ลักษณะการนั่ง, การวางมือ, การชี้นิ้วหรือกระดิก,
คำกล่าวและความหมาย, ระยะเวลา
ซาดุลมะอาด ตอนที่ 85 อธิบายหนังสือซาดุลมะอาด ของอิบนุก็อยยิม (ฉบับที่ตรวจสอบ(ตะหฺกี๊ก)โดย ชัยคฺชุอัยบฺ อัลอัรนะอูฏ) โดย เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
แบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการละหมาด
- การขึ้นจากสุจูด ท่านนบีจะเงยศรีษะก่อน ไม่ยกมือเหมือนตอนขึ้นจากรุกูอฺ
- นบีนั่งโดยนั่งทับขาทั้งสองข้าง เรียกว่า อิฟติรอช นิ้วเท้าข้างขวายันพื้น หันไปทางกิบลัต
- หรือนั่งอีกท่าหนึ่ง (อิกอาอฺ) ที่อับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัรรายงาน คือการนั่งบนส้นเท้า ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้างยันพื้น ก้นวางบนส้นเท้าสองข้าง
- หะดีษเฎาะอีฟ และขัดกับอุละมาอฺส่วนมาก - นบีชี้นิ้วขณะนั่งระหว่างสองสุจูด
- นั่งตะฮียาตสุดท้าย (พับเพียบ) เรียกว่า ตะวัรรุก
4.3 ชี้นิ้วหรือกระดิกนิ้ว
- อิมามอิบนุก็อยยิมเห็นว่า ให้กระดิกนิ้ว
- อุละมาอฺส่วนมากเห็นว่า ให้ชี้ และไม่กระดิก -- มีน้ำหนักมากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการขอดุอาอฺด้วยการชี้นิ้วและความสำรวมในละหมาด
กล่าวอะไรขณะนั่งระหว่างสองสุจูด
1- "ร็อบบิฆฟิรลี ร็อบบิฆฟิรลี" - โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ โปรดอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด" - ให้กล่าวเป็นคู่
2- หรือ "อัลลอฮุมมัฆฟิรลี วัรฮัมนี วัจบุรนี วัรฟะอฺนี วะฮฺดินี วะอาฟินี วัรซุกนี"
โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ โปรดเมตตาแก่ข้าพระองค์ โปรดให้ครบสมบูรณ์ในสิ่งที่ข้าพระองค์บกพร่อง และโปรดให้ข้าพระองค์มีฐานะสูงขึ้น และโปรดให้ทางนำแก่ข้าพระองค์ และโปรดให้ข้าพระองค์มีความสุขสบาย และโปรดประทานริสกีแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด" (จากหนังสือท่านนบีละหมาดอย่างไร)
7.30 ระยะเวลานั่งให้สมดุลกับเวลาสุจูด
- อนัสอิบนุมาลิก "ท่านนบีนั่งระหว่างสุจูด(นาน)จนกระทั่งพวกเราคิดว่าท่านลืม" -- เป็นแบบฉบับที่คนส่วนมากได้ละทิ้งกัน
- สมัยศ่อฮาบะฮฺยังรักษาการนั่งให้นานพอๆกับสุจูด
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 43 views