ในซูเราะฮฺอัลฮัจญฺ อายะฮฺ 27-28 อัลลอฮฺตรัสกับท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม ว่า
القرآن الكريم :وردت الإشارة إلى ضل هذه الأيام العشرة في بعض آيات القرآن الكريم ، ومنها قوله تعالى : وَأَذِّنْ فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالاً وَعَلَى كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِنْ كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ * لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ ( سورة الحج : الآيتان 27 -28 ) . حيث أورد ابن كثير في تفسير هذه الآية قوله : " عن ابن عباس رضي الله عنهما : الأيام المعلومات أيام العشر " ابن كثير ، 1413هـ ، ج 3 ، ص 239 .
อิบนุอับบาสกล่าวว่า “ในวันที่รู้กัน” คือ สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ
อัลลอฮฺได้สาบานด้วยสิบวันแรกแห่งซุลฮิจญะฮฺ ในซูเราะฮฺอัลฟัจรฺ โดยพระองค์ได้ตรัสไว้ว่า
-
ท่านอิมามฏ๊อบรียฺได้กล่าวว่า เป็นความเห็นเอกฉันท์ระหว่างผู้อธิบายความหมายอัลกุรอานว่า “ค่ำคืนทั้งสิบ” คือสิบคืนของซุลฮิจญะฮฺ
-
อิบนุกะษีรได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส อิบนุสุบัยรฺ มุญาฮิด และบรรดาสะลัฟอื่นๆ ว่า “ค่ำคืนทั้งสิบ” คือสิบคืนของซุลฮิจญะฮฺ
จากการบันทึกของอิมามบุคอรียฺและอบูดาวู้ด รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)” เศาะฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “แม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ"
ท่านนบีตอบว่า “แม้กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ) และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย”
(คือ เสียทรัพย์สมบัติและชีวิตของเขาไปในการญิฮาดเพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่การญิฮาดอื่นๆจากนี้ก็ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของ ซุลฮิจญะฮฺ)
ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิอุมัร รายงานจากท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆที่ทรงเกียรติ ณ ที่อัลลอฮฺ และการทำความดีเป็นที่โปรดปราน ณ อัลลอฮฺในวันนั้นๆ ดีกว่าสิบวันแรก(ของซุลฮิจญะฮฺ) ดังนั้นพวกท่านจงขะมักเขม้นในการตักบีร ตะหฺลี้ล และตะหฺมี้ด (หมายถึงกล่าวถึงความเกรียงไกรและสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ด้วยคำว่า อัลลอฮุอักบัร ลาอิลาหะอิ้ลลัลลอฮฺ และ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ)” บันทึกโดยอิมามอะหมัด
หะดีษนี้บ่งบอกถึงความประเสริฐของการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งบรรดาอุละมาอฺได้ระบุไว้ว่า สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺนั้นเป็นสิบวันอันประเสริฐที่สุดในระยะหนึ่งปี และมีอีกสิบคืนอันประเสริฐที่สุดคือสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ปรากฏว่าจะมีสิบคืนและมีสิบวัน ส่วนความประเสริฐของกลางวันคือสิบวันของต้นเดือนซุลฮิจญะฮฺ และสิบคืนที่ประเสริฐคือสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และเราจะสังเกตว่าเมื่อสิ้นสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนเราจะเฉลิมฉลองอีดุ้ลฟิฏริ เป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ การขอบคุณต่ออัลลอฮฺตะอาลาที่พระองค์ประทานความเตาฟีกให้แก่บ่าวของพระองค์เพื่อให้ขยันทำอิบาดะฮฺตลอดเดือนรอมฎอน เฉพาะอย่างยิ่งสิบคืนสุดท้ายอันประเสริฐ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งคืนลัยละตุ้ลก๊อดรฺที่ท่านนบีให้เราค้นหา
สิบคืนสุดท้ายของรอมฎอนประเสริฐกว่า หรือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺประเสริฐกว่า ?
-
ทัศนะ 1 สิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนประเสริฐกว่า เพราะมีลัยละตุ้ลก็อดรฺ
-
ทัศนะ 2 สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺประเสริฐกว่า เพราะท่านนบียืนยันไว้ในหะดีษข้างต้นที่ว่า “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่ง ดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)”
-
ทัศนะที่ 3 ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามอิบนุตัยมียะฮฺคือ สิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนประเสริฐกว่าสิบคืนแรกของซุลฮิจญะฮฺ และ(ช่วงกลางวันของ)สิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺประเสริฐกว่า(ช่วงกลางวัน)ของสิบ วันสุดท้ายในเดือนรอมฎอน - เพราะในหะดีษที่กล่าวถึงความประเสริฐของสิบวันแรกซุลฮิจญะฮฺ ท่านนบีใช้คำว่า "อัยยาม أيام" ซึ่งในสำนวนภาษาอาหรับหมายถึงช่วงกลางวัน ส่วนความประเสริฐของลัยละตุ้ลก็อดรฺก็อยู่ในช่วงกลางคืน เพราะลัยละตุ้ลก็อดรฺไม่มีในตอนกลางวัน
และเมื่อสิ้นสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺเราก็จะมีการฉลองอีดุ้ลอัฎฮา ซึ่งเราจะเฉลิมฉลองเพื่อแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮฺตะอาลาด้วยคำว่า "อัลลอฮุอักบะรุ้ลลอฮุอักบัร ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร วะลิลลาฮิลฮัมดฺ" ที่เราเรียกกันว่า ตักบีร ซึ่งหมายถึงการแสดงความเกรียงไกรต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นเคารพภักดีต่อพระองค์ แสดงการยืนยันว่าไม่มีสิ่งหนึ่งใดในชีวิตของผู้ศรัทธาที่ยิ่งใหญ่กว่าอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และความหมายเหล่านี้เป็นความหมายที่เราต้องระลึกตลอดกาล เพราะเป็นสิ่งที่จะกระตุ้นอีมานของเราไม่ให้หลงกับดุนยา
“ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบรรดาบ่าวของพระองค์จากนรกมากกว่าวันอะรอฟะฮฺ และแท้จริงพระองค์จะทรงอยู่ใกล้ชิดและทรงภูมิใจ(ด้วยการขยันทำความดีของบ่าว ของพระองค์)ต่อมลาอิกะฮฺ โดยพระองค์จะตรัส(ด้วยความภูมิใจ)ว่า คนเหล่านี้ประสงค์อะไรกัน(หมายถึงกล่าวถึงความปรารถนาอันทรงเกียรติของบ่าว ของอัลลอฮฺที่แสวงบุญในวันอะรอฟะฮฺ)” บันทึกโดยอิมามมุสลิม
عن أبي قتادة رضي الله عنه ، أن رسول الله ـ صلى الله عليه وسلم ـ قال: (( صيام يوم عرفة، أحتسب على الله أن يكفر السنة التي قبلة، والسنة التي بعده )) [ رواه مسلم: 3746 ] .
ในหะดีษบันทึกโดยอิมามมุสลิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"การถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หวังว่าอัลลอฮฺจะลบล้างความผิดปีก่อนหน้าและปีหลังจากนั้น"
ท่านสะอี๊ด อิบนุญุบัยรฺ เมื่อถึงสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺท่านจะขยันทำอิบาดะฮฺอย่างมากมาย โดยไม่มีใครสามารถแข่งขันความดีกับเขาได้ (บันทึกโดยอิมามดาริมียฺ)
การทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ
-
การสรรเสริญสดุดีต่ออัลลอฮฺ : บรรดาสะละฟุศศอลิหฺจะขยันในการรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยเสียงเบาและเสียงดัง
-
การละหมาดซุนนะฮฺให้มากๆ
-
การเชือดกุรบาน(อุฎฮิยะฮฺ)
-
การบริจาคทานให้มากมาย
-
การถือศีลอด : ในการบันทึกของท่านอิมามดาวู้ดจากภรรยานบีบางท่าน กล่าวว่า ท่านนบี ﷺ มักจะถือศีลอด 9 วันของซุลฮิจญะฮฺ และวันอาชูรออฺ และสามวันจากทุกเดือน
-
การละหมาดกลางคืน (กิยามุลลัยลฺ)
-
การกลับเนื้อกลับตัวและสำรวมตนให้อยู่ในกรอบหลักการของอัลอิสลามอย่างสม่ำเสมอ
- Log in to post comments
- 944 views