الكتابة عند بدء الخلق وعند خلق الجنين - การกำหนดสภาวะตอนกำเนิดจักรวาล และตอนที่จะสร้างมนุษย์, การกำหนดประจำปีคือ ลัยละตุ้ลก๊อดรฺ
- การบันทึกสำหรับมดลูกมารดา
كل ميسر لما خلق له - ทุกคนจะได้รับความสะดวกในการงานต่างๆที่ถุกกำหนดไว้แล้วสำหรับเขา (ตามความประสงค์ของเรา)
- "การงานต่างๆอยู่ที่ตอนท้าย"
الدسيسة الباطنة - สิ่งซ่อนเร้นภายใน
- เคาะวาตีม(ท้ายชีวิต) เป็นมรดก(ผลสรุป)ของต้นชีวิต
- 3 ประการที่จะทำให้ชีวิตของเราปลอดภัย
จากอบูอับดุรเราะหฺมาน (อับดุลลอฮฺ บินมัสอู๊ด) กล่าวว่า : ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านพูดความจริงเสมอและได้รับการยอมรับเสมอ กล่าวว่า
"แท้จริง ทุกๆ คนในหมู่พวกท่านได้ถูกรวบรวมในการสร้างเขาในมดลูกของแม่เป็นเวลา 40 วัน ในรูปของนุฏฟะฮฺ (น้ำข้น ๆ) หลังจากนั้นกลายเป็นเลือดก้อนหนึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน หลังจากนั้นกลายเป็นเนื้อก้อนหนึ่งในช่วงเวลานั้นเช่นกัน แล้วมะลาอิกะฮฺก็ถูกส่งมายังเขา ดังนั้นมะลาอิกะฮฺก็ได้เป่าวิญญาณ (รูหฺ) และได้ถูกส่ง (ถูกกำหนด) 4 คำด้วยกันคือ กำหนดปัจจัยยังชีพของเขา อายุของเขา กิจการงานของเขา สุขทุกข์ของเขา
ดังนั้น วัลลอฮิ พระผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ แท้จริง คนหนึ่งคนใดในพวกท่านกระทำกิจการงานของชาวสวรรค์ จนถึงไม่มีอะไรอยู่ระหว่างเขากับสวรรค์นอกจากห่างกันแค่หนึ่งศอกเท่านั้น แต่แล้วได้ถูกกำหนดแก่เขา ดังนั้น เขาก็กระทำกิจการงานของชาวนรก ในที่สุดเขาก็เข้านรก และแท้จริง คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านกระทำกิจการงานของชาวนรกจนถึงไม่มีอะไรระหว่างเขากับนรกนอกจากห่างแค่หนึ่งศอกเท่านั้น แต่ได้ถูกกำหนดแก่เขาเป็นชาวสวรรค์ ดังนั้น (ก่อนตาย) เขาได้กระทำกิจการงานของชาวสวรรค์ ในที่สุดก็เข้าสวรรค์”
(หะดีษนี้บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)
- พระเดชานุภาพของอัลลอฮฺในการสร้าง และทรงรอบรู้ทุกอย่าง
- อัลเกาะฎออฺวัลเกาะดัร (การกำหนดสภาวะ)
الكتابة عند بدء الخلق وعند خلق الجنين
การกำหนดสภาวะตอนกำเนิดจักรวาล และตอนที่จะสร้างมนุษย์
การกำหนดประจำปีคือ ลัยละตุ้ลก๊อดรฺ
الكتابةُ التي تُكتب للجنين في بطن أمِّه غيرُ كتابة المقادير السابقة لخلق الخلائقِ المذكورة في قوله تعالى : { مَا أَصَابَ مِنْ مُصِيبَةٍ فِي الأَرْضِ وَلا فِي أَنْفُسِكُمْ إِلاَّ فِي كِتَابٍ مِنْ قَبْلِ أَنْ نَبْرَأَهَا } ، كما في " صحيح مسلم " عن عبد الله بن عمرو ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - ، قال : (( إنَّ الله قدَّر مقاديرَ الخلائقِ قبل أن يَخْلُقَ السَّماوات والأرض بخمسين ألف سنة )) . وفي حديث عُبادة ابنِ الصَّامت ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - قال : (( أوَّل ما خَلَق الله القلم فقال له : اكتب ، فجرى بما هو كائنٌ إلى يومِ القيامةِ )) .
การบันทึกสำหรับมดลูกมารดา
57:22 ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้าเอง เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา
สอดคล้องกับหะดีษที่ท่านนบีกล่าวว่า "อัลลอฮฺกำหนดสภาวะที่จะเกิดกับสรรพสิ่งต่างๆ ที่พระองค์สร้าง ก่อนที่จะสร้างช้นฟ้าและแผ่นดิน 5 หมื่นปี"
ท่านนบี "สิ่งแรกที่อัลลอฮฺสร้างคือ ปากกา อัลลอฮฺได้บอกกับมันว่า จงบันทึก ปากกานั้นก็จะเขียนทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นตลอดจนถึงวันกิยามะฮฺ" -- แต่มีหะดีษอื่นที่บอกว่าสิ่งแรกที่อัลลอฮฺสร้างคือ อัลอัรชฺ(บัลลังก์) เพราะมีสำนวนหะดีษว่าอัลลอฮฺสร้างปากกา ขณะที่พระองค์อยู่บนบัลลังก์
وقد سبق ذكرُ ما رُوي عن ابنِ مسعودٍ - رضي الله عنه - : أنَّ المَلَكَ إذا سأل عن حالِ النُّطفة ، أُمِر أنْ يذهبَ إلى الكتاب السابق ، ويقال له : إنَّكَ تجِدُ فيه قصَّةَ هذه النُّطفة ، وقد تكاثرت النُّصوص بذكرِ الكتابِ السابقِ ، بالسَّعادة والشقاوة ، ففي " الصحيحين " عن عليِّ بن أبي طالب ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - أنَّه قال : (( ما مِنْ نفسٍ منفوسةٍ إلاَّ وقد كتب الله مكانَها من الجنَّة أو النار ، وإلا قد كتبت شقية أو سعيدة )) ، فقال رجل : يا رسولَ الله ، أفلا نمكُثُ على كتابنا ، وندعُ العمل ؟ فقالَ : (( اعملوا ، فكلٌّ ميسَّر لما خُلِقَ لهُ ، أمَّا أهلُ السَّعادة ، فييسرون لعمل أهل السعادة ، وأما أهلُ الشقاوة ، فييسرون لعمل أهل الشَّقاوة )) ، ثم قرأ: {فَأَمَّا مَنْ أَعْطَى وَاتَّقَى } .
7 รายงานจากท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ ท่านนบีกล่าวว่า "ไม่มีชีวิตใดๆ เว้นแต่อัลลอฮฺได้ระบุที่พำนักของชีวิตนั้นแล้วในสวรรค์หรือนรก และได้ถูกระบุแล้วว่าชีวิตนั้นจะประสบความสำเร็จหรือความชั่ว"
ชายคนนึงถามว่า "โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ถ้าเช่นนั้น เราก็พึ่งพาการกำหนดนี้อย่างเดียว แล้วละทิ้งการสะสมการงาน(อะมั้ล)การขวนขวาย กระนั้นหรือ ?"
ท่านนบี "จงทำ จงขยัน จงสะสม ทุกคนก็จะได้รับการอำนวยความสะดวกในสิ่งที่ถูกกำหนดว่าจะเป็นเช่นนั้น ชาวแห่งความสำเร็จก็จะได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับความสำเร็จ
ส่วนชาวแห่งความล้มเหลว ก็จะรับการช่วยเหลือสู่ความล้มเหลว(ไม่สำเร็จ)" แล้วท่านนบีก็อ่านอายะฮฺ 92:5-10 ส่วนผู้ที่บริจาคและยำเกรง (อัลลอฮฺ) (5) และเชื่อมั่นในสิ่งที่ดี (6) เราก็จะให้เขาได้รับความสะดวกอย่างง่ายดาย (7) และส่วนผู้ที่ตระหนี่ และถือว่ามีพอเพียงแล้ว (8) และปฏิเสธสิ่งที่ดีงาม (9) เราก็จะให้เขาได้รับความลำบากอย่างง่ายดาย (10) - ซูเราะฮฺอัลลัยลฺ
ففي هذا الحديث أنَّ السعادة والشقاوة قد سبقَ الكتابُ بهما ، وأنَّ ذلك مُقدَّرٌ بحسب الأعمال ، وأنَّ كلاًّ ميسر لما خُلق له من الأعمال التي هي سببٌ للسعادة أو الشقاوة .
หะดีษนี้คำว่า "ความสำเร็จ" การบันทึกของอัลลอฮฺได้ระบุไว้แล้ว และการกำหนดนั้นถูกกำหนดตามการงาน
كل ميسر لما خلق له
ทุกคนจะได้รับความสะดวกในการงานต่างๆที่ถุกกำหนดไว้แล้วสำหรับเขา (ตามความประสงค์ของเรา)
وفي " الصحيحين " عن عمرانَ بن حُصينٍ ، قال : قال رجل : يا رسول الله ، أيُعرَفُ أهلُ الجَنَّةِ مِنْ أهلِ النَّارِ ؟ قالَ : (( نَعَمْ )) ، قالَ : فَلِمَ يعملُ العاملونَ ؟ قال : (( كلٌّ يعملُ لما خُلِقَ له ، أو لما ييسر له )) .
ชาวคนหนึ่งถามท่านนบีว่า "ชาวนรกชาวสวรรค์นี่ถูกกำหนดไว้แล้วใช่ไหมครับ" ท่านนบีตอบว่า "ใช่"
ชายคนนั้น "เช่นนั้น บรรดาผู้สะสมการงาน ทำไมต้องทำอีกล่ะครับ"
ทานนบี "ทุกคนจะทำการงานตามความสะดวกที่อัลลอฮฺประทานให้แก่เขาตามประสงค์
وقد روي هذا المعنى عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - من وجوهٍ كثيرةٍ ، وحديث ابن مسعود فيه أنَّ السعادة والشقاوة بحسب خواتيم الأعمال .
หะดีษอิบนิมัสอู๊ด(ที่เราศึกษาอยู่)นี้ มีประโยชน์ใหม่คือ ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นอยู่ที่ตอนท้ายของการกระทำ(บั้นปลายชีวิต)
وقد قيل : إنَّ قوله في آخر الحديث فوالله الَّذي لا إله غيره ، إنَّ أحدَكم ليَعمَلُ بعملِ أهل الجنَّة )) إلى آخر الحديث مُدرَجٌ من كلام ابن مسعود ، كذلك رواه سلمة بنُ كهيلٍ ، عن زيد بنِ وهب ، عن ابن مسعودٍ من قوله((2)) ، وقد رُوي هذا المعنى عن النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - من وجوهٍ متعددة أيضاً .
หะดีษที่มีเนื้อหาคล้ายกัน
وفي " صحيح البخاري " عن سهلِ بنِ سعدٍ ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - قال : (( إنَّما الأعمالُ بالخواتيم )) . وفي " صحيح مسلم " عن أبي هريرة ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - قال : (( إنَّ الرَّجُل ليعمل الزمانَ الطويلَ بعملِ أهلِ الجنَّةِ ، ثم يُختم له عملُه بعمل أهل النار ، وإنَّ الرجلَ ليعملُ الزمانَ الطويلَ بعمل أهل النارِ ، ثم يُختم له عمله بعملِ أهل الجنةِ )) .
- หะดีษ ท่านนบีกล่าวว่า "การงานต่างๆอยู่ที่ตอนท้าย"
"แท้จริงชายคนหนึ่งอาจทำความดีของชาวสวรรค์มายาวนาน แต่ท้ายชีวิตจบด้วยการงานของชาวนรก
ชายคนหนึ่งอาจทำความชั่วของชาวนรก แต่ท้ายชีวิตจบด้วยการงานของชาวสวรรค์"
وخرَّج الإمام أحمد من حديث أنسٍ ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - قال : (( لا عَلَيكُم أنْ لا تَعْجَبوا بأحدٍ حتّى تنظروا بم يُختم له ، فإنَّ العاملَ يعملُ زماناً من عمره ، أو بُرهة من دهره بعملٍ صالحٍ ، لو مات عليه دخل الجنةَ ، ثم يتحوَّلُ ، فيعملُ عملاً سيِّئاً ، وإنَّ العبدَ ليعمل البُرهة من دهره بعملٍ سيِّءٍ ، لو مات عليه دخلَ النارَ، ثم يتحوَّل فيعملُ عملاً صالحاً )) .
ท่านนบี "ไม่บังควรเลยสำหรับพวกเจ้า ที่จะแปลกใจ(หรือดีใจ)ในการงานของคนหนึ่งคนใด (อย่าเพิ่งสรุป) จนกว่าจะได้เห็นว่าตอนท้ายชีวิตเป็นอย่างไร แท้จริงชายคนหนึ่งทำความดีระยะยาวนานในชีวิต ถ้าเสียชีวิตขณะนั้นจะได้เข้าสวรรค์แน่นอน แต่แล้วท้ายชีวิตกลับพลิกไปและทำความชั่ว
และบ่าวของอัลลอฮฺคนหนึ่ง ได้ทำความชั่วระยะหนึ่งที่ยาวนาน ถ้าเสียชีวิตขณะนั้น จะเข้านรกแน่นอน แต่แล้วก็กลับพลิกมาทำความดี"
وخرَّج أيضاً من حديث عائشة ، عنِ النَّبيِّ - صلى الله عليه وسلم - قال : (( إنَّ الرجلَ ليعملُ بعملِ أهلِ الجنَّة ، وهو مكتوبٌ في الكتابِ من أهل النار ، فإذا كانَ قبل موتِهِ تحوَّل ، فعملَ بعمل أهل النارِ ، فماتَ ، فدخل النارَ ، وإنَّ الرجلَ ليعملُ بعملِ أهلِ النارِ ، وإنَّه لمكتوبٌ في الكتاب من أهلِ الجنَّة ، فإذا كان قَبْلَ موته تحوَّل ، فعمل بعمل أهلِ الجنَّة ، فماتَ فدخلها )) .( قال الذهبي هو حديث منكر جدا ).
وخرَّج أحمد ، والنسائيُّ ، والترمذيُّ من حديثِ عبد الله بنِ عمرٍو قال : خرج علينا رسولُ الله - صلى الله عليه وسلم - وفي يده كتابانِ، فقال : (( أتدرون ما هذان الكتابان ؟ )) ، فقلنا : لا يا رسول الله ، إلاّ أنْ تُخْبِرنا ، فقالَ للذي في يده اليمنى : (( هذا كتابٌ مِنْ ربِّ العالمين ، فيهِ أسماءُ أهلِ الجنَّةِ ، وأسماء آبائهم وقبائلهم ، ثُمَّ أُجْمِل على آخرهم ، فلا يُزاد فيهم ، ولا يُنقصُ منهم أبداً )) ، ثُمَّ قالَ للذي في شماله : (( هذا كتابٌ من ربِّ العالمين فيهِ أسماء أهل النار وأسماء آبائهم وقبائلهم ، ثُمَّ أُجْمل على آخرهم ، فلا يُزاد فيهم ولا يُنقصُ منهم أبداً )) ، فقالَ أصحابُه : ففيم العملُ يا رسولَ الله إنْ كانَ أمراً قد فُرِغَ منه ؟ فقال : (( سَدِّدُوا وقاربوا ، فإنَّ صاحب الجنة يُختم له بعمل أهل الجنة ، وإنَّ عمل أيّ عملٍ ، وإنَّ صاحب النّار يُختم له بعمل أهل النار ، وإنْ عمل أيَّ عملٍ )) ، ثُمَّ قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - بيديه فنبذهما ، ثم قال : (( فَرَغَ ربُّكم مِنَ العباد : فريقٌ في الجنة ، وفريقٌ في السَّعير )) .
ท่านนบีได้ออกจากบ้านมาโดยมีสมุด 2 เล่ม และถามว่า "พวกท่านรู้ไหมว่า 2 เล่มนี้คืออะไร ? ศฮบ ตอบว่า "เราไม่รู้ครับ ท่านนบี นอกจากท่านจะบอกพวกเรา"
ท่านนบี "สำหรับสมุดในมือขวาฉัน เป็นสมุดจากพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก มีชื่อของชาวสวรรค์ บิดามารดาชื่อเผ่า ของชาวสวรรค์ ซึ่งถุกปิดแล้ว โดยไม่สามารถเพิ่มรายชื่อหรือลดได้อีกแล้ว"
ท่านนบีได้ชี้ถึงสมุดที่มือซ้ายและบอกว่า "นี่คือสมุดจากพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก มีชื่อของชาวนรก ชื่อบิดามารดา ชื่อเผ่าของพวกเขา ซึ่งถุกปิดแล้ว โดยไม่สามารถเพิ่มรายชื่อหรือลดได้อีกแล้ว"
(ศฮบ บอกว่า สมุด 2 เล่มนั้นไม่ได้มาจากอัลลอฮฺจริงๆ แต่นบีเปรียบเทียบให้เห็น) ศฮบ ถามว่า "ถ้าอย่างนั้นแล้ว ทำไมเราต้องทำ(การงาน)ล่ะครับ"
ท่านนบี "จงแสวงหาความถูกต้องเถิด จงกระทำสิ่งที่ใกล้กับความถูกต้องความสมบูรณ์ ชาวสวรรค์นั้น ท้ายชีวิตก็จะจบด้วยการงานของชาวสวรรค์ แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะทำอะไรก็ตาม
และชาวนรกก็จะจบด้วยการงานของชาวนรก แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะทำอะไรก็ตาม" ท่านนบีได้ทิ้งสมุด 2 เล่มนั้นและกล่าวว่า "อัลลอฮฺได้จัดการหมดแล้วซึ่งบ่าวของพระองค์ กลุ่มหนึ่งอยู่ในสวรรค์แล้ว และกลุ่มหนึ่งอยู่ในนรกแล้ว"
หะดีษ 04-5 ใครจะเป็นชาวสวรรค์หรือชาวนรก ?
الدسيسة الباطنة
สิ่งซ่อนเร้นภายใน
وفي " الصحيحين " عن سهل بن سعد : أنَّ النَّبيَّ - صلى الله عليه وسلم - التقى هو والمشركون وفي أصحابه رجلٌ لا يدع شاذَّةً ولا فاذَّةً إلا اتبعها يَضرِبُها بسيفه ، فقالوا : ما أجزأ منا اليوم أحدٌ كما أجزأ فلانٌ ، فقال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - : (( هو من أهل النار )) ، فقال رجلٌ من القوم : أنا صاحبُه ، فأتَّبعه ، فجُرِحَ الرجل جرحاً شديداً ، فاستعجلَ الموتَ ، فوضعَ نصلَ سيفه على الأرض وذُبَابَه بينَ ثدييه ، ثُمَّ تحامل على سيفه فقتل نفسه ، فخرج الرجلُ إلى رسول الله - صلى الله عليه وسلم - ، فقال : أشهد أنَّك رسولُ الله ، وقصَّ عليه القصةَ ، فقال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - : (( إنَّ الرجلَ ليعملُ عملَ أهلِ الجنَّةِ فيما يبدو للنَّاس وهو منْ أهلِ النار ، وإنَّ الرجلَ ليعملُ عملَ أهلِ النارِ فيما يبدو للناس ، وهو منْ أهلِ الجنةِ )) زاد البخاري في رواية له : (( إنَّما الأعمالُ بالخواتيم )) .
وقوله : (( فيما يبدو للناس )) إشارةٌ إلى أنَّ باطنَ الأمر يكونُ بخلافِ ذلك ، وإنَّ خاتمة السُّوءِ تكونُ بسبب دسيسةٍ باطنة للعبد لا يطلع عليها الناس ، إما من جهة عمل سيئ ونحو ذلك ، فتلك الخصلة الخفية توجب سُوءَ الخاتمة عند الموت ، وكذلك قد يعمل الرجلُ عملَ أهل النَّارِ وفي باطنه خصلةٌ خفيةٌ من خصال الخير ، فتغلب عليه تلكَ الخصلةُ في آخر عمره ، فتوجب له حسنَ الخاتمة .
มุสลิมได้ปะทะกับมุชริกีน มีชายคนหนึ่งในสาวกท่านนบี ไล่ฟันศัตรูอย่างเต็มที่ ท่านนบีบอกว่า "คนนั้นน่ะเป็นชาวนรก"
ก็มีเศาะฮาบะฮฺคนบอกว่า "ฉันน่ะเห็นด้วยเลย"
พอสงครามอีกวัน เขาก็บาดเจ็บสาหัสจนทนไม่ไหว ก็ได้ฆ่าตัวตาย
เศาะฮาบะฮฺที่เห็นก็ไปหานบีและบอกว่า "ฉันขอยืนยันว่าท่านนบีเป็นนบีที่แท้จริง" และได้เล่าเรื่องของชายคนนั้น
ท่านนบีก็ได้ให้บทเรียนว่า "แท้จริงชายคนหนึ่งทำการงานของชาวสวรรค์ตามที่ปรากฏต่อผู้คน แต่ที่จริงเขาเป็นชาวนรก แต่ชายคนหนึ่งจะทำการงานของชาวนรกต่อหน้าผู้คน แต่ที่จริงเขาเป็นชาวสวรรค์"
สำนวนของอิมามบุคอรีมีว่า "แท้จริงการงานขึ้นอยู่กับตอนท้าย"
อิบนุเราะจับ "สิ่งซ่อนเร้นภายในอาจจะไม่เหมือนที่เปิดเผย" ตอนท้ายที่เลวร้ายของบางคนเกิดจากสิ่งซ่อนเร้นที่ชั่วร้ายของแต่ละคน ซึ่งคนทั่วไปมองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือนิสัยที่ชั่วร้ายก็ตาม
- สิ่งชั่วร้ายอยู่ภายใน แล้วไม่พยามยามเตาบัตปรับปรุงตัว มันก็จะใหญ่โตและแสดงออกมาตอนปลายชีวิต
ความคิดของเศาะฮาบะฮฺในเรื่องนี้
قال عبد العزيز بن أبي روَّاد : حضرت رجلاً عند الموت يُلَقَّنُ لا إله إلا الله ، فقال في آخر ما قال : هو كافرٌ بما تقول ، ومات على ذلك ، قال : فسألتُ عنه ، فإذا هو مدمنُ خمرٍ . فكان عبد العزيز يقول : اتقوا الذنوب ، فإنَّها هي التي أوقعته .
อับดุลอะซีซ อิบนุอบีเราะวาฮะฮฺ - ฉันได้ปรากฏตัวแก่ชายคนหนึ่งก่อนเสียชีวิต เขากำลังตัลกีน (กล่าวลาอิลาหะอิลลัลลอฮฺ) ตอนท้ายเขาได้ปฏิเสธสิ่งที่ให้กล่าว จึงถามผู้คนว่าเขาเป็นอะไร ก็ได้คำตอบว่าเขาติดสุรา, อับดุลอะซีซจึงมักเตือนลูกศิษย์ว่า "จงระวังความผิด เพราะมันจะทำให้ตกต่ำ" (คือทำผิดแล้วไม่เตาบัต)
- การกล่าวตัลกีนก่อนเสียชีวิต ให้กล่าวให้เขาได้ยิน กล่าวไปเรื่อยๆ ไม่ควรคะยั้นคะยอ
وفي الجملة : فالخواتيم ميراثُ السوابق ، وكلُّ ذلك سبق في الكتاب السابق ، ومن هنا كان يشتدُّ خوف السَّلف من سُوءِ الخواتيم ، ومنهم من كان يقلق من ذكر السوابق . وقد قيل : إنَّ قلوب الأبرار معلقةٌ بالخواتيم ، يقولون : بماذا يختم لنا ؟ وقلوب المقرَّبين معلقة بالسوابق ، يقولون : ماذا سبق لنا .
โดยสรุป - เคาะวาตีม(ท้ายชีวิต) เป็นมรดก(ผลสรุป)ของต้นชีวิต
คนยุคแรกจะกลัวมากในเรื่องของท้ายชีวิต
หัวใจคนดีจะถูกแขวนอยู่กับตอนท้ายชีวิต (ให้ความสำคัญกับตอนท้ายมากกว่าความดีที่ได้ทำมาแล้ว)
แต่คนโง่จะนึกถึงความดีที่ได้ทำไปแล้ว
บทเรียนดีที่สุดคือให้มองคนชราที่ยังยึนหยัดทำความดีอย่างต่อเนื่อง
ขอดุอาอฺให้ปลายชีวิตของเราเหมือนเขา
คนดีจะถามตัวเขาตลอดว่า "เราจะจบท้ายชีวิตอย่างไร ?"
คนที่ใกล้ชิดอัลลอฮฺมากที่สุดจะไม่มองท้ายชีวิต แต่จะมองว่าเขาถูกบันทึก ณ อัลลอฮฺอย่างไร ? อัลลอฮฺบันทึกฉันเป็นคนดีหรือคนชั่ว ? ชาวสวรรค์หรือชาวนรก ?
وبكى بعضُ الصحابة عند موته ، فسئل عن ذلك ، فقال : سمعت رسول الله - صلى الله عليه وسلم - يقول : (( إنَّ الله تعالى قبضَ خلقَهُ قبضتين ، فقال : هؤلاء في الجنَّةِ ، وهؤلاء في النار )) ، ولا أدري في أيِّ القبضتين كنت .
قال بعض السَّلف : ما أبكى العيون ما أبكاها الكتاب السابق .
ศฮบ บางท่านได้ร้องไห้ก่อนเสียชีวิต เมื่อถูกถามก็ตอบว่า ฉันได้ยินท่านนบีกล่าวว่า "อัลลอฮฺได้แยกบรรดาบ่าวที่อัลลอฮิสร้างไว้เป็น 2 กลุ่ม(2 กำมือ) กำมือนึงเข้าสวรรค์ กำมือนึงเข้านรก ฉันก็ไม่รู้ว่าฉันได้อยู่กลุ่มไหน
สลัฟท่านหนึ่งกล่าวว่า "ไม่มีอะไรทำให้เราน้ำตาไหล เว้นแต่สิ่งที่ถุฏระบุในสมุดว่าเราเป็นชาวสวรรค์หรือชาวนรก"
وقال سفيانُ لبعض الصالحين : هل أبكاك قطُّ علمُ الله فيك ؟ فقال له ذلك الرجل : تركتني لا أفرحُ أبداً . وكان سفيان يشتدُّ قلقُهُ من السوابق والخواتم ، فكان يبكي ويقول : أخاف أنْ أكون في أمِّ الكتاب شقياً ، ويبكي ويقول : أخافُ أنْ أسلبَ الإيمانَ عند الموت .
ท่านซุฟยาน ได้กล่าวกับคนซอลิหฺคนหนึ่งว่า "ในชีวิตของท่าน ท่านเคยร้องไห้ไหม เมื่อนึกถึงอัลลอฮฺบันทึกท่านเป็นคนดีหรือคนเลว" เขาตอบว่า "ท่านจะทำให้ฉันไม่ดีใจเลยตลอดชีวิต"
ท่านซุฟยานเป็นตัวอย่างของคนซอลิหฺที่รำลึกถึงท้ายชีวิตและสิ่งที่อัลลอฮฺบันทึกไว้แล้ว ท่านกล่วาว่า "ฉันกลัวมากว่าจะถูกบันทึกไว้แล้วว่าเป็นคนชั่ว"
وكان مالك بنُ دينار يقومُ طُولَ ليلهِ قابضاً على لحيته ، ويقول : يا ربِّ ، قد علمتَ ساكنَ الجنة من ساكن النار ، ففي أيِّ الدارين منْزلُ مالك ؟
มาลิก อิบนุดีนาร (ตาบิอีน) จะขอดุอาอฺโดยดึงเคราของท่านว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน พระองค์ทรงรู้แล้วผู้พำนักในสวรรค์คือใคร ผู้พำนักในนรกคือใคร มาลิกจะอยู่กับใคร (กลุ่มไหน) ?
قال حاتمٌ الأصمُّ : مَنْ خلا قلبُه من ذكر أربعة أخطار ، فهو مغترٌّ ، فلا يأمن الشقاء : الأوَّل : خطرُ يوم الميثاق حين قال : هؤلاء في الجنة ولا أبالي ، وهؤلاء في النار ولا أبالي ، فلا يعلم في أيِّ الفريقين كان ، والثاني : حين خلق في ظلمات ثلاث ، فنودي الملك بالسعادة والشَّقاوة ، ولا يدري : أمن الأشقياء هو أم منَ السعداء ؟ والثالث : ذكر هول المطلع ، فلا يدري أيبشر برضا الله أو بسخطه ؟ والرابع : يوم يَصدُرُ الناس أشتاتاً ، ولا يدري ، أيّ الطريقين يُسلك به .
ฮาติม (สลัฟ) - คนที่หัวใจของเขาปราศจาก 4 ประการอันตราย (ไม่รำลึกถึง) ถือว่าเป็นคนโง่ หลงตัวเอง ถูกหลอกลวง อย่ารู้สึกปลอดภัยจากหายนะเลย
1- ก่อนที่อัลลอฮฺสร้างอาดัม ได้นำลูกหลานอาดัมมาและแจ้งให้ทราบว่ากลุ่มหนึ่งได้เข้าสวรรค์ กลุ่มหนึ่งได้เข้านรก - เราถูกกำหนดไว้ว่าอยู่ในกลุ่มไหน ?
2- เมื่อถูกสร้างในมดลูก มะลาอิกะฮฺถูกเรียกให้กำหนดว่าคนนี้เป็นคนดีหรือคนชั่ว - เราถูกกำหนดไว้แล้วในมดลูก เราไม่รู้ว่าอยู่กลุ่มไหน ?
3- เมื่อฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺแล้ว จะมีสัญญาณว่าแต่ละคนจะเป็นชาวสวรรค์หรือชาวนรก
4- อัลลอฮฺจะบอกให้คนที่ฟื้นคืนชีพเดินไปสู่การตัดสิน เราไม่รู้ว่ามะลาอิกะฮฺจะนำไปหนทางที่ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย
وقال سهل التُّستريُّ : المريدُ يخافُ أنْ يُبتلى بالمعاصي ، والعارف يخافُ أنْ يُبتلى بالكُفر . ومن هنا كان الصحابة ومَنْ بعدهم منَ السَّلف الصالح يخافون على أنفسهم النفاق ويشتد قلقهم وجزَعُهم منه ، فالمؤمن يخاف على نفسه النفاقَ الأصغرَ ، ويخاف أنْ يغلب ذلك عليه عندَ الخاتمة ، فيخرجه إلى النفاق الأكبر ، كما تقدم أنَّ دسائس السوء الخفية تُوجِبُ سُوءَ الخاتمة ، وقد كان النَّبيُّ - صلى الله عليه وسلم - يُكثرُ أنْ يقول في دعائه : (( يا مقلِّب القلوب ثبتْ قلبي على دينكَ )) فقيل له : يا نبيَّ الله آمنا بك وبما جئتَ به ، فهل تخافُ علينا ؟ فقال : (( نعم ، إنَّ القُلوبَ بينَ أصبعين منْ أصابع الله - عز وجل - يُقلِّبها كيف يشاء )) خرّجه الإمام أحمد والترمذي من حديث أنس .
ซะฮลฺ อัตตุชตะรียฺ (สลัฟ) - คนที่เดินทางไปหาอัลลอฮฺ(มุรีด*) ที่ประสงค์จะเริ่มเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ ด้วยการทำดีละความชั่ว กลัวว่าจะถูกทดสอบด้วยการทำความผิด, แต่คนที่รู้จริงเขาจะกลัวที่จะถูกทดสอบด้วยการถูกยึดอีมานไป (กุฟุร)
(*มุรีด - ตำแหน่งของคนที่เดินทางไปหาอัลลอฮฺ)
มุอัซซิน ที่ชอบหญิงชาวคริสต์และยอมออกจากอิสลาม เพื่อแต่งงานกับนาง
เชคอับดุลลอฮฺ อัลเกาะศีมียฺ อุละมาอฺรุ่นเชคบินบาซ เขียนตำราอะกีดะฮฺที่ดีมาก ภายหลังปฏิเสธอัลลอฮฺ
คนที่หลงตัวเอง ไม่มองสัจธรรม อาจเป็นสาเหตุให้ปลายชีวิตเปลี่ยนแปลง
จากจุดนี้เศาะฮาบะฮฺและบรรดาสะลัฟ จะกลัวว่าจะมีนิฟาก เป็นมุนาฟิก แม้กระทั่งท่านอุมัร
ท่านนบีจึงขอดุอาอฺอยู่เสมอว่า
اللَّهُمَّ يَـا مُـقَـلِّـبَ الْـقُـلُـوْبِ - "โอ้อัลลอฮฺพระผู้ทรงพลิกหัวใจ
ثـَبِّـتْ قَـلْـبِـيْ عَـلَـى دِيْـنِـكَ - ขอพระองค์ทรงโปรดให้หัวใจของข้าพระองค์ ยืนหยัดในศาสนาของพระองค์"
3 ประการที่จะทำให้ชีวิตของเราปลอดภัย
1- ตั้งใจให้ดี ตั้งใจทำดี เป็นคนดี อยากเป็นคนที่อัลลอฮฺพอพระทัย
2- ปรับปรุงสม่ำเสมอ ถ้าพลาดไปก็อย่าสิ้นหวัง กลับมาปรับปรุงตัวเอง ถือศีลอดซุนนะฮฺ ลบล้างความผิด
3- เกาะกลุ่มที่ดี
ขอดุอาอฺให้อัลลอฮิช่วยเหลือเสมอ
มีความหวังที่ดีกับอัลลอฮฺ
คำถาม
- อยู่นรกชั่วคราวหรือตลอดกาล ?
- การกล่าวหาบุคคลเป็นกาฟิร ? หากเขาไม่เป็นคนกล่าวหาก็จะเป็นกาฟิรเอง ?
- เอาเราะฮฺของผู้ชาย
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 142 views
