หะดีษที่ 7/4 อัดดีนุนนะศีหะฮฺ //

Submitted by dp6admin on Fri, 15/11/2024 - 14:35
หัวข้อเรื่อง
- ประเภทของการตักเตือนที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการตักเตือนแก่คนที่ขอคำตักเตือนหรือคำปรึกษา
- นะศีหัตลับหลัง - ท่านนบีกล่าวว่า "สิทธิของมุสลิมต่อมุสลิม (ต้องให้แก่กัน) ที่จะต้องนะศีหัตแก่กัน เมื่อเขาไม่อยู่"
- มารยาทในการนะศีหัต - จะตักเตือนให้สัมฤทธิ์ผล ก็ต้องมีมารยาทในการตักเตือน
- ใครที่เตือนพี่น้องเขาในเชิงลับ นั่นเป็นนะศีฮะฮฺอย่างแท้จริง แต่ใครที่เตือนต่อหน้าผู้คน นั่นคือการตำหนิ
- เมื่อท่านนบีจะเตือนใครต่อสาธารณะ ท่านจะไม่เอ่ยชื่อ เช่น "ทำไมมีคนทำแบบนี้ๆ....."
- การตักเตือนเป็นชะอีเราะฮฺ อัตลักษณ์ของสังคมมุสลิม (เช่นเดียวกับการอะซาน)
วันที่บรรยาย
วันที่อัพ
ความยาว
82.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

عَنْ أَبِي رُقَيَّةَ تَمِيمِ بْنِ أَوسٍ الدَّارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ  أَنّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  قَالَ :  (( الدِّينُ النَّصِيحَةُ ))

قُلْنَا : لِمَنْ ؟  قَالَ : (( لِلَّهِ ، وَلِكِتَابِهِ ، وَلِرَسُولِهِ ، وَلأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ  وَعَامَّتِهِمْ  ))  رَوَاهُ مُسْلِمٌ .

จากอบูรุก็อยยะฮฺ (ตะมีม บิน เอาวสฺ อัดดารี)  กล่าวว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ศาสนานั้นคือ การตักเตือน” 
พวกเราถามว่า “สำหรับใครครับ (โอ้ท่านนบี)?” ท่านนบี ﷺ ตอบว่า “สำหรับอัลลอฮฺ, คัมภีร์ของพระองค์, ศาสนทูตของพระองค์, ผู้นำมุสลิม และสำหรับมุสลิมทั่วๆ ไป”
 หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม

ومن أعظمِ أنواع النصح أنْ يَنْصَحَ لمن استشاره في أمره ، 
ประเภทของการตักเตือนที่สำคัญอย่างยิ่ง คือการตักเตือนแก่คนที่ขอคำตักเตือนหรือคำปรึกษา

كما قال  :  (( إذا استَنْصَحَ أحدُكُم أخاه ، فليَنْصَحْ له ))  ، 
ดังที่ท่านนบีกล่าวว่า "เมื่อคนหนึ่งคนใดขอนะศีหัตจากพี่น้องเขา ท่านก็จงนะศีหัตแก่เขา"
- จำเป็นต้องให้นะศีหัต โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องศาสนา

وفي بعض الأحاديث : (( إنَّ من حقِّ المسلم على المسلم أنْ ينصحَ له إذا غابَ ))  ومعنى ذلك : أنَّه إذا ذكر في غيبه بالسوء أنْ ينصره ، ويرد عنه ، وإذا رأى من يريد أذاه في غيبه ، كفه عن ذلك ، فإنَّ النصح في الغيب يدلُّ على صدق النصح، فإنَّه قد يظهر النصحَ في حضوره تملقاً، ويغشه في غيبه .

ท่านนบีกล่าวว่า "สิทธิของมุสลิมต่อมุสลิม (ต้องให้แก่กัน) ที่จะต้องนะศีหัตแก่กัน เมื่อเขาไม่อยู่" 
อิบนุร่อจับ - นะศีหัตลับหลัง หมายถึง เมื่อพี่น้องเขาไม่อยู่ มีใครเอ่ยถึงเขาในทางไม่ดี เราต้องปกป้องเขา คือให้นะศีหัตคนที่นินทาใส่ร้ายเขา นะศีหัตลับหลังย่อมบริสุทธิ์กว่านะศีหัตต่อหน้า

•    وقال الحسن : إنَّك لن تَبْلُغ حقَّ نصيحتك لأخيك حتى تأمره بما تَعْجَزُ عنه . قال الحسن : وقال بعضُ أصحاب النَّبيِّ   : والذي نفسي بيده إنْ شئتم لأقسمنَّ لكم بالله إنَّ أحبَّ عبادِ الله إلى الله الذين يُحببون الله إلى عباده ويُحببون عباد الله إلى الله ، ويسعون في الأرض بالنصيحة( .

18.00 อัลหะซัน อัลบัศรี - ท่านจะไม่บรรลุสิทธิแห่งการตักเตือนพี่น้องของท่าน(อย่างแท้จริง) จนกระทั่งท่านจะทำหน้าที่ตักเตือนเขาในสิ่งที่ตัวท่านทำไม่ได้ (สิ่งดีๆ เช่น กิยามุลลัยลฺ ถือศีลอด บริจาค ฯลฯ)
- แบบนี้จะเข้าในเครือข่ายของอายะฮฺ(บะเกาะเราะฮฺ)ที่ว่า ทำไมใช้คนอื่น แต่ตนเองไม่ปฏิบัติ
- อัลหะซัน - บุคคลที่อัลลอฮฺรักยิ่ง คือคนที่ทำให้บ่าวของอัลลอฮฺ รักพระองค์ และบุคคลที่ทำให้อัลลอฮฺรักบ่าวของพระองค์
- ศาสนาไม่สมบูรณ์หากไม่มีการตักเตือน

36.0
من آداب النصح - มารยาทในการนะศีหัต
- จะตักเตือนให้สัมฤทธิ์ผล ก็ต้องมีมารยาทในการตักเตือน

    وكان السَّلفُ إذا أرادوا نصيحةَ أحدٍ ، وعظوه سراً حتّى قال بعضهم : مَنْ وعظ أخاه فيما بينه وبينَه فهي نصيحة، ومن وعظه على رؤوس الناس فإنَّما وبخه.وقال الفضيل : المؤمن يَسْتُرُ ويَنْصَحُ ، والفاجرُ يهتك ويُعيِّرُ . 

- บรรดาสลัฟเมื่อจะเตือนใครก็ตาม เขาจะตักเตือนลับๆ 
- ใครที่เตือนพี่น้องเขาในเชิงลับ นั่นเป็นนะศีฮะฮฺอย่างแท้จริง แต่ใครที่เตือนต่หน้าผู้คน นั่นคือการตำหนิ

43. อัลฟุฎ็อยลฺ - มุอฺมินจะปกปิดและตักเตือน (เมื่อพี่น้องเขาทำอะไรไม่ดี จะไม่บอกใคร แต่จะไปเตือนเขา) ฟาจิร (คนชั่ว ต่ำช้า) ที่จะทำลายและเยาะเย้ยคนอื่น
- เมื่อท่านนบีจะเตือนใครต่อสาธารณะ ท่านจะไม่เอ่ยชื่อ เช่น "ทำไมมีคนทำแบบนี้ๆ....."
- ท่านนบีตำหนิมุนาฟิก แต่ไม่เคยเอ่ยชื่อเลยซักคน เพื่อเปิดโอกาสให้เตาบัตตัว ซึ่งภายหลังเกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนแปลงและเตาบัตตัว มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ตายในสภาพมุนาฟิก
- นบีกับหุซัยฟะฮฺรู้ชื่อมุนาฟิก เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญที่ทำงานสังคม

وقال عبد العزيز بن أبي رواد : كان مَنْ كان قبلكم إذا رأى الرجلُ من أخيه شيئاً يأمره في رفق ، فيؤجر في أمره ونهيه ، وإنَّ أحد هؤلاء يخرق بصاحبه فيستغضب أخاه ويهتك ستره . وسئل ابنُ عباس - رضي الله عنهما - عن أمر السلطان بالمعروف ، ونهيه عن المنكر ، فقال : إنْ كنت فاعلاً ولابدَّ ، ففيما بينك وبينه . وقال الإمام أحمد رحمه الله : ليس على المسلم نصحُ الذمي ، وعليه نصحُ المسلم . وقال النَّبيُّ   : (( والنصح لكل مسلم ، وأنْ ينصح لجماعةِ المسلمين وعامتهم )) .

อับดุลอะซีซ (อยู่ในศตวรรษที่ 2) - กลุ่มชนรุ่นก่อน เมื่อเห็นพี่น้องเขาทำอะไร ก็จะตักเตือน ซึ่งเขาจะได้รับในการสั่งใช้หรือสั่งห้ามนั้น แต่ปัจจุบันคนแสดงมารยาทที่ชั่วร้าย ทำสิ่งที่ไม่ดีจนพี่น้องเขาโกรธ นั่นคือแฉความชั่วของเขา
- สังคมอยู่ด้วยความรักใคร่ ห่วงใยกัน มีคนทำความผิดก็ปกปิดและตักเตือน ไม่ใช่แฉความผิดของพี่น้อง
57.0 - ผู้นำก็ต้องมีมารยาทในการตักเตือน
- ความผิดที่คนเปิดเผย คนรู้ไปทั่ว ก็จำเป็นต้องตักเตือนต่อสาธารณะ

WCimage
หะดีษที่ 7/4 อัดดีนุนนะศีหะฮฺ //