สมานฉันท์ในสังคมมุสลิม

Submitted by dp6admin on Sat, 04/04/2009 - 13:17

ลักการและเหตุผล

• แนวทางของอัลลอฮฺเป็นแนวทางเดียว “และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรง พวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลายๆทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง” (อัลอันอาม 153)

• ประชาชาติอิสลามเป็นประชาชาติเดียว “แท้จริง นี่คือประชาชาติของพวกเจ้าซึ่งเป็นประชาชาติเดียวกัน และข้าเป็นพระเจ้าของพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีข้าเถิด” (อัลอันบิยาอฺ 92)

• ศาสนาห้ามแตกแยก “และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกันทั้งหมด และจงอย่าแตกแยกกัน” (อาลิอิมรอน 103)

 

ความขัดแย้งและความแตกแยก

• ความแตกแยกโดยมีหลักการและเหตุผล จำเป็นต้องวิเคราะห์ดูว่าใครที่ยึดหลักการและมีเหตุผล (อัลญะมาอะตุ มาวาฟะกอลฮักเกาะ วะอินกุนตะ วะหฺดะกะ)

• ความขัดแย้งในเชิงวิชาการ โดยไม่สร้างความแตกแยก ศาสนาอนุโลมให้เกิดขึ้น แต่เรียกร้องให้กลับไปสู่หลักการให้เป็นผู้ตัดสิน (อิซัจญฺตะหะดะ...) (ฟะรุดดูหุ...)

• การรักษาสมานฉันท์ เป็นหน้าที่ของผู้นำและประชาชน ผู้หนึ่งผู้ใดบกพร่องย่อมมีผลกระทบต่อความสามัคคีในประชาชาติ

 

แนวปฏิบัติสู่สมานฉันท์แห่งสังคมมุสลิม

• จำเป็นต้องมีบรรทัดฐานและหลักการในการแก้ไขทุกปัญหา มิใช่อำนาจหรืออิทธิพล ที่จะสามารถคุ้มครองความสามัคคี

• ระบอบการปกครองในสังคมมุสลิมจำต้องมีความยุติธรรมและเมตตาธรรม

• ความขัดแย้งที่หาข้อยุติมิได้ ก็สามารถให้มีข้อตกลงในการโต้แย้ง ชี้แจง โดยไม่สร้างความแตกแยกในสังคม

• สถาบันและองค์กรมุสลิมทุกหน่วย ต้องเป็นตัวอย่างแห่งสมานฉันท์ในสังคมมุสลิม โดยเฉพาะ

 

แนวทางของอัลลอฮฺคืออะไร ?

• ศาสนาคือคำสั่งสอนที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน และพจนารถของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ถูกต้อง

• ทัศนะใดๆที่ไม่ได้อ้างถึงคำสั่งสอนของอัลอิสลามย่อมปราศจากคุณค่าทางกระบวนการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม

• เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในการเข้าใจศาสนบัญญัติ เราต้องยึดตัวบทเป็นเกณฑ์ และให้ความสำคัญแก่ความเข้าใจของบรรพชนยุคแรกคือ “อัสสะลัฟ อัศศอลิหฺ”

• ทัศนะใดๆที่ไม่ได้สวนหรือค้านกับหลักฐานที่ชัดแจ้งหรืออิจญฺมาอฺ(เอกฉันท์)ของสะลัฟและพอมีหลักฐานรับฟังได้ก็เป็นทัศนะที่ย่อมไม่สร้างความแตกแยก

 

อะไรคือความแตกแยก ?

• ความแตกแยกคือ การแยกตัวจากความถูกต้องที่มีหลักฐานและเหตุผลอย่างประจักษ์แจ้ง “และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกกันและขัดแย้งกัน หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว และชนเหล่านี้แหละ สำหรับพวกเขาคือการลงโทษอันใหญ่หลวง” (อาลิอิมรอน 105)

• ความแตกแยกย่อมเกิดจากผู้ที่เลือกแนวทางอื่นนอกจากแนวทางของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังที่ท่านนบีกล่าวไว้ว่า “ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ใดจากพวกท่านได้มีชีวิตอยู่หลังจากฉัน แน่นอนเขาจะได้พบการแตกแยกกันอย่างมากมาย ดังนั้น พวกท่านจงยึดมั่นต่อแนวทางของฉัน และแนวทางของบรรดาเคาะลีฟะฮฺผู้ได้รับทางนำผู้เที่ยงธรรม” (เศาะเฮียะฮฺอิบนุดาวู้ด)

• ความแตกแยกมิใช่การแยกตัวจากกลุ่มส่วนมาก ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุมัสอู๊ด กล่าวไว้ว่า ญะมาอะฮฺ คือสิ่งที่สอดคล้องกับสัจธรรม แม้ท่านจะอยู่(บนสัจธรรม)เพียงคนเดียวก็ตาม

 

ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นผู้สร้างความแตกแยก ?

• ยึดมั่นในสัจธรรม เข้มแข็งกับความถูกต้อง (ฟะอะลัยกุม บิซุนนะตี)

• เรียกร้องสู่ความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ บนบรรทัดฐานแห่งความถูกต้อง (อะลัยกุม บิลญะมาอะฮฺ) (อัลญะมาอะฮฺ มาวาฟะกอลฮักเกาะ)

• รักษาอนุรักษ์ระบอบอิสลามด้วยวิสัยทัศน์ของศอฮาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (มาอะนะอะลัยฮิ วะอัศฮาบียฺ)

• ชี้แจง สั่งสอน และแก้ไขความผิดหรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ด้วยความเอ็นดูเมตตา ความห่วงใย และวิจารณญาน (อุดอุอิลาสะบีลิ ร็อบบิกะ บิลฮิกมะติ วัลเมาอิเซาะติลฮะซะนะฮฺ)

 

อิสลามเป็นประชาชาติเดียว

• ประชาชาติอิสลามเป็นประชาชาติที่ดีเลิศด้วยเอกภาพและการยึดมั่นในสัจธรรม “และแท้จริงศาสนานี้จะแตกแยกออกเป็น 73 จำพวก 72 จำพวกนั้นอยู่ในนรก จำพวกหนึ่งอยู่ในสวรรค์ นั้นคือ อัลญะมาอะฮฺ” (สุนันอิบนุดาวู้ด)

 ผู้ศรัทธาที่แท้จริง ย่อมเป็นญะมาอะฮฺด้วยคำสั่งสอนของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม “และผู้ใดที่ฝ่าฝืนรอซูลหลังจากที่คำแนะนำอันถูกต้องได้ประจักษ์แก่เขาแล้ว และยังปฏิบัติตามที่มิใช่ทางของบรรดาผู้ศรัทธานั้น เราก็จะให้เขาหันไปตามที่เขาได้หันไป และเราจะให้เขาเข้านรกญะฮันนัม และมันเป็นที่กลับอันชั่วร้าย” (อันนิสาอฺ 115)

• ความแตกแยก เป็นกฎสภาวะ(กอฎออฺและกอดัร) แต่ศาสนาไม่ส่งเสริม “อุมมะฮฺ(ประชาชาติ)ของฉันจะแตกแยกเป็น 73 จำพวก ทั้งหมดนั้นลงนรกเว้นแต่พวกเดียว” เหล่าศอฮาบะฮฺถามว่า “พวกนั้นคือใครเล่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ” ท่านตอบว่า “คือ(แนวทาง)ที่ฉันและบรรดาศ่อฮาบะฮฺของฉันดำรงอยู่” (ศ่อฮี้ฮฺ สุนันอัตติรมีซียฺ)

 


จากสไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง สมานฉันท์ในสังคมมุสลิม , เชคริฎอ อะหมัด สมะดี

วันที่ลงบทความ : 6 ม.ค. 49