หะดีษที่ 10-5 มารยาทขอดุอาอฺ, 4 ประการดุอาอฺมุสตะจาบ, ยกมือ

Submitted by dp6admin on Sun, 08/12/2024 - 14:52
หัวข้อเรื่อง
- การทำความดีถวายแด่อัลลอฮฺ เพื่อแสวงผลบุญ
บทเรียน - บริหารชีวิตให้อยู่ในความดี เพื่อเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบรับดุอาอฺ
อยากให้อัลลอฮฺรับดุอาอฺ ก็ทำตัวให้ดี บริหารชีวิตให้ดี กินใช้ของหะรอม (สิ่งที่อัลลอฮฺห้าม) เมื่อขอดุอาอฺ อัลลอฮฺก็ไม่ตอบรับ
- เนื้อหาสาระสำคัญที่สุดในกุรอานและหะดีษคือ อะกีดะฮฺ เนื้อหาที่เกี่ยวกับอัลลอฮฺ หะดีษนี้เริ่มด้วยข้อมูลเกี่ยวกับอัลลอฮฺ
- 4 ประการที่จะทำให้ดุอาอฺมุสตะจาบ
- ลักษณะการยกมือขณะขอดุอาอฺ 6 แบบ
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
ความยาว
75.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ  กล่าวว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงดี ไม่ทรงรับสิ่งใดนอกจากที่ดี ๆ และแท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงกำชับให้ผู้ศรัทธา (เช่นเดียวกัน) กับพระองค์ทรงกำชับบรรดาร่อซูล (กล่าวคือ) พระองค์พระผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า     “โอ้บรรดาร่อซูล จงกินจากสิ่งที่ดี และจงกระทำการดี” และยังตรัสอีกว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงกินจากที่ดี ๆ ซึ่งเราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพของสูเจ้า”

หลังจากนั้นท่าน (ร่อซูล) ได้เล่าเรื่องชายคนหนึ่งที่เดินทางเป็นระยะเวลายาวนานจน (ผม) ยุ่งเหยิง และฝุ่นตลบ เขาแบมือทั้งสองสู่ฟ้า (พลางขอดุอาอฺว่า) ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ขณะนั้น อาหารที่เขากินนั้นเป็นอาหารที่ต้องห้าม เครื่องดื่มของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และเสื้อผ้าของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และบำรุงปากท้องของเขาด้วยสิ่งที่ต้องห้าม ดังนี้แล้วจะมีการตอบสนองการขอของเขาได้อย่างไร”   หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม

آداب الدعاء
มารยาทในการขอดุอาอฺ

        وقوله : (( ثم ذكر الرجل يُطيلُ السفرَ أشعثَ أغبرَ ، يمدُّ يديه إلى السَّماء : يا رب ، يا رب ، ومطعمُه حرام ، ومشربه حرامٌ ، وملبسه حرام ، وغُذِّي بالحرام ، فأنَّى يُستجاب لذلك ؟!)).
"เขาแบมือทั้งสองสู่ฟ้า (พลางขอดุอาอฺว่า) ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ข้าแต่พระผู้อภิบาล ! ขณะนั้น อาหารที่เขากินนั้นเป็นอาหารที่ต้องห้าม เครื่องดื่มของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และเสื้อผ้าของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และบำรุงปากท้องของเขาด้วยสิ่งที่ต้องห้าม ดังนี้แล้วจะมีการตอบสนองการขอของเขาได้อย่างไร”

    هذا الكلام أشار فيه - صلى الله عليه وسلم - إلى آداب الدعاء، وإلى الأسباب التي تقتضي إجابَته ، وإلى ما يمنع من إجابته ، فذكر من الأسباب التي تقتضي إجابة الدعاء أربعة :
    أحدهما : إطالةُ السفر ، والسفر بمجرَّده يقتضي إجابةَ الدعاء ، كما في حديث أبي هريرة ، عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - : (( ثلاثُ دعواتٍ مستجابات لا شك فيهن : دعوةُ المظلومِ ، ودعوةُ المسافر ، ودعوةُ الوالد لولده ))  ، خرَّجه أبو داود وابن ماجه والترمذي ، وعنده : ((دعوة الوالد على ولده )) .
    والثاني : حصولُ التبذُّل في اللِّباس والهيئة بالشعث والإغبرار ، وهو - أيضاً - من المقتضيات لإجابة الدُّعاء ، كما في الحديث المشهور عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - : (( ربَّ أشعث أغبرَ ذي طِمرين ، مدفوع بالأبواب ، لو أقسم على الله لأبرَّه )) رواه مسلم دون ( ذي طمرين ) . ولما خرج النَّبيُّ - صلى الله عليه وسلم - للاستسقاء ، خرج متبذِّلاً متواضعاً متضرِّعاً  . 
    الثالث : مدُّ يديه إلى السَّماء، وهو من آداب الدُّعاء التي يُرجى بسببها إجابته، وفي حديث سلمانَ عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - : (( إنَّ الله تعالى حييٌّ كريمٌ ، يستحيي إذا رفع الرجلُ إليه يديه أنْ يردَّهما صِفراً خائبتين )) ، خرَّجه الإمام أحمد وأبو داود والترمذي وابن ماجه .
 
- คำพูดของนบีนี้ ชี้ถึงมารยาทของการขอดุอาอฺ และสาเหตุที่จะทำให้ดุอาอฺตอบรับ และที่จะถูกปฏิเสธ
10.45
ท่านนบีระบุ 4 ประการ ที่จะทำให้ดุอาอฺมุสตะจาบ
1- การเดินทางไกล ที่ใช้ระยะเวลานาน

-- ท่านนบีกล่าวว่า "ดุอาอฺ 3 ประการ ถูกรับอย่างแน่นอน โดยไม่ต้องสงสัย (คือ) ดุอาอฺของผู้ถูกอธรรม* (แม้ผู้ถูกอธรรมเป็นกาฟิร อัลลอฮฺก็ตอบรับ), ดุอาอฺของผู้เดินทาง, และดุอาอฺของบิดามารดาให้แก่ลูก (และที่แช่งลูก)" 
-- (*อียิปต์สร้างกำแพงกั้นกาซ่า เป็นการอธรรมพี่น้องมุสลิม, อุละมาอฺหลายท่านฟัตวาว่าหะรอม (เชคยูซุฟ อัลอะหมัด, เชคเกาะเราะฎอวียฺ, เครือข่ายอุละมาอฺอัซฮัร
2- แต่งกายสมถะ ถ่อมตน (แต่งตัวสวยงามได้ แต่อย่าแต่งกายหรูหรา ตะกับบร ดูถูกคนอื่น)
-- ท่านนบีกล่าวว่า "มีมากมาย (หรือน้อยคน) ที่ผมยุ่ง ฝุ่นตลบ มีเส้อผ้าเพียงสองชิ้น เวลาไปหาใคร พอเคาะประตูก็โดนไล่ (ไปขอทานหรือไปเยี่ยมใคร เขาก็รังเกียจ) แต่ระหว่างเขากับอัลลอฮฺมีสายสัมพันธ์ ถ้าเขาสาบานต่ออัลลอฮฺในเรื่องหนึ่ง อัลลอฮฺจะสนองคำสาบานเขา (ตอบรับความต้องการของเขา เนื่องจากพระองค์รักเขา)"
-- เมื่อท่านนบีจะออกไปละหมาดขอฝน ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หรูหรา ถ่อมตน
3- ยกมือขอดุอาอฺ 
-- ท่านนบีกล่าวว่า "อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา ทรงละอายต่อบ่าวขอพระองค์ หากว่าคนหนึ่งยกมือขอดุอาอฺ โดยที่พระองค์จะไม่ตอบรับ ให้อะไรแก่มือกลับไป"
-- "โอ้มนุษย์ทั้งหลาย พวกเจ้านั้นยากจนต่ออัลลอฮฺ และพระองคฺเป็นผู้มั่งคั่ง" -- ให้เราขอต่ออัลลอฮฺมากๆ

صفات رفع اليدين في الدعاء
ลักษณะการยกมือขณะขอดุอาอฺ

وقد روي عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - في صفة رفع يديه في الدُّعاء أنواعٌ متعددة :
 فمنها أنَّه كان يُشير بأصبعه السَّبَّابةِ فقط فعن سعد ، قال : مرَّ عليَّ رسول الله - صلى الله عليه وسلم - وأنا أدعو بأصابعي فقال : ((أحد أحد)) وأشار بالسَّبابة .وروي عنه أنَّه كان يفعل ذلك على المنبرفعن عمارة بن رويبة ، قال : لقد رأيت رسول الله - صلى الله عليه وسلم - وهو على المنبر ما يزيد على هذه - يعني : السبابة التي تلي الإبهام . أخرجه : أحمد ومسلم .وعن سهل بن سعد ، قال: ما رأيت رسول الله شاهراً يديه قط يدعو على منبره ولا على غيره . ولكن رأيته ، يقول هكذا : وأشار بإصبعه السبابة يحركها أخرجه : أحمد، وأبو داود وابن خزيمة) ، وفعله لما ركب راحلته. وذهب جماعة من العلماء إلى أنَّ دعاء القنوت في الصلاة يُشير فيه بإصبعه ، منهم : الأوزاعي ، وسعيدُ بن عبد العزيز ، وإسحاق بن راهويه . وقال ابن عباس وغيره : هذا هو الإخلاص في الدعاء، وعن ابن سيرين : إذا أثنيت على الله ، فأَشِرْ بإصبعٍ واحدة .
•    ومنها : أنَّه - صلى الله عليه وسلم - رفع يديه وجعل ظُهورَهما إلى جهةِ القبلة وهو مستقبلها ، وجعل بطونَهما ممَّا يلي وجهَه . وقد رُويت هذه الصَّفةُ عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - في دعاء الاستسقاء ، واستحبّ بعضُهمُ الرفع في الاستسقاء على هذه الصفة ، منهم : الجوزجاني .وقال بعض السَّلف : الرفع على هذا الوجه تضرُّعٌ .
•    ومنها عكسُ ذلك ، وقد رُوي عَنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - في الاستسقاء أيضاً ، ورُوي عن جماعة من السَّلف أنَّهم كانوا يدعون كذلك ، وقال بعضهم : الرفع على هذا الوجه استجارةٌ بالله - عز وجل - واستعاذة به ، منهم : ابنُ عمر ، وابنُ عباس ، وأبو هريرة ، ورُوي عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - أنَّه كان إذا استسقى رفعَ يديه ، وإذا  استعاذَ رفع يديه على هذا الوجه.
•    ومنها : رفع يديه ، جعل كفَّيه إلى السَّماء وظهورهما إلى الأرض . وقد ورد الأمرُ بذلك في سُؤال الله - عز وجل - في غير حديث ، وعن ابن عمر ، وأبي هريرة ، وابن سيرين أنَّ هذا هو الدُّعاء والسُّؤال لله - عز وجل - .
•    ومنها : عكسُ ذلك ، وهو قلب كفيه وجعل ظهورهما إلى السماء وبطونهما مما يلي الأرض . وفي " صحيح مسلم " عن أنس : أنَّ النَّبيَّ - صلى الله عليه وسلم - استسقى فأشار بظهر كفَّيه إلى السَّماء . وخرَّجه الإمام أحمد رحمه الله - ولفظه : (( فبسط يديه ، وجعل ظاهرهما مما يلي السماء )) . وخرَّجه أبو داود، ولفظه : استسقى هكذا ، يعني : مدّ يديه ، وجعل بطونَهما مما يلي الأرض .
•    وخرّج الإمام أحمد بسند ضعيف من حديث أبي سعيد الخدري ، قال : كان النَّبيُّ - صلى الله عليه وسلم - واقفاً بعرفة يدعو هكذا ورفع يديه حيال ثُنْدوتِه ، وجعل بُطون كفَّيه مما يلي الأرض .. وقال ابن سيرينَ : أنَّ هذا هو الاستجارة . وقال الحميدي : هذا هو الابتهالُ .

-- ลักษณะการยกมือขอดุอาอฺ มีหลายแบบ (39.00)
3.1 ยกนิ้วชี้นิ้วเดียว, นบีเคยยกนิ้วขอดุอาอฺบนมิมบัร (เช่นเดียวกับตอนนั่งตะชะฮุด ซึ่งมีศ่อละวาตและขอดุอาอฺ), ตอนขี่พาหนะ
- อุละมาอฺบางท่านบอกว่าตอนกุนูตในละหมาด ให้ยกนิ้วชี้
- การชี้นิ้ว แสดงความอิคลาศต่ออัลลอฮฺ, ชี้นิ้วตอนซิกรุลลอฮฺก็ได้เช่นกัน
3.2 ท่านนบียกมือ โดยให้หลังมืออยู่ในทิศของกิบลัต ฝ่ามืออยู่ด้านใบหน้าของท่าน 
- ท่านนบีใช้ตอนขอดุอาอฺขอฝน
- สลัฟบางท่านบอกว่า นี่เป็นการขอแบบคะยั้ยคะยอ ซาบซึ้งมาก
3.3 (ตรงข้ามกับ 3.2) ฝ่ามืออยู่หันไปทางกิบลัต หลังมืออยู่ต่อหน้าเรา
- ท่านนบีใช้ตอนดุอาอฺขอฝน
- เป็นการขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ให้พ้นจากสิ่งเลวร้าย อิบนุอุมัร อิบนุอับบาส อบูฮุรอยเราะฮฺ เคยยกมือขอแบบนี้
- ตะเลาะบะลอในเดือนเศาะฟัร ???
3.4 ยกมือ โดยให้ฝ่ามือหันไปยังฟากฟ้า หลังมือหันไปทางพื้นดิน
3.5 ตรงข้ามกับ 3.4 หันฝ่ามือลงไปยังพื้นดิน หลังมือหันไปทางท้องฟ้า
3.6 (อิสนาดฎออีฟหน่อย) มือขนานหน้าอก (นม) ฝ่ามือหันไปยังพื้นดิน
นบียืนที่อะเราะฟะฮฺ ยกมือขอดุอาอฺแบบนี้

การยกนิ้วชี้นิ้วเดียว บนมิมบัร, นั่งตะชะฮุด, ขี่พาหนะ, กุนูต
ยกมือโดยให้หลังมือหันไปทางกิบลัต ฝ่ามืออยู่ต่อหน้าใบหน้าของท่าน หันหน้าไปทางกิบลัต ขณะขอดุอาอฺขอฝน
ตรงข้ามกับข้างต้น (หันฝ่ามือออกไปทางกิบลัต หลังมือหันเข้าหาตัว) เป็นการขอความคุ้มครอง
ยกมือโดยให้ฝ่ามือหันไปยังฟากฟ้า หลังมือหันลงพื้นดิน (ขนานกับพื้น)    
ตรงข้ามกับข้างต้น (คว่ำฝ่ามือ)
ยกมือระดับหน้าอก ฝ่ามือหันไปยังพื้นดิน
 คำถาม : การยกมือสูงขณะขอดุอาอ, การคำนวณเวลาละหมาดซุบฮฺ

 

WCimage
หะดีษที่ 10-5 มารยาทในการขอดุอาอฺ