เชคริฎอ อะหมัด สมะดี
ความหมายของ “อัรริบาอฺ”
อัรริบาอฺ الرباء ในภาษาอาหรับหมายถึง การเพิ่มพูน
อัรริบาอฺ ในหลักการศาสนาคือ การเพิ่มค่าตอบแทนที่เป็นเงินตราต่อเงินตรา
หกุ่มของริบาอฺในหลักการอิสลาม
หุกุ่มของริบาอฺในหลักการอิสลามคือ หะรอม หมายถึงต้องห้ามและไม่อนุมัติให้กระทำโดยเด็ดขาด ซึ่งถือเป็นกะบีเราะฮฺ(บาปใหญ่) ผู้กระทำถูกสาปแช่งและมีการลงโทษในอาคิเราะฮฺอย่างเจ็บแสบ
หลักฐานห้ามริบาอฺจากอัลกุรอาน
وَمَا آتَيْتُم مِّن رِّباً لِّيَرْبُوَ فِي أَمْوَالِ النَّاسِ فَلَا يَرْبُو عِندَ اللَّهِ وَمَا آتَيْتُم مِّن زَكَاةٍ تُرِيدُونَ وَجْهَ اللَّهِ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الْمُضْعِفُونَ ﴿٣٩﴾
39. และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูนณที่อัลลอฮฺและสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายไปจากซะกาต โดยพวกเจ้าปรารถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละพวกเขาคือผู้ได้รับการตอบแทนอย่างทวีคูณ (อัรรูม 39)
الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لاَ يَقُومُونَ إِلاَّ كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُواْ إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَن جَاءهُ مَوْعِظَةٌ مِّن رَّبِّهِ فَانتَهَىَ فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللّهِ وَمَن ْ عَادَ فَأُوْلَـئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ ﴿٢٧٥﴾
275. บรรดาผู้กินดอกเบี้ยนั้น พวกเขาจะไม่ทรงตัวนอกจากจะเป็นเช่นเดียวกับผู้ที่ชัยฏอนทำร้ายเขาทรงตัวพวก เขากล่าวว่า ที่จริงการค้าขายนั้นก็เหมือนการเอาดอกเบี้ยนั้นเองและอัลลอฮฺนั้นทรง อนุมัติการขาย และทรงห้ามการเอาดอกเบี้ยดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระเจ้าของเขาได้มา ยังเขา แล้วเขาก็เลิก สิ่งที่ล่วงแล้วมาก็เป็นสิทธิของเขาและเรื่องของเขานั้นย่อมกลับไปสู่อัล ลอฮฺและผู้ที่กลับ(กระทำ) อีก ชนเหล่านี้แหละคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล (อัลบะเกาะเราะฮฺ 275)
يَمْحَقُ اللّهُ الْرِّبَا وَيُرْبِي الصَّدَقَاتِ وَاللّهُ لاَ يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيمٍ ﴿٢٧٦﴾
276. อัลลอฮฺจะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญ(*1*) และจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น(*2*) และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณ(*3*) ผู้กระทำบาปทุกคน
(1) เงินดอกเบี้ยที่ได้มานั้น จะถูกบั่นทอนให้น้อยลง จนหมดสิ้น แม้ว่าจะยังไม่ปรากฏขณะที่ผู้กินดอกเบี้ยยังมีชีวิตอยู่แต่เมื่อได้ตกทอดไปถึงมือลูกหลาน ก็จะถูกผลาญ ด้วยน้ำมือของพวกเขาเหล่านั้น
(2) จะทรงให้ทรัพย์สินของผู้บริจาคทานเพิ่มพูนขึ้น
(3) ผู้ที่ไม่ยอมรับรู้ในความกรุณาของอัลลอฮฺ โดยเข้าใจว่าสิ่งที่เขาได้รับนั้นไม่เกี่ยวกับอัลลอฮฺแต่ประการใด
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَذَرُواْ مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِن كُنتُم مُّؤْمِنِي نَ ﴿٢٧٨﴾
278. บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา
فَإِن لَّمْ تَفْعَلُواْ فَأْذَنُواْ بِحَرْبٍ مِّنَ اللّهِ وَرَسُولِهِ وَإِن تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُؤُوسُ أَمْوَالِكُمْ لاَ تَظْلِمُونَ وَلاَ تُظْلَمُونَ ﴿٢٧٩﴾
279. และถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยว่า ซึ่ง สงครามจากอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้าโดยที่พวกเจ้านะได้ไม่อธรรม และไม่ถูกอธรรม
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْكُلُواْ الرِّبَا أَضْعَافاً مُّضَاعَفَةً وَاتَّقُواْ اللّهَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ﴿١٣٠﴾ آل عمران 130
130. โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ถูกทบทวีและพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ(*1*)
(1) สาเหตุ แห่งลงอายะฮฺนี้มาก็คือ ในสมัยญาฮิลียะฮฺนั้น มีการเป็นหนี้กัน ครั้นเมื่อถึงกำหนดใช้คืน ลูกหนี้ไม่มีเงินใช้เจ้าหนี้จะกล่าวแก่ลูกหนี้ว่า จงเพิ่มจำนวนหนี้ให้แก่ฉันซิ ฉันจะต่อเวลาการใช้หนี้ให้ กล่าวคือ ถ้าเป็นหนี้ 100 บาท ก็ให้เพิ่มเป็น 120 หรือ130 บาท เป็นต้น เจ้าหนี้ก็จะต่อเวลาการใช้หนี้ให้อีก แต่ถ้าถึงกำหนดใช้หนี้อีก ลูกหนี้ยังไม่มีเงินใช้ เจ้าหนี้ก็จะปฏิบัติเช่นนั้นเรื่อยไป บางทีก็อาจทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าทวีคูณ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้เป็นที่ต้องห้ามในอิสลามอนึ่งมีรายงานบบางกระแสว่า ลูกหนี้เองไปขอร้องให้เจ้าหนี้ต่อเวลาการใช้หนี้ให้โดยเขาจะเพิ่มจำนวนนี้ ให้สูงขึ้นกว่าเดืม ทั้งนี้แล้วแต่จะตกลงกันเพื่อชดเชยที่เจ้าหนี้ต้องเสียเวลาในการรับเงิน อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่าอายะฮฺนี้อนุมัติให้กินดอกเบี้ยที่ไม่มีการกระทบทวีหลาย เท่าได้ ทั้งนี้เนื่องจากอายะฮฺนี้เป็นอายะฮฺแรกที่ถูกประทานลงมาห้ามกินดอกเบี้ยแบบ ที่เคยได้ปฏิบัติกันมาในสมัยญาฮิลียะฮฺ แล้วอัลลอฮฺได้ทรงประทานบรรดาอายะฮฺห้ามกินดอกเบี้ยโดยเด็ดขาดลงมาอีก ไม่ว่าดอกเบี้ยนั้นจะมากน้อยเท่าใดก็ตาม ซึ่งอยู่ในกลุ่มของบรรดาอายะฮฺสุดท้ายที่ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับข้อบังคับใน การปฏิบัติ บรรดาอายะฮฺดังกล่าวปรากฏอยู่ในซูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 275-281 นอกจากนี้ท่านนะบีมุอัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังได้กล่าวห้ามไว้หลายครั้งหลายหน ดังในโอวาทหนึ่งที่ท่านได้กล่าวห้ามว่า “ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งผู้กินดอกเบี้ยและผู้ให้ดอกเบี้ย และผู้เขียนคำสัญญาเกี่ยวกับดอกเบี้ย และผู้เป็นพยานด้วย” และท่านได้แจ้งให้ทราบด้วยว่า “ผู้ที่ไม่ยอมงดการกินดอกเบี้ยนั้น พึงรับรู้ด้วยว่า อัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้ทรงประกาศสงครามกับเขา”
หลักฐานห้ามริบาอฺ จากซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لعن الله آكل الربا وموكله وكاتبه وشاهديه هم سواء. رواه مسلم .
ความว่า “อัลลอฮฺทรงสาปแช่งผู้กินริบาอฺ ผู้ให้(ผู้อื่น)กินริบาอฺ ผู้บันทึก และผู้เป็นสักขีพยาน(ในสัญญาที่มีริบาอฺ) ทั้งปวงเหมือนกัน”
ประเภทของริบาอฺ
1. ริบัลฟัฎลิ (ริบาอฺเพิ่ม) คือ การแลกเปลี่ยนประเภทเงินตราหรือสินค้า(บางชนิด) โดยไม่เท่าเทียมกัน
2. ริบัลนะซีอะติ (ริบาอฺเลื่อนเวลา) คือ การแลกเปลี่ยนเงินตราหรือสินค้า(บางชนิด) โดยมอบการตอบแทนในเวลาอื่น
3. ริบัลก็อรดิ (ริบาอฺผลประโยชน์ของหนี้สิน) คือ การเรียกผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนต่อหนี้สิน
ประเภทริบาอฺในด้านความชัดเจน
1. อัรริบัลคอฟียุ (ริบาอฺลับ) คือ ริบาอฺที่ไม่ชัดเจนก็เป็นที่ต้องห้าม เพราะเป็นแนวทางสู่ริบาอฺที่ชัดเจน ริบาอฺลับคือริบาอฺเพิ่ม(ริบัลฟัฎลิ)
2. อัรริบัลญะลีลุ (ริบาอฺที่ชัดเจน) คือ ริบาอฺที่ชัดเจน คือริบาอฺเลื่อนเวลา(ริบัลนะซีอะติ)
ในการจัดระเบียบการค้าขายตามหลักการศาสนากำหนดให้ต้องปราศจากสามประการ คือ
1. ริบาอฺ
2. ความไม่ชัดเจน
3. การหลอกลวง
อันตรายของริบาอฺ
1. ทำลายความสัมพันธ์และความเมตตาในสังคม
2. เพิ่มความโกรธระหว่างผู้คนและก่อให้เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน
3. ทำให้ทรัพย์สินในสังคมตกอยู่กับผู้ที่ไม่มีผลงาน เพียงใช้เงินตราเป็นทุนให้งอกซึ่งกำไรที่ไร้ความเมตตาและคุณธรรม
4. ก่อให้สังคมอยู่ในความเสี่ยงในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับริบาอฺ
อัลอีนะฮฺและอัตตะวัรรุก
จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إذا تبايعتم بالعينة وأخذتم أذناب البقر ورضيتم بالزرع وتركتم الجهاد سلط الله عليكم ذلا لا ينزعه عنكم حتى ترجعوا إلى دينكم . رواه أبو داود
“เมื่อพวกท่านได้ทำการค้าด้วย อีนะฮฺ ติดตามหางวัว (หมายถึงหลงกับทรัพย์สินและดุนยา) พึงพอใจในพืชผล(หมายถึง ถูกพิศวงในทรัพย์สิน) และปล่อยทิ้งซึ่งการทำญิฮาด อัลลอฮฺจะทรงให้ความตกต่ำมายังพวกท่าน โดยไม่มีอะไรที่จะถอดถอน(ความตกต่ำจากพวกท่าน) จนกว่าพวกท่านกลับสู่ศาสนาของพวกท่าน” (บันทึกโดยอบูดาวู้ด)
อัลอีนะฮฺ คือ การที่คนหนึ่งคนใดซึ่งสินค้าชนิดหนึ่งด้วยเงินผ่อน และกลับขายสินค้านั้นๆให้แก่ผู้ขายคนเดิมด้วยเงินสด เพื่อแสวงเงินสดจากการค้านี้ ซึ่งเป็นการจ่ายดอกเบี้ยในทางอ้อม
อัตตะวัรรุก คือ การที่คนหนึ่งคนใดซื้อสินค้าชนิดหนึ่งด้วยเงินผ่อนและนำสินค้านั้นๆไปขายให้ แก่คนอีกคนหนึ่ง(ไม่ใช่ผู้ขายคนเดิม)ด้วยเงินสด ก็เป็นการจ่ายดอกเบี้ยในทางอ้อมเช่นเดียวกัน แต่ค่อนข้างไม่ชัดเจน
- Log in to post comments
- 216 views