัสอีกว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงกินจากที่ดี ๆ ซึ่งเราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพของสูเจ้า”

หลังจากนั้นท่าน (ร่อซูล) ได้เล่าเรื่องชายคนหนึ่งที่เดินทางเป็นระยะเวลายาวนานจน (ผม) ยุ่งเหยิง และฝุ่นตลบ เขาแบมือทั้งสองสู่ฟ้า (พลางขอดุอาอฺว่า) ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ขณะนั้น อาหารที่เขากินนั้นเป็นอาหารที่ต้องห้าม เครื่องดื่มของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และเสื้อผ้าของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และบำรุงปากท้องของเขาด้วยสิ่งที่ต้องห้าม ดังนี้แล้วจะมีการตอบสนองการขอของเขาได้อย่างไร”   หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม

ลักษณะการยกมือขอดุอาอฺ 
- ยกมือขอฝน โดยยกมือสูง หันหลังมือเข้าหาตัว ฝ่ามือหันออกนอกตัว 
- ในสังครามบัดรฺ นบียกมือสูงจนผ้าคลุมหล่น 

ท่านนบีระบุ 4 ประการ ที่จะทำให้ดุอาอฺมุสตะจาบ (ต่อ)

وفي المسند وغيره عن الفضل بن عباس رضي الله عنهما عن النبي ﷺ قال الصلاة مثنى مثنى وتشهد في كل ركعتين وتضرع وتخشع وتمسكن وتقنع يديك يقول ترفعهما إلى ربك مستقبلا بهما وجهك وتقول يا رب يا رب فمن لم يفعل ذلك فهي خداج وقال يزيد الرقاشي عن أنس مرفوعًا ما من عبد يقول يا رب يا رب يا رب إلا قال له ربه لبيك لبيك ثم روي عن أبي الدرداء وابن عباس رضي الله عنهما كانا يقولان اسم الله الأكبر رب رب 

4- คะยั้นคะยอ, ขอซ้ำๆ, ขอด้วยพระนาม "อัรร็อบ" โดยกล่าวว่า "ร็อบบะนา" หลายครั้ง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัลลอฮฺตอบรับดุอาอฺ 
- ดุอาอฺที่ถูกระบุในอัลกุรอาน จะเริ่มด้วย พระนาม "อัรร็อบ" เช่น 
- ร็อบบะนา อาตินา ฟิดดุนยา หะซะนะฮฺ วะฟิลอาคิเราะติ หะซะนะฮฺ -- ดุอาอฺสำคัญที่ท่านนบีใช้ในการเฏาะวาฟ (ระหว่างหินดำกับมุมอัลยะมานี)
- และมีอีกหลายบทที่เริ่มด้วย "ร็อบบะนา"
- ขอดุอาอฺภาษาไทยก้ได้

وعن عطاء قال ما قال عبد يا رب يا رب ثلاث مرات إلا نظر الله إليه فذكر ذلك للحسن فقال أما تقرءون القرآن ثم تلا قوله تعالى {الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللَّهَ قِيَامًا وَقُعُودًا وَعَلَىَ جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذا باطلًا سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ. رَبَّنَا إِنَّكَ مَن تُدْخِلِ النَّارَ فَقَدْ أَخْزَيْتَهُ وَمَا لِلظَّالِمِينَ مِنْ أَنصَارٍ. رَّبَّنَا إِنَّنَا سَمِعْنَا مُنَادِيًا يُنَادِي لِلإِيمَانِ أَنْ آمِنُواْ بِرَبِّكُمْ فَآمَنَّا رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الأبْرَارِ. رَبَّنَا وَآتِنَا مَا وَعَدتَّنَا عَلَى رُسُلِكَ وَلاَ تُخْزِنَا يَوْمَ الْقِيَامَةِ إِنَّكَ لاَ تُخْلِفُ الْمِيعَادَ} ومن تأمل الأدعية المذكورة في القرآن وجدها غالبًا تفتتح باسم الرب كقوله تعالى {رَبَّنَا آتِنَا فِي الدُّنْيَا حَسَنَةً وَفِي الآخِرَةِ حَسَنَةً وَقِنَا عَذَابَ النَّارِ} البقرة {رَبَّنَا لاَ تُؤَاخِذْنَا إِن نَّسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا رَبَّنَا وَلاَ تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْرًا كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِنَا رَبَّنَا وَلاَ تُحَمِّلْنَا مَا لاَ طَاقَةَ لَنَا بِهِ} البقرة، وقوله {رَبَّنَا لاَ تُزِغْ قُلُوبَنَا بَعْدَ إِذْ هَدَيْتَنَا} آل عمران، ومثل هذا في القرآن كثير.
18.0

ท่านอะฏออฺ - ไม่มีบ่าวที่กล่าว "ยาร็อบบิ" 3 ครั้ง เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงมองไปยังเขา
หะซัน อัลบัศรี ก็ยืนยันคำกล่าวของท่านอะฏออฺ และยกหลักฐานในอัลกุรอาน -- กล่าว "ร็อบบะนา" 5 ครั้ง อัลลอฮฺจะตอบรับดุอาอฺของเขา
-- คุณค่าของคำอธิบายจากอุละมาอฺ
- อ้างถึงหะดีษที่ท่านนนบีบอกว่า "3 บุคคลที่อัลลอฮฺไม่มองเขาในวันกิยามะฮฺ ไม่ชำระความชั่ว ไม่ยกโทษ คือ คนที่ต้องพึ่งพาคนอื่น (คนยากจนต้องพึ่งพาคนอื่น แต่ตะกับบร หยิ่งต่อคนอื่น คนจนควรจะถ่อมตน) -- ตรงข้ามกับลักษณะนี้ คือ "คนที่ถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่ง ขออย่างจริงใจ" -- คือลักษณะของคนที่อัลลอฮฺจะทรงมองเขา
- ขอดุอาอฺเสียงหลังละหมาด, ขอดุอาอฺเป็นพิธี 
- เมื่อเรากล่าว "ยาร็อบบี" ขณะกล่าว อย่าลืมว่าเราเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ
- อัซการหรือขอดุอาอฺด้วยความเคยชิน ไม่นึกถึงความหมาย ไม่นึกถึงสิ่งที่กำลีงขอ ไม่จริงใจในการขอดุอาอฺ
- จงขอดุอาอฺ เสมือนผู้ยากจนต่ออัลลอฮฺ ที่กำลังขอต่อผู้ทรงมั่งมีอย่างเหลือล้น
- ประสบปัญหาอะไร ให้ระบายกับอัลลอฮฺ ไม่ใช่กับคน -- มุนาญาต
- เวลาขอดุอาอฺให้คะยั้นคะยอ ขอบ่อยๆ ขอซ้ำๆ, หัวใจมุ่งสู่อัลลอฮฺ

46.5
موانع الإجابة
 สิ่งที่จะปิดกั้นดุอาอฺ (ทำให้อัลลอฮฺไม่ตอบรับ)

•    وأما ما يمنع إجابة الدعاء ، فقد أشار - صلى الله عليه وسلم - إلى أنّه التوسُّع في الحرام أكلاً وشرباً ولبساً وتغذيةً ، ورَوى عكرمةُ بن عمار : حدَّثنا الأصفر ، قال : قيل لسعد بن أبي وقاص : تُستجابُ دعوتُك من بين أصحاب رسول الله - صلى الله عليه وسلم - ؟ فقال : ما رفعتُ إلى فمي لقمةً إلا وأنا عالمٌ من أين مجيئُها ، ومن أين خرجت .

ที่หะดีษนี้สอนคือ 
- การบริโภคสิ่งหะรอมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของกิน เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม หรือ สิ่งบำรุงร่างกาย
-- ซะอดฺ ถามนบีว่า อะไรที่ทำให้ดุอาอฺมุสตะจาบ ? ท่านนบีตอบว่า "จงให้การบริโภค (สิ่งที่จะเข้าร่างกาย) เป็นสิ่งหะล้าล ดีงาม" (ตอนต้นบอกว่าเป็นหะดีษฎออีฟ)
-- เคยมีคนฟ้องซะอดฺว่าปฏิบัติหน้าที่ผู้ปกครองไม่ถูกต้อง ไม่ยุติธรรม (กล่าวหาเท็จ) ซะอดฺขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺว่า ถ้าเจ้าโกหก ขอให้ตาบอด อายุยืนนาน และประสบฟิตนะฮฺในตอนชรา ปรากฏว่าคนนั้นก็ประสบสิ่งนั้นจริงๆ -- จึงเป็นที่ทราบกันว่าท่านมีดุอาอฺมุสตะจาบ
-- มีคนถามซะอดฺ อิบนุอบีวักกอส  (เป็นที่รู้กันว่าท่านมีดุอาอฺมุสตะจาบ ขออะไร อัลลอฮฺให้ทันที) ถึงดุอาอฺมุสตะจาบ ท่านบอกว่า ฉันมิได้หยิบอาหารสักคำ เว้นแต่จะรู้ว่าอาหารนี้มาจากไหน
- เชคสุอู๊ด ชุรัยมฺ - มักได้รับมอบหมายให้เป็นอิมามในการละหมาดขอฝน เป็นที่เคารพของบรรดาผู้รู้
- หากเราขออะไรแล้วอัลลอฮฺให้ ควรชุกูรต่ออัลลอฮฺ อย่าเอาไปอวดหรือเล่าให้คนอื่นฟัง เป็นนิอฺมัต
- อุละมาอฺบอกว่า คนที่รู้ว่าคืนหนึ่งเป็นลัยละตุ้ลก็อดรฺ รู้อย่างมั่นใจ ไม่ควรบอกใคร
- อย่าทำในสิ่งที่ทำให้คนชื่นชนในความดีของตนเอง เมื่ออัลลอฮฺให้เราได้ทำความดี ทำซุนนะฮฺ อย่าเอาไปอวดใคร พยายามปกปิดให้เป็นความลับมากที่สุด

 

WCimage
หะดีษที่ 10-6 มารยาทในการขอดุอาอฺ, ดุอาอฺ "ร็อบบะนา"