หะดีษที่ 7/2 อัดดีนุนนะศีหะฮฺ

Submitted by dp6admin on Tue, 12/11/2024 - 15:41
หัวข้อเรื่อง
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 32
- นิยามของ "นะศีหะฮฺ"
- จะตักเตือนอย่างไร ให้ได้ผล บรรลุเป้าหมาย
- นะศีหัตสำหรับอัลลอฮฺ คือให้อะกีดะฮฺถูกต้อง ให้เอกภาพต่อพระองค์อย่างบริสุทธิ์
- นะศีหัตสำหรับคัมภีร์ต่อพระองค์ - คือแสดงความบริสุทธิ์ด้วยการอีมานต่อคัมภีร์ และปฏิบัติตามคำบัญชาในคัมภีร์
- นะศีหัตสำหรับร่อซูลของพระองค์ - เชื่อในการเป็นนบีของท่าน ถวายการเชื่อฟังต่อท่านนบีในสิ่งที่ท่านสั่งใช้ให้ทำ และสิ่งที่ท่านห้าม
- นะศีหัตต่อมุสลิมทั่วไป คือ แนะนำเขาในสิ่งที่เป็นประโยชน์
วันที่บรรยาย
ความยาว
79.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

عَنْ أَبِي رُقَيَّةَ تَمِيمِ بْنِ أَوسٍ الدَّارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ  أَنّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  قَالَ :  (( الدِّينُ النَّصِيحَةُ )) قُلْنَا : لِمَنْ ؟  قَالَ : (( لِلَّهِ ، وَلِكِتَابِهِ ، وَلِرَسُولِهِ ، وَلأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ  وَعَامَّتِهِمْ  ))  رَوَاهُ مُسْلِمٌ .

จากอบูรุก็อยยะฮฺ (ตะมีม บิน เอาวสฺ อัดดารี)  กล่าวว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ศาสนานั้นคือ การตักเตือน” 
พวกเราถามว่า “สำหรับใคร (โอ้ท่านนบี)?” ท่านนบี  ตอบว่า “สำหรับอัลลอฮฺ, คัมภีร์ของพระองค์, ศาสนทูตของพระองค์, ผู้นำมุสลิม และสำหรับมุสลิมทั่วๆ ไป”
 หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม

ما معنى النصيحة وماذا تشمل ؟
นิยามของ "นะศีหะฮฺ"

    قال الخطابيُّ : النصيحةُ كلمةٌ يُعبر بها عن جملة هي إرادةُ الخيرِ للمنصوح له ، قال : وأصلُ النصح في اللغة الخُلوص ، يقال : نصحتُ العسل : إذا خلصتَه من الشمع . فمعنى النصيحة لله سبحانه : صحةُ الاعتقادِ في وحدانيته ، وإخلاصُ النية في عبادته ، والنصيحة لكتابه : الإيمانُ به ، والعمل بما فيه ، والنصيحة لرسوله : التصديق بنبوّته ، وبذل الطاعة له فيما أمَرَ به ، ونهى عنه ، والنصيحةُ لعامة المسلمين : إرشادُهم إلى مصالحهم . انتهى .
อิมามค็อฏฏอบีย (คนแรกที่ชะเราะหฺหนังสือศ่อฮี้ฮฺบุคอรียฺ ได้รับความนิยมเพราะลึกซึ้งและตรงประเด็น) 
- นิยาม "อันนะศีหะฮฺ" ว่า เป็นศัพท์ที่หมายรวมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความปรารถนาดี(ความบริสุทธิ์ใจ)ของผู้ให้คำตักเตือนต่อผู้ที่ถูกตักเตือน 
- การตักเตือน ไม่ใช่เพียงคำพูด แต่รวมทุกอย่าง เช่น ดุอาอฺให้เขา
- รากฐาน (อะศ็อล) ของ "นะศีหะฮฺ"  คือ คุลูศ (อิคลาศ) - การขับออก คือ นำสิ่งที่ไม่ดีออกไป เช่น ริยาอฺ โอ้อวด ไม่หวังดี ฯลฯ 
- เดิมศัพท์นี้จะใช้กับน้ำผึ้ง นะเศาะฮุลอะสะละ - กรองน้ำผึ้งให้บริสุทธิ์ (เอาเศษรังผึ้ง เกสร ขี้ผึ้ง หรือสิ่งอื่นๆ ออกไป) ฉะนั้น นะศีหัตต้องแสดงซึ่งความบรีสุทธิ์

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ศาสนานั้นคือ การตักเตือน” 
ศ่อฮาบะฮฺถามว่า “สำหรับใคร (โอ้ท่านนบี)?” 
ท่านนบี  ตอบว่า 

- นะศีหัตสำหรับอัลลอฮฺ คือให้อะกีดะฮฺถูกต้อง ให้เอกภาพต่อพระองค์อย่างบริสุทธิ์
- นะศีหัตสำหรับคัมภีร์ต่อพระองค์ - คือแสดงความบริสุทธิ์ด้วยการอีมานต่อคัมภีร์ และปฏิบัติตามคำบัญชาในคัมภีร์
- นะศีหัตสำหรับร่อซูลของพระองค์ - เชื่อในการเป็นนบีของท่าน ถวายการเชื่อฟังต่อท่านนบีในสิ่งที่ท่านสั่งใช้ให้ทำ และสิ่งที่ท่านห้าม 
- นะศีหัตต่อมุสลิมทั่วไป คือ แนะนำเขาในสิ่งที่เป็นประโยชน์

    وقد أخبر النَّبيُّ -   أنَّ الدينَ النصيحةُ ، فهذا يدلُّ على أنَّ النصيحة تَشْمَلُ خصالَ الإسلام والإيمانِ والإحسانِ التي ذكرت في حديث جبريل ، وسمَّى ذلك كُلَّه ديناً ، فإنَّ النُّصح لله يقتضي القيام بأداء واجباته على أكمل وجوهِها ، وهو مَقام الإحسّان ، فلا يكملُ النُّصحُ لله بدون ذلك ، ولا يتأتى ذلك بدون كمال المحبة الواجبة والمستحبة ، ويستلزم ذلك الاجتهاد في التقرَّب إليه بنوافل الطاعات على هذا الوجه وترك المحرَّمات والمكروهات على هذا الوجه أيضاً . وقال الفضيل بنُ عياض : الحبُّ أفضلُ من الخوف ، ألا ترى إذا كان لك عبدان أحدهما يُحبك ، والآخر يخافك ، فالذي يُحبّك منهما ينصحُك شاهداً كنت أو غائباً لِحبه إيَّاك ، والذي يخافك عسى أنْ ينصحَك إذا شَهِدْتَ لما يخاف ، ويغشك إذا غبتَ ولا ينصحُك .

- หะดีษญิบรีล ที่นบีอธิบาย อิสลาม-อีมาน-อิหฺซาน
ศาสนาคือ  อิสลาม-อีมาน-อิหฺซาน
และ ศาสนาคือ การตักเตือน -- แสดงว่านะศีหัต (การตักเตือน,บริสุทธิ์) ต้องครอบคลุมทั้ง 3 ประเด็นคือ ต้องมีความบริสุทธิ์ใน อิสลาม อีมาน และอิหฺซาน
- บริสุทธิ์ต่ออัลลอฮฺอย่างเต็มรูปแบบ ต้องมีความรักต่ออัลลอฮฺทั้งที่เป็นวาจิบและอาสา พยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮฺด้วยการปฏิบัตินะวาฟิล (อิบาดะฮฺที่เป็นซุนนะฮฺ) รวมถึงละเว้นสิ่งบาปและมักรูหฺ
- ความรักต่ออัลลอฮฺ และยำเกรงอัลลอฮฺ ต้องมีทั้งสองอย่าง -- ความรักหรือความยำเกรง ประเสริฐกว่า ?
ฟุฎ็อยลฺ - ความรักประเสริฐกว่า

36.35
النصيحة منها ما هو فرض ونفل
นะศีหัตต่ออัลลอฮฺ มีทั้งฟัรฎูและนัฟลู

•    قال محمد بن نصر : قال بعض أهل العلم : جماعُ تفسير النصيحة هو عنايةُ القلب للمنصوح له مَنْ كان ، وهي على وجهين : أحدهما فرض ، والآخر نافلة .
สรุปนิยามของ "นะศีหะฮฺ" คือ เอาใจใส่บุคคลที่เราจะนะศีหัตเขา มี 2 รูปแบบ คือ นะศีฟัตที่เป็นฟัรฎูและนาฟิละฮฺ

•     فالنصيحةُ المفترضة لله : هي شدة العناية من الناصح باتباع محبة الله في أداء ما افترض ، ومجانبة ما حرَّم .
- ทำในสิ่งที่อัลลอฮฺชอบ ก่อนสิ่งที่เราชอบ

•    وأما النصيحة التي هي نافلة ، فهي إيثار مَحبته على محبة نفسه ، وذلك أنْ يَعْرِض أمران ، أحدهما لنفسه ، والآخرُ لربه ، فيبدأ بما كان لربه ، ويؤخر ما كان لنفسه ، فهذه جملة تفسير النصيحة لله ، الفرض منه والنافلة .

43.0
النصيحة الفرض والنصيحة النافلة
นะศีหัตต่ออัลลอฮฺ ที่เป็นฟัรฎูและนัฟลู (อธิบายและยกตัวอย่าง)

•    ولذلك تفسير ، وسنذكر بعضَه لِيفهم  بالتفسير من لا يفهم الجملة

•    فالفرضُ منها مجانبةُ نهيه ، وإقامةُ فرضه بجميع جوارحه ما كان مطيقاً له ، فإنْ عَجَزَ عن الإقامة بفرضه لآفة حَلَّتْ به من مرض ، أو حبس ، أو غير ذلك ، عزم على أداء ما افترض عليه متى زالت عنه العلةُ المانعةُ له ، قال الله - عز وجل - : { لَيْسَ عَلَى الضُّعَفَاءِ وَلا عَلَى الْمَرْضَى وَلا عَلَى الَّذِينَ لا يَجِدُونَ مَا يُنْفِقُونَ حَرَجٌ إِذَا نَصَحُوا للهِ وَرَسُولِهِ مَا عَلَى الْمُحْسِنِينَ مِنْ سَبِيلٍ }  ، فسماهم محسنين لِنصيحتهم لله بقلوبهم لمَّا مُنِعُوا من الجهاد بأنفسهم .
- ฟัรฎู - หลีกเลี่ยงจากข้อห้าม, ดำรงฟัรฎูด้วยอวัยวะทั้งปวง

•    وقد ترفع الأعمالُ كُلُّها عن العبد في بعض الحالات ، ولا يُرفع عنه النصحُ لله ، فلو كان من المرض بحالٍ لا يُمكنه عملٌ بشيء من جوارحه بلسانٍ ولا غيره ، غير أنَّ عقلَه ثابتٌ ، لم يسقط عنه النصحُ لله بقلبه وهو أنْ يندمَ على ذنوبه ، وينويَ إنْ صحَّ أنْ يقومَ بما افترض الله عليه ، ويجتنبَ ما نهاه عنه ، وإلا كان غير ناصح لله بقلبه .

- สงครามตะบู๊ก - ทดสอบความบริสุทธิ์ใจของบรรดามุสลิม -- สงครามที่ฆ็อซซะฮฺ - บททดสอบความบริสุทธิ์ใจของบรรดามุสลิมปัจจุบัน

1.05
•    وكذلك النصحُ لله ولرسوله   فيما أوجبه على الناس عن أمرِ ربه ، ومن النصح الواجب لله أنْ لا يرضى بمعصية العاصي ، ويُحِبَّ طاعةَ من أطاعَ الله ورسولَه .
- บริสุทธิ์ต่อร่อซูล ในสิ่งที่นบีได้เทศนา
- เป็นความบริสุทธิ์ต่ออัลลอฮฺ ที่จะต้องไม่พึงพอใจต่อความผิดของผู้อื่น

•    وأما النصيحةُ التي هي نافلةٌ لا فرض : فبذل المجهود بإيثار الله تعالى على كُلِّ محبوب بالقلب وسائرِ الجوارح حتى لا يكونَ في الناصح فضل عن غيره ، لأنَّ الناصحَ إذا اجتهد لم يؤثر نفسه عليه، وقام بكُلِّ ما كان في القيام به سرورُه ومحبتُه ، فكذلك الناصحُ لربه ، ومن تنفَّل لله بدون الاجتهاد ، فهو ناصح على قدر عمله ، غير مستحق للنصح بكماله .
- นะศีหัตที่เป็นนัฟลู (ซุนนะฮฺ) - รักสิ่งที่อัลลอฮฺรัก มากกว่าสิ่งที่เรารัก

 

WCimage
หะดีษที่ 7/2 อัดดีนุนนะศีหะฮฺ