หะดีษที่ 9/4 อันใดที่ฉันได้ห้ามท่าน ก็จงปลีกห่างมัน...

Submitted by dp6admin on Mon, 25/11/2024 - 13:10
หัวข้อเรื่อง
- ความคิดเห็นจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ เป็นเหตุให้เรื่องของศาสนานั้นยุ่งยาก(ไม่ได้มาจากตัวบทหลักฐาน)
- ทุ่มเทในเรื่องคำสั่งใช้และห้าม มากกว่ามัสอะละฮฺที่สมมติขึ้นมา
- ละทิ้งสิ่งหะรอมดีกว่าทำความดีที่เป็นซุนนะฮฺ
- การทำฟัรฎู มีผลบุญมากกว่า การทิ้งสิ่งหะรอม (ความชั่ว)
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ความยาว
76.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

الْحَدِيْثُ التاسع หะดีษที่ 9

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ عَبْدِ الرَّحْمنِ بْنِ صَخْرٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ  قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللهِ  صلى الله عليه وسلم  يَقُولُ:

(( مَانَهَيْتُكُمْ عَنْهُ فَاجْتَنِبُوهُ  ، وَمَا أَمَرْتُكُمْ بِهِ فَأْ تُوا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ،  فَإِنَّمَا أَهْلَكَ الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ كَثْرَةُ مَسَائِلِهِمْ وَاخْتِلاَ فُهُمْ عَلَى أَنْبِيَا ئِهِمْ ))    ;رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

    จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ (อับดุรเราะหฺมาน บินศ็อครฺ)  กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านร่อซูล ﷺ กล่าวว่า “อันใดที่ฉันได้ห้ามท่าน ก็จงปลีกห่างมัน และอันใดที่ฉันสั่งให้ทำก็จงปฏิบัติเท่าที่ท่านสามารถ แท้จริง บรรดา(ผู้คน)ที่พินาศไปก่อนหน้าพวกท่านนั้นคือ พวกเขาถามมาก และพวกเขาขัดแย้ง (ไม่เคารพเชื่อฟัง) นบีของพวกเขา”  หะดีษนี้บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม

الرأي والهوى سبب صعوبة المسائل
ความคิดเห็นจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ เป็นเหตุให้เรื่องของศาสนานั้นยุ่งยาก(ไม่ได้มาจากตัวบทหลักฐาน)

- ชื่นชอบความคิดเห็นของตนเอง โดยไม่ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้อื่น ทำให้ละเลยคำสั่งของอัลลอฮฺ และไปเน้นที่ความเห็นตนเองมากกว่า

•    مَنْ لم يشتغل بكثرة المسائل التي لا يوجدُ مثلُها في كتاب ، ولا سنة ، بل اشتغل بفهم كلام الله ورسوله ، وقصدُه بذلك امتثالُ الأوامر ، واجتنابُ النواهي ، فهو ممَّنِ امتثلَ أمرَ رسول الله - صلى الله عليه وسلم - في هذا الحديث ، وعَمِلَ بمقتضاه ، ومن لم يكن اهتمامُه بفهم ما أنزل الله على رسوله ، واشتغل بكثرةِ توليدِ المسائل قد تقع وقد لا تقع ، وتكلَّفَ أجوبتها بمجرَّد الرأي ، خُشِيَ عليه أنْ يكونَ مخالفاً لهذا الحديث ، مرتكباً لنهيه ، تاركاً لأمره .
8.5 - ใครที่ไม่เปลืองเวลากับเรื่องที่อัลกุรอานและซุนนะฮฺไม่เอ่ยถึง แต่เน้นในการทำความเข้าใจกะลามุลลอฮฺและคำสอนของร่อซูล โดยเจตนาเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ และหลีกห่างจากข้อห้ามต่างๆ คนเหล่านี้แหละที่ปฏิบัติตามคำสั่งของนบีในหะดีษที่ 9 นี้ -- ชีวิตของเราควรทุ่มเทในเรื่องนี้
- ใครที่ไม่ได้ใช้เวลาในการเข้าใจสิ่งที่อัลลอฮฺประทานมา แต่ทุ่มเทในมัสอะละฮฺที่สมมติขึ้นมา ที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ได้ ซึ่งประโยชน์ของมันน้อยกว่าเรื่องใกล้ตัวหรือเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วน
- เรื่องที่ศาสนาบัญญัติไว้ บางเรื่องก็ไม่ได้ปฏิบัติบ่อยๆ  ก็ควรให้ความสำคัญน้อยกว่าเรื่องที่ให้ปฏิบัติประจำ เช่น ละหมาดกุซูฟ ไม่จำเป็นศึกษามากเท่าละหมาดฟัรฎู
- การจินตนาการสมมติมัสอะละฮฺขึ้นมา และหาทางวินิจฉัย ไม่มีหลักฐานในกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ ก็วินิจฉัยตามอารมณ์ ตามความคิดตนเอง
- ทำซินากับหญิงต่างศาสนิกจนตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไร ? -- รอให้คลอด เตาบัต แล้วพิจารณาว่าจะนิกาหฺกันไหม  จะจับแต่งงานเลยไม่ได้

•    واعلم أنَّ كثرةَ وقوع الحوادث التي لا أصل لها في الكتاب والسنة إنَّما هو مِنْ ترك الاشتغال بامتثالِ أوامر الله ورسوله ، واجتنابِ نواهي الله ورسوله ، فلو أنَّ من أرادَ أنْ يعمل عملاً سأل عمَّا شرع الله في ذلك العمل فامتثله ، وعما نهى عنه فاجتنبه ، وقعت الحوادثُ مقيدةً بالكتاب والسنة .
•    وإنَّما يعمل العاملُ بمقتضى رأيه وهواه ، فتقع الحوادثُ عامَّتُها مخالفةً لما شرعه الله وربما عسر ردُّها إلى الأحكام المذكورةِ في الكتاب والسنة ؛ لبعدها عنها .

- การใช้ชีวิตในกรอบจำกัด(ข้อใช้) และกรอบกว้าง(ข้อห้าม) ชีวิตจะมั่นคง -- ทำอะไร อย่าให้มีข้อห้ามในศาสนา อย่าให้หลุดกรอบ

تفضيل ترك المحرمات على فعل النوافل
32.25 ละทิ้งสิ่งหะรอมดีกว่าการทำความดีที่เป็นซุนนะฮฺ 

•    والظاهر أنَّ ما ورد مِن تفضيل ترك المحرَّمات على فعل الطاعات ، إنَّما أُريد به على نوافل الطّاعات ، وإلاّ فجنسُ الأعمال الواجبات أفضلُ مِنْ جنسِ ترك المحرَّمات ؛ لأنَّ الأعمال مقصودة لذاتها ، والمحارم المطلوبُ عدمها ، ولذلك لا تحتاج إلى نية بخلاف الأعمالِ ، وكذلك كان جنسُ ترك الأعمال قد يكون كفراً كتركِ التوحيد ، وكتركِ أركان الإسلام أو بعضها على ما سبق ، بخلاف ارتكاب المنهيات فإنَّه لا يقتضي الكفر بنفسه.

- การใช้ทองนำหรับมุสลิมีนที่ต้องระวัง เช่น นาฬิกา เข็มขัด ฯลฯ, ผ้าโสร่งที่ผสมไหม
- ผู้ชายใส่ทองคำละหมาด ละหมาดศาะหฺมั้ย, ละหมาดโดยเสื้อผ้ามีจะนาซะฮฺ ?, 
- การทำฟัรฎู มีผลบุญมากกว่า การทิ้งสิ่งหะรอม (ความชั่ว)
- การละทิ้งละหมาด ศีลอด ฮัจญฺ ซะกาต เป็นบาปใหญ่หรือถึงขั้นกุฟรฺ แต่ความชั่วต่างๆ ไม่เป็นกุฟรฺในตัวมัน

•    وقال ميمون بن مِهران : ذكرُ اللهِ باللسان حسن ، وأفضلُ منه أنْ يذكر الله العبدُ عندَ المعصية فيمسِكَ عنها . وقال ابنُ المبارك : لأنْ أردَّ درهماً من شبهة أحبُّ إلىَّ من أنْ أتصدَّقَ بمئة ألفٍ ومئة ألف ، حتّى بلغ ست مئة ألف.
- ซิเกร(รำลึกถึงอัลลอฮฺ)ด้วยลิ้นน่ะดี แต่ที่ดีกว่าคือการรำลึกถึงอัลลอฮฺก่อนที่จะทำมะอฺศิยัต(ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ)

54.0

•    وقال عمر بنُ عبد العزيز : ليست التقوى قيامَ الليل ، وصِيام النهار ، والتخليطَ فيما بَيْنَ ذلك ، ولكن التقوى أداءُ ما افترض الله ، وترك ما حرَّم الله ، فإنْ كان مع ذلك عملٌ ، فهو خير إلى خير ، أو كما قال. وقال أيضاً : وددتُ أني لا أصلي غيرَ الصَّلوات الخمس سوى الوتر ، وأنْ أؤدِّي الزكاة ، ولا أتصدَّق بعدها بدرهم ، وأنْ أصومَ رمضان ولا أصوم بعده يوماً أبداً ، وأنْ أحجَّ حجة الإسلام ثم لا أحجَّ بعدها أبداً ، ثم أعمد إلى فضل قوتي ، فأجعله فيما حرَّم الله عليَّ ، فأمسك عنه .
อุมัร อิบนุอับดิลอะซีซ - ตักวาไม่ใช่ว่าลุกขึ้นละหมาดกิยามุลลัยลฺกลางคืนและถือศีลอดกลางวัน แต่ระหว่างนั้นเลอะเทอ (เช่น ฟังดนตรี ดูละคร สูบบุหรี่ ฯลฯ)
ตักวาที่แท้จริงคือ ทำในสิ่งที่อัลลอฮฺใช้ให้ทำ (ฟัรฎู) ละเว้นสิ่งที่อัลลอฮฺห้าม ทำหน้าที่วาจิบฟัรฎู ละเว้นความชั่วทุกประการแล้วไซร้ มีนัฟลูเพิ่มเติม ก็เป็นความดีที่เพิ่มไปจากความดีอีก

- รักสิ่งใดมากกว่าอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะให้เขาทรมานด้วยสิ่งนั้น
- อายะฮฺที่ให้ความหวังที่สุด - 35:32 และเราได้ให้คัมภีร์ เป็นมรดกสืบทอดมา แก่บรรดาผู้ที่เราคัดเลือกแล้วจากปวงบ่าวของเรา บางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้อธรรมแก่ตัวเอง และบางคนในหมู่พวกแป็นผู้เดินสายกลางและบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้รุดหน้าในการทำความดีทั้งหลาย
- มนุษย์ที่ปะปนความดีและความชั่ว
 

WCimage
หะดีษที่ 9-4 อันใดที่ฉันได้ห้ามท่าน ก็จงปลีกห่างมัน...