หะดีษที่ 6/2 สิ่งที่หะล้าลชัดเจน สิ่งที่หะรอมก็ชัดเจน

Submitted by dp6admin on Sat, 12/10/2024 - 12:01
หัวข้อเรื่อง
หะดีษสำคัญในด้านนิติศาสตร์อิสลาม
ตัวอย่างสิ่งหะล้าลชัดเจน สิ่งหะรอมชัดเจน
นิยามของ “มุชตะบิฮาต” (สิ่งคลุมเครือ)
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
ความยาว
83.00 นาที
มีวีดีโอ
ไม่มี
รายละเอียด

 

عَنْ أَبِي عَبْدِ اللهِ النُّعْمَانِ بْنِ بَشِيْرٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا  قَالَ :  سَمِعْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  يَقُوْلُ  : (( إِنَّ الْحَلاَلَ بَيِّنٌ ، وَإِنَّ الْحَرَامَ بَيِّنٌ ، وَبَيْنَهُمَا أُمُورٌ مُشْتَبِهَاتٌ لاَيَعْلَمُهُنَّ كَثِيْرٌ مِنَ النَّاسِ .  فَمَن اتَّقَى الشُّبُهَاتِ فَقَد اسْتَبْرَأَ لِدِيْنِهِ وَعِرْضِهِ .  وَمَنْ وَقَعَ فِي الشُّبُهَاتِ  وَقَعَ فِي الْحِرَام ،  كَالرَّاعِي يَرْعَى حَوْلَ الْحِمَى يُوشِكُ أَنْ يَرْتَعَ فِيهِ .  أَلاَوَإِنَّ لِكُلِّ مَلِكٍ حِمًى ،  أَلاَ وَإِنَّ حِمَى اللهِ مَحَارِمُهُ .  أَلاَ وَإِنَّ فِي الْجَسَدِ مُضْغَةً ،  إِذَا صَلَحَتْ صَلَحَ الْجَسَدُ كُلُّهُ ،  وَإِذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الْجَسَدُ كُلُّهُ ،  أَلاَوَهِيَ الْقَلْبُ .))  رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ .

จากอบูอับดุลลอฮฺ (อันนุอฺมาน อิบนุบะชีร ร่อฎิยัลลฮุอันฮุมา) กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

แท้จริง สิ่งที่อนุมัติ (หะล้าล) นั้นชัดแจ้ง สิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) ก็ชัดแจ้ง และในระหว่างทั้งสองสิ่งนั้นมีเรื่อง(หรือสิ่ง)ที่คลุมเครือ (ไม่ชัดแจ้ง) ซึ่งผู้คนส่วนมากไม่รู้ ดังนั้น ผู้ใดรักษาตัวเขาจากสิ่ง (หรือเรื่อง) ที่คลุมเครือนั้น เขาได้ชำระตัวเขาในการปกป้องศาสนาของเขาและเกียรติของเขา ส่วนที่ตกลงไปในการกระทำสิ่งที่คลุมเครือ เขาก็ได้ตกลงไปในเรื่องที่ต้องห้าม เช่นเดียวกับผู้ที่เลี้ยงปศุสัตว์รอบๆ ที่ดินที่ต้องห้าม (เช่น สวนของคนอื่น) ไม่ช้ามันก็จะเข้า (ไปกิน) ใน (สวน) นั้น 
จงจำไว้ว่า ผู้ปกครอง (กษัตริย์ ฯลฯ) ทุกคนมีขอบเขตที่ต้องห้าม 
จงจำไว้เถิดว่า ที่อัลลอฮฺทรงห้ามนั้น คือสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงอนุมัติ 
จงจำไว้ว่า ในร่างกายนั้นมีเนื้อก้อนหนึ่ง เมื่อมันดี ร่างกายนั้นก็ดีด้วย แต่เมื่อมันเสีย ร่างกายก็จะเสียไปด้วย จงจำไว้ว่ามันคือ หัวใจ

رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ
หะดีษนี้บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม

الحلال المحض والحرام المحض
สิ่งที่หะล้าลชัดเจน และสิ่งที่หะรอมชัดเจน

قوله - صلى الله عليه وسلم - : (( الحلالُ بيِّنٌ والحرامُ بيِّن وبينهما أمور مشتبهات لا يعلمهنَّ كثيرٌ من الناس )) معناه : أنَّ الحلال المحض بَيِّنٌ لا اشتباه فيه ، وكذلك الحرامُ المحضُ ، ولكن بين الأمرين أمورٌ تشتبه على كثيرٍ من الناس ، هل هي من الحلال أم من الحرام ؟ وأما الرَّاسخون في العلم ، فلا يشتبه عليهم ذلك ، ويعلمون من أيِّ القسمين هي .

"แท้จริง สิ่งที่อนุมัติ (หะล้าล) นั้นชัดแจ้ง สิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) ก็ชัดแจ้ง" แต่ระหว่างสิ่งหะล้าลและหะรอม ซึ่งไม่ชัดเจนนั้น จะไม่เด่นชัดสำหรับคนทั่วไป (เนื่องจากไม่มีความรู้) แต่สำหรับคนที่มั่นคงในความรู้ เขาจะไม่สงสัยในเรื่องเหล่านี้เลย -- นิยามของ "มุชตะบิฮาต" (สิ่งที่คลุมเครือ)
- อิมามอะหมัดชอบใช้ประโยคหนึ่งในการตอบปัญหาคือ "ข้าพเจ้าไม่กล้าตอบ" 
- شَك สงสัย คือ 50-50 ไม่ให้น้ำหนักข้างใดข้างหนึ่ง

فأما الحلالُ المحضُ : فمثل أكلِ الطيبات من الزروع ، والثمار ، وبهيمة الأنعام ، وشرب الأشربة الطيبة ، ولباسِ ما يحتاج إليه من القطن والكتَّان ، أو الصوف أو الشعر ، وكالنكاح ، والتسرِّي وغير ذلك إذا كان اكتسابُه بعقدٍ صحيح كالبيع ، أو بميراث ، أو هبة ، أو غنيمة .
หะล้าลชัดเจน เช่น กินผลไม้ พืชผลที่อัลลอฮฺให้มา หรือปศุสัตว์ ดื่มเครื่องดื่มที่ดีๆ, สวมเสื้อผ้าที่ไม่มีข้อห้าม เช่น ขนสัตว์; นิกาหฺที่ถูกต้องตามหลักการ, มีทาสี หรือเรื่องอื่นๆที่ชัดเจนในศาสนา -- คนที่ตั้งข้อสงสัยในสิ่งเหล่านี้ เป็นที่น่าตำหนิ ดังเช่นที่อัลลอฮฺตำหนิมุชริกีนมักกะฮฺ

ปัญหาการกำหนดกรอบหะล้าลเกินกว่าที่ศาสนาบัญญัติ เช่น อาหารหะล้าล ต้องสะอาดด้วย,  คิดมากเกินไปในเรื่องนะจาซะฮฺ, 

والحرام المحض : مثلُ أكل الميتة ، والدم ، ولحم الخنزير ، وشرب الخمر ، ونكاح المحارم ، ولباس الحرير للرجال ، ومثل الأكساب المحرَّمة كالرِّبا ، والميسر ، وثمن مالا يحل بيعه ، وأخذ الأموال المغصوبة بسرقة أو غصب أو تدليس أو نحو ذلك .

24.4 สิ่งหะรอมชัดเจน เช่น กินสัตว์ตายเอง, กินเลือด, กินเนื้อสุกร, ดื่มสุรา, นิกาหฺกับมะหฺรอม, ผู้ชายสวมผ้าไหม, 
ทำธุรกิจที่แสวงหาสิ่งหะรอมชัดเจน เช่น การพนัน, ดอกเบี้ย, 

المشتبهات
มุชตะบิฮาต (สิ่งคลุมเครือ)

وأما المشتبه : فمثلُ أكل بعضِ ما اختلفَ في حلِّه أو تحريمهِ ، إمَّا من الأعيان كالخيلِ والبغالِ والحميرِ ، والضبِّ ، وشربِ ما اختلف من الأنبذة التي يُسكِرُ كثيرُها ، ولبسِ ما اختلف في إباحة لبسه من جلود السباع ونحوها ، وإما من المكاسب المختلف فيها كمسائل العِينة والتورّق ونحو ذلك ، وبنحو هذا المعنى فسَّرَ المشتبهات أحمدُ وإسحاق وغيرهما من الأئمة .

มุชตะบิฮาต (สิ่งคลุมเครือ) - เช่น กินสิ่งที่มีข้อขัดแย้งว่าหะล้าลหรือหะรอม (เช่น ม้า, ล่อ, แย้) หรือดื่มเครื่องดื่มบางชนิดที่ปริมาณมากของมันทำให้มืนเมา (เช่น น้ำผลไม้หมักระยะหนึ่ง) หรือเครื่องดื่มที่มีข้อขัดแย้งว่ากินได้หรือไม่ได้, เสื้อผ้าจากหนังสัตว์ดุ สัตว์หะรอม ?
- รายได้ที่มีข้อขัดแย้ง (ว่าหะล้าลหรือหะรอม) เช่น อัลอีนะฮฺ (บัยอุลอีนะฮฺ) ดอกเบี้ยทางอ้อม

WCimage
หะดีษที่ 6/2 สิ่งที่หะล้าลชัดเจน สิ่งที่หะรอมก็ชัดเจน