หะดีษ 13-1 ศรัทธาไม่สมบูรณ์ จนกว่าจะรักพี่น้อง

Submitted by dp6admin on Fri, 28/06/2019 - 14:56
หัวข้อเรื่อง
ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ครั้งที่ 56 (หะดีษที่ 13/1)
อุละมาอฺบอกว่านี่เป็นหะดีษแห่งมารยาท ที่จะครอบคลุมหลายประการในหมวดนี้
- ข้อแตกต่างระหว่าง มุอฺมิน กับมุสลิม
- อีมาน กับ บาปใหญ่ (กะบาอิร)
- อิบนุเราะญับสรุป - เครื่องนุ่งห่มแห่งอีมาน, เปรียบเทียบอีมานกับเสื้อ,
- อีมานที่สมบูรณ์
สถานที่
บ้านทองทา บางกอกน้อย
วันที่บรรยาย
9 ญุมาดัลอูลา 1431
วันที่บรรยาย
ขนาดไฟล์
7.80 mb
ความยาว
67.00 นาที
มีวีดีโอ
มี
รายละเอียด

عَنْ أَبِي حَمْزَةَ  أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رضي الله عنة خَادِمِ رَسُولِ اللهِ صلى الله عليه وسلم ، عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ  :  (( لاَ يُؤْ مِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لأَخِيهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ ))  رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ .

จากอบูฮัมซะฮฺ (อะนัส บินมาลิก) เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ  ผู้รับใช้ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กล่าวว่า “การศรัทธาของคนหนึ่ง ๆ ไม่สมบูรณ์ จนกว่าเขาจะรักให้พี่น้องของเขา (มุสลิมด้วยกัน) ได้รับเช่นเดียวกับที่ตัวของเขาเองรักที่ได้รับ”  หะดีษนี้บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม
 

หะดีษนี้รายงานโดย อบูฮัมซะฮฺ (อะนัส บินมาลิก) เป็นผู้รับใช้ท่านนบีตั้งแต่อายุ 10 ปี มารดาของท่านพามาให้ท่านนบี ได้อยู่กับท่านนบี 10 ปีจนกระทั่งท่านนบีเสียชีวิต ได้รับฉายาว่า คอดิมุร่อซูลุลลอฮฺ (คนรับใช้ของท่านร่อซูล)
จากฉายานี้อุละมาอฺจะภูมิใจที่ได้เป็นผู้รับใช้ซุนนะฮฺของท่านนบี โดยการเผยแพร่ซุนนะฮฺของท่าน
ท่านอนัส อิบนุมาลิก ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของท่านนบีไว้ซาบซึ้งมากว่า "ตอนที่นบีเข้ามะดีนะฮฺครั้งแรก เสมือนมีแสงสว่างทุกซอกทุกมุมของเมืองมะดีนะฮฺ แต่วันที่นบีเสียชีวิต เรารู้สึกว่าความสว่างไสวมันดับสิ้นไปหมด"

الفرق بين المؤمن والمسلم  ข้อแตกต่างระหว่าง มุอฺมิน กับมุสลิม

 عَنْ أنسِ بنِ مالكٍ رضي الله عنة عَنِ النَّبيِّ - قالَ : ((لايُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حتَّى يُحِبَّ لأَخيهِ ما يُحِبُّ لِنَفسه )) . رواهُ البُخاريُّ ومُسلِم .

وخرَّجه ابن حبان، ولفظه : (( لا يبلغُ عبدٌ حقيقةَ الإيمان حتَّى يحبَّ للناس ما يُحِبُّ لنفسه من الخِير )).

อีกสำนวนของหะดีษนี้ ท่านนบีกล่าวว่า "บ่าวของอัลลอฮฺคนหนึ่งคนใดจะไม่บรรลุข้อเท็จริงของอีมาน จนกว่าจะชอบให้ผู้คนทั้งหลายได้ในสิ่งดีๆที่ตนเองอยากได้"

و المرادَ بنفي الإيمان نفيُّ بلوغِ حقيقته ونهايته ، فإنَّ الإيمانَ كثيراً ما يُنفى لانتفاءِ بعض أركانِهِ وواجباته ، كقوله : (( لا يزني الزَّاني حِينَ يَزني وهو مؤمن ، ولا يسرقُ السارقُ حين يسرقُ وهو مؤمنٌ ، ولا يشربُ الخمرَ حين يشربها وهو مؤمنٌ )) ،

"ผู้กระทำซินา ขณะทำซินาไม่เป็นมุอฺมิน ผู้ขโมย ขณะขโมยไม่ใช่มุอฺมิน ผู้ดื่มสุรา ขณะดื่มสุราไม่ใช่มุอฺมิน

وقوله :(( لا يُؤْمِنُ مَنْ لا يَأْمَنُ جَارُهُ بوائِقَه )) .

"ไม่ใช่ผู้ศรัทธา คนหนึ่งคนใดที่เพื่อนบ้านของเขาไม่ได้รับความปลอดภัยจากเขา"

อีมาน กับ บาปใหญ่ (กะบาอิร)

•     وقد اختلف العلماءُ في مرتكب الكبائر : هل يُسمَّى مؤمناً ناقصَ الإيمان ، أم لا يُسمى مؤمناً ؟ وإنَّما يُقالُ : هو مسلم  وليس بمؤمنٍ على قولين ، وهما روايتان عن الإمام أحمد قال محمد بن نصر المروزي : وسئل أحمد بن حنبل عن قول النَّبيِّ -: (( لا يزني الزاني ….. )) فقال : من أتى هذه الأربعة أو مثلهن أو فوقهن فهو مسلم ، ولا أُسميه مؤمناً ؟ ومن أتى دون ذلك - يريد : دون الكبائر - أُسميه مؤمناً ناقص الإيمان .

- บาปเล็ก, อีมาน ขึ้นอยู่กับ บาปที่ทำไว้
- อิมามอะหมัด อิบนุฮัมบัล "ใครทำบาปใหญ่ 4 ประการ (ในหะดีษนี้) หรือเยี่ยงนี้ เขาเป็นมุสลิม แต่ข้าพเจ้าไม่เรียกว่าเป็น "มุอฺมิน" และใครที่ได้กระทำสิ่งที่ต่ำกว่านั้น (สิ่งหะรอม) ข้าพเจ้าจะเรียกว่า "มุอฺมินขาดอีมาน"
- คนทำบาปใหญ่ เรียกว่า มุอฺมินที่ขาดอีมาน หรือ มุสลิม

•    فأمَّا من ارتكبَ الصَّغائرَ ، فلا يزول عنه اسم الإيمان بالكلية ، بل هو مؤمنٌ ناقصُ الإيمان ، ينقص من إيمانه بحسب ما ارتكبَ من ذلك.

คนทำบาปใหญ่ เรียกว่า มุอฺมินที่ขาดอีมาน หรือ มุสลิม - ใครที่กระทำบาปเล็ก ชื่อแห่งอีมานจะไม่ถูกยึดไป ถือว่าเป็น มุอฺมิน แต่ขาดอีมาน ส่วนคนที่ทำบาปใหญ่ไม่เรียกว่า มุอฺมิน แต่ยังเป็นมุสลิม โครงสร้างอีมานของเขาจะลดลงตามปริมาณบาปใหญ่หรือบาปเล็กที่ได้กระทำ

•    والقولُ بأنَّ مرتكب الكبائر يقال له : مؤمنٌ ناقصُ الإيمانِ مرويٌّ عن جابرِ بنِ عبد الله ، وهو قولُ ابنِ المبارك وإسحاق وأبي عُبيد وغيرهم ، والقول بأنَّه مسلمٌ، ليس بمؤمنٍ مرويٌّ عن أبي جعفر محمد بن علي ، وذكر بعضُهم أنَّه المختارُ عندَ أهلِ السُّنَّةِ .

อธิบายหะดีษ “คนที่ทำซินา ขณะทำซินาไม่ใช่มุอฺมิน”

    وقال ابنُ عباس : الزاني يُنزَعُ منه نورُ الإيمان. وقال أبو هريرة : يُنْزَعُ منه الإيمانُ ، فيكون فوقَه كالظُّلَّةِ ، فإذا تابَ عاد إليه .

   وقال عبدُ الله بن رواحة وأبو الدرداء : الإيمانُ كالقميصِ ، يَلبَسُه الإنسانُ تارةً ، ويخلعه أخرى ، وكذا قال الإمام أحمد   وغيره ،

อิบนุเราะญับสรุป - เครื่องนุ่งห่มแห่งอีมาน, เปรียบเทียบอีมานกับเสื้อ, 
- อีมานที่ไม่สมบูรณ์ เสมือนเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ไม่สมบูรณ์ ขาดแต่ละส่วนก็ส่งผลกระทบต่อการนุ่มห่มแตกต่างกัน เช่น กระดุมหลุดก็ยังเป็นเสื้อ, แต่ถ้าขาดส่วนสำคัญ ก็ใส่ไม่ได้
- อีมานที่สมบูรณ์ ไม่มีส่วนวาจิบขาดไปเลย
- ภารกิจสำคัญของเราที่ต้องทำทุกคืนคือ ตรวจสอบอีมานของเราอยู่เสมอ ให้ยิ่งกว่าตรวจสอบความสมบูรณ์เรียบร้อยของเสื้อผ้า

والمعنى : أنَّه إذا كمَّل خصالَ الإيمان لبسه ، فإذا نقصَ منها شيئاً نزعه ، وكلُّ هذا إشارةٌ إلى الإيمان الكامل التَّام الذي لا يَنْقُصُ من واجباته شيء

 

WCimage
หะดีษที่ 13/1 ความรักต่อพี่น้องมุสลิม