เมื่อรอมฎอน เดือนแห่งข้าวแกง

Submitted by muslim1 on Mon, 31/08/2009 - 13:06

รอมฎอน เดือนแห่งข้าวแกง

-------------------------------------------

โดย ชะบาบ ก็อลบุนสลีม

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
السلام عليكم ورحمة الله وبركا ته

 ” ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوْقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِنْ شَاءَ الله

 " ซะฮะบัซ เซ๊าะมาอุ วั๊บตัลละติล อุรูกุ วะษะบะตัล อัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ"

             "ความกระหายได้สูญสิ้นไป เส้นโลหิตได้รับความชุ่มชื่น ซึ่งจะได้รับการตอบแทน (ผลบุญ) อย่างแน่นอน หากพระองค์อัลลอฮฺทรงประสงค์" (บันทึกโดยอบูดาวูด, บัยฮะกีย์ และอัลหากิม),

กระหายกันทุกครั้ง ชุ่มชื่นกันทุกคราว เมื่อถึงเวลาที่ต้องกล่าวดุอาอฺบทนี้กัน บ้างก็ด้วยอิทผลัม บ้างก็ด้วยน้ำเปล่า แต่บ้างก็ด้วยน้ำเป็ปซี่ และบ้างก็ด้วยบุหรี่ม้วนนึง เออ บุหรี่อ่ะนะ ไม่เลิกเดือนนี้ แล้วจะไปเลิกกันเดือนไหนกันหล่ะครับ พี่ๆน้องๆที่ศรัทธาเอ๋ย

             น่าเสียใจไหม หากรอมฎอนคราวนี้ กลับกลายเป็นรอมฎอนแห่งการโอดครวญกับความหิวโหยมากไปกว่าการโหยหาซึ่งอามาลดีๆต่างๆที่ศาสนาระบุไว้ครับ

             ไม่แปลกใจนะ หากเศรษฐกิจที่ถูกฟื้นฟูอย่างรวดเร็วในการค้าขาย โดยเฉพาะในสังคมมุสลิมในเดือนนี้เติบโตไปด้วยรายได้ที่มากไปกว่าเดือนไหนๆ ก็ในเมื่อมโนภาพของพี่น้องเราบางคนในวันนี้ เต็มไปด้วยกับเมนูอาหารมากไปกว่าเมนูแห่งการทำอามาลในช่วงกลางวันและกลางคืน สามีภรรยาบางคนอาจจะพูดว่า.."คุณสามีค่ะ" เย็นนี้จะทำอะไรดีค่ะ เย็นนี้จะกินอะไรดีหล่ะ และวันนี้จะกินกันกี่มื้อดีน๊า สามีอาจจะตอบว่า...ก็หลังมักริบครั้งนึง หลังตะรอเวี้ยะครั้งนึง หรือก่อนจะนอนครั้งนึง แล้วก็ซาโฮรอีกครั้งนึง....ภรรยาก็พูดว่า ...นี่ๆมันปาเข้า 4มื้อกันแล้วนะ มันจะหลายมื้ออะไรขนาดนั้น สามีก็ตอบว่า...เออ แล้วไม่ถูกหรอ เราอดมาตั้ง 3มื้อไม่ใช่หรอ มันก็ต้องชดเชยกันซิและมันก็ต้องรวบยอดอยู่แล้ว..ใช่ไหมที่รัก!!

             มันก็น่าเสียดายหรอกนะ หาก 11เดือนของการอิ่มหนำและ1เดือนของโอกาสที่จะเข้าโรงซ่อมซึ่งอีหม่านนี้ มันมากไปด้วยความคิด อย่างคู่สามีข้างต้นนี้ครับ

             ผู้ศรัทธาครับ ผู้เขียนเองมิได้ตำหนิและไม่ได้บอกว่ามันฮารอมหรือไม่ดีกันหรอกนะครับ หากผู้ศรัทธาเองจะมีบ้างในเรื่องการกิน กิน กิน แล้วก็กิน แต่พึงรู้กันไม่ใช่หรือครับว่า เดือนนี้ไม่ใช่เป็นอย่างเดือนอื่นๆกันนะ เดือนนี้ไม่ใช่เป็นอย่างเดือนๆที่ผ่านมากันไม่ใช่หรอ มันเป็นเดือนที่สวรรค์ถูกเปิด นรกถูกปิด ซัยฎอนถูกล่ามโซ่ แล้วทุกๆการทำอิบาดะห์นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทดแทนเท่าเป็นทวีคูณไม่ใช่หรือครับ...

เรามิได้กันตระหนักดอกหรือ!!!

             เราไม่ได้ทดแทนซึ่งเวลาที่สูญเปล่าตั้ง11เดือนที่ผ่านมา ด้วยกับการพิจารณาถึงอิบาดะห์ หรืออามาลต่างๆของเราในแต่ละวันของกลางวันมากไปกว่าการที่จะมานั่งพิจารณาเรื่องการกินกันดอกหรือ!!! เรามานั่งกันตระหนักถึงเพียงนี้กันเชียวหรือ!!!

             ผู้ศรัทธาครับ ผู้ศรัทธารู้ไหมว่าคนในยุคอดีตนั้น เค้าได้ตระหนักถึงความประเสริฐและโอกาสของการกอบโกยความดีเหล่านี้กันอย่างไรกัน เวลาเค้าอด เค้าอดกันอย่างไร เค้ามานั่งคิดแบบที่เราคิดกันไหม เค้ามานั่งโอดครวญเพราะความหิวโหยอย่างเราไหมครับ และเวลาที่เค้าละศีลอด เค้ามานั่งอิ่มท้องเต็มท้องอย่างเราไหม พี่น้อง บางคนจะกินอาหารเย็นเพียงแค่ 3คำ และบางคนเองจะกินเพียงขนมปังกับเกลือ หรือเพียงน้ำส้มเพียงนั้นในเดือนรอมฎอน** เพื่อเวลาส่วนใหญ่นั้นให้มากไปกับการทำอิบาดะห์ต่างๆในช่วงค่ำคืน มากไปกว่าการตักตวงซึ่งอีหม่าน และอามาลที่ดีทั้งหลายอ่ะนะ..กลางวันก็อ่านกุรอาน กล่าวซิกรุลลอฮ กลางคืนก็ละหมาด นี่หล่ะครับคือความตระหนักและความเสียสละที่บรรพชนยุคก่อนเค้าเคยทำมาแล้ว!!

            !! มาครุ่นคิดกันสักนิดกันเถิดนะ!!

          กี่มากน้อยแล้ว ที่รอมฎอนกำลังเข้ามา แต่พี่น้องเราบางคนต้องกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์ แล้วกี่มากกันแล้วครับที่รอมฎอนมาถึงเค้าเพียงไม่กี่วัน แต่เค้าก็ต้องกลับไปสู่ความเมตตาของพระองค์แล้วเช่นกัน....

แล้ววันนี้หล่ะ ..เราทราบกันไหมครับ ว่าลมหายใจจะมีอีกสักกี่อึดใจ ที่เรานั้นจะมีโอกาสกอบโกยซึ่งความดีต่างๆที่มีอยู่ไว้ครับ ....เราไม่ทราบกันไม่ใช่หรือ!!!! แล้วอย่างนี้ เรายังที่จะปล่อยและละไว้ซึ่งการพิจารณาอามาลของเราอีกกันหรือ!! เรามิได้โชคดีกันดอกหรือ!!

             อย่ารอให้ฉันสอบเสร็จก่อนเลยนะ อย่ารอให้ฉันงานว่างกันก่อนเลยนะ และอย่ารอให้ถึงเย็นนี้ พรุ่งนี้กันเลยนะครับ..พี่น้อง

แบ่งเวลากันสักนิด จัดตารางกันสักหน่อย แล้วกอบโกยให้เต็มที่....นั่นแหละนะคือ ชัยชนะของเราทั้งดุนยาและอาคีเราะห์นะครับ...

والسلام عليكم ورحمة الله وبركاته

** เรื่องชาวสลัฟกับเดือนรอมฎอน หน้า37 

จากหนังสือใต้ร่มเงาอิสลาม ฉบับที่61

ติดตามและติชม
http://shabab00.wordpress.com/

http://mureed.com/article/Shabab%5EArticle.html

[email protected]